วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"ทักษ์ เฉลิมเตียรณ" เขียนถึง "บุญสนอง บุณโยทยาน"


Thak Chaloemtiarana
Ithaca, New York
February 2010

Soon after the assassination of Boonsanong Punyodyana on February 28, 1976, his very good friend Carl Trocki wrote a touching and thorough tribute to Boonsanong in the Bulletin of Concerned Asian Scholars (volume 9, 1977).  That article gave an excellent account of Boonsanong the scholar, the activist, and the idealistic politician.  It also contained a reprint of the January 1975 interview Boonsanong gave to Norman Peagam of the Far Eastern Economic Review.  The interview together with Carl’s article confirmed Boonsanong’s scholarly prowess, but more importantly, it also highlighted his quick wit, fearlessness, humanity, and egalitarian spirit.   The article documented how in spite of his achievements which would have guaranteed his induction into the ranks of the Thai elite, Boonsanong chose the untraveled and the unpopular path by forming a socialist political party and thereby betraying the interests of his own class.  For this indiscretion he was assassinated. 

The brutal murder of Boonsanong was calculated to teach progressive students, teachers, and intellectuals a lesson, that they should not betray the monopoly of power of the bureaucratic elite and their capitalist allies.  Needless to say, even though thirty four years have passed, the social and economic inequities that animated Boonsanong’s political agenda have not changed much.  The rifts and social dislocations have become worst, compounded by intractable political disagreements within the various sectors/classes in Thai society.  A commemoration of Boonsanong’s life today should give us an introspective look at his wisdom and would allow us to pose ‘what if’ questions that may suggest ways to lead Thai society out of its present quagmire.

This short essay is to commemorate Boonsanong’s life, to remember him as a person, a father, a husband, and a friend.  Unlike others who knew him better, I knew Boonsanong for only a handful of years (1968-1976) when we were both young and when everything before us looked bright, welcoming, possible and promising.

Boonsanong was already at Cornell University when I showed up to pursue doctoral studies in 1968.  Already, there were several Thai graduate students who were ahead of me.  These senior graduate students had set the bar for newcomers like me to attain.  Most of us who arrived that year or near that time (for example, Shalardchai Ramitanon, Yupha Klangsuwan, Bantorn Ondam, Charnwit Kasetsiri, Pranee Wongtes) were very much in awe of the achievements of the likes of Boonsanong Punyodyana, M.R. Akin Rabibhadana, Warin Wongharnchao, and Pramote Nakhonthab.  This latter group had set the tone and agenda for the regular discussion meetings held at Warin’s Maplewoods apartment on the outskirts of campus.

The late 1960s and early 1970s were times when young people ‘questioned authority’ and were particularly concerned with ‘social justice,’ ‘egalitarianism’, ‘democracy,’ ‘class struggle,’ and ‘militarism,’ to name a few.  The war in Indochina was at its height and Thailand had become deeply involved in the American war.  The Thai students at Cornell were unhappy with Thailand’s participation, especially the use of Thai bases to launch bombing raids on Vietnam, Laos and Cambodia.  Many of us also participated in the anti-war protests both on campus and elsewhere.  We were concerned about the fate of Thailand if America was to withdraw from the region. Those of us who participated in the weekly ‘seminars’ at Warin’s apartment agreed that the Thanom-Praphat dictatorship were responsible for leading Thailand down the dangerous path of siding with the US, and that Thailand had to rid itself of military dictatorship. We talked about what we can and should do to make things better after we graduated and returned home to work.  We talked politics, university reform, establishing independent research institutes, writing social and political commentaries for journals, and the like.  Boonsanong, whenever he was present, usually prevailed at those meetings.  His booming voice, dominant presence and forceful arguments generally carried the day.  Those congenial meetings, I must admit, were usually made more congenial with copious consumption of Matreus wine. We were sure that our meetings were important and that we were agents of change, and that we felt sophisticated because we drank wine.  Whether we made an impact on Thai society is for others to judge.  What I want to do here is to reminisce about my friend Boonsanong.

Many of the Thai graduate students back then were married and several of us had young children.  Boonsanong and P. Tasnee had a daughter Kook-kai who was about the same age as our son Thwen.  I would meet either Boonsanong or P. Tasnee when we dropped off our children at the Day Care.  As I recall, the owner was a very kind Black woman whom everyone called Mama Cunningham.  The Day Care was at her home downtown.  Boonsanong and I would have a brief chat most mornings at Mama Cunningham’s while Boonsanong patiently tried to convince the crying Kook-kai that she should let go of his legs and go play with the other kids.  Unlike Thwen who could not wait to play with his pals at Mama Cunningham’s, Kook-kai was none too happy to let go of her parents.

I also remember how Boonsanong always liked to bait and to kid around with new arrivals.  I recall clearly one particular incident that happened in late 1970.  Boonsanong had offered me a ride to Syracuse to attend a joint party with Thai students at Syracuse University which is about 60 miles north of Ithaca.  Ajarn Charoen Khanthawong was then president of the Thai students association at Syracuse.  Boonsanong had also offered a ride to a newly arrived graduate student, Anan Ganjanaphan who came to Cornell to study history.  Boonsanong took most of the one hour drive to Syracuse to ‘grill’ poor Anan about the merits of studying history.  He asserted that a lot has already been written about Thai history both by Thai and foreign scholars.  “What more can we learn?” he asked with a twinkle in his eyes.  Never at a loss for words, Anan was not easy to pick on and he responded just as heatedly about the questionable merits of sociology and the other social sciences.  “What good is abstract theory?” Anan shot back.  Of course, this was before he abandoned history for anthropology years later.  I sat back in my seat and enjoyed the verbal jousting.  Boonsanong was having a good time but at Anan’s expense.

My last dealing with Boonsanong when we were at Cornell was when we learned that he had been offered a visiting fellowship at the University of Hawaii.  Back then, it was not routine for a Thai scholar to be offered such a prestigious award.  We were proud of Boonsanong, but deep down I am sure that many of us felt a twinge of envy.  Nonetheless, Boonsanong showed us the way, that we, like him, could be someone known to the international community of scholars. I remember how we all kidded him by calling him by his new title of ‘visiting fellow.’

Because of this appointment, Boonsanong had to leave Ithaca before the lease on his apartment expired.  Fortunately, I was looking for on-campus housing and was able to assume Boonsanong’s lease at Hasbrouck Apartments.  Back then, Hasbrouck Apartments was designated for married graduate students, especially those with children.  Today however, because of anti-discriminatory laws, those apartments are now open to all students.  When Boonsanong and P. Tasnee vacated their apartment, they left behind some kitchen utensils and several melamine plates and one bowl.  Believe it or not, after forty years, I still have those melamine plates and that bowl.  These have followed me throughout my many moves.  Miraculously, they now reside once again in Ithaca, New York.  I still use these plates and bowl regularly—battle scarred but still serviceable.

Boonsanong also loves a good conversation.  He is gregarious, easy to talk to, and easy to make new friends.  And he makes friends with the most unlikely individuals. 

After having spent a year conducting dissertation research in Thailand, I made my way back to Ithaca via Honolulu in 1972.  By then, Boonsanong had already returned to teach to Thammasat University. Honolulu was the first port of entry into the United States during that trip and I had to pass immigrations and customs at the airport.  I was a bit worried about going through customs because among my possessions, I had some Sawankhalok ceramic jars that I bought when I visited Sukhothai.  Although the artifacts were small and insignificant, I was afraid that customs would either confiscate them or levy some heavy duty.  After looking over the various customs stations, I settled for one manned by a Black customs officer hoping that he would be sympathetic to another minority person.  The officer was a bear of a man about six four and three hundred pounds. 

I was wrong about my judgment.  The officer told me to open my suitcase and began looking at everything in it.  This rarely happens to me.  But perhaps there had been some tip off about a drug shipment from Don Muang and customs officers were told to look through all suspicious luggage from Thailand. My long hair and beard may have triggered the search. In any case, this huge Black man scowled at me and asked about the Sawankhalok pots.  I told him what it was and was about to make a confession that I did not know that it was contraband when without smiling the officer told me that antiques are allowed to enter and that there was no duty on them.  He then proceeded to ask me in perfect Thai “Do you know Dr. Boonsanong?”  Imagine my amazement.  I was tongue-tied.  This most intimidating man then laughed out loud saying that I must know Boonsanong because of Cornell.  After I recovered my wits, we had a nice conversation about his service in the military and how he met Boonsanong in Hawaii and how both of them became friends.  Unfortunately, I no longer remember the officer’s name.  I am sure that he would have lots of great stories to tell us.

After I returned to teach at Thammasat, Boonsanong would come by the Faculty of Political Science to eat lunch with us in the faculty lounge.  By then, he had already made up his mind to go into politics. He visited us not to talk about politics, but just to stay in touch.  Most likely, he had come from Pramote Nakhonthab’s office at the faculty.  He and Pramote were classmates at Chula and both had already decided to leave the academy to enter politics. Like many of his friends, I was surprised that Boonsanong would be so committed to the cause of the masses that he would form and lead a socialist party in very conservative Thailand. We all knew that it was dangerous but Boonsanong assured us that he was not afraid and that he carried his own sidearm for protection.  We were worried for him but admired his resolve and commitment. 

His subsequent assassination saddened us all.  It had a sobering effect but it also galvanized our resolve to do what is right.  I was among his many friends, admirers, and students who attended his over-flowing cremation ceremony.  Boonsanong’s death was a life changing lesson for those of us he left behind.  We may not be as brave or as daring as Boonsanong, but in a small way, we have learnt to be true to our convictions.  Many of us tried to affect meaningful social and political change from within the government. I tried that but only briefly.  Frustrated by that experience, I opted for the easy way out and decided to spend the rest of my career within the safe confines of the academy.  I gave up my position at Thammasat and the Prem government to return to Cornell to teach students about convictions and how to seek truth.

The convictions I still hold about social justice and human dignity inspired by Boonsanong are renewed every time I use one of the melamine plates or that one bowl he had left me.  After these many years, I still think of him, his smile and his booming voice.

0 0 0

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ
อิทากะ นิวยอร์ค
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ภายหลังจากการลอบสังหาร บุญสนอง บุณโยทยาน เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ได้ไม่นาน เพื่อนสนิทคนหนึ่งของเขาคือ คาร์ล ทรอกกี (Carl Trocki) ได้เขียนคําไว้อาลัยที่ลึกซึ้งและกินใจไว้ในวารสาร Bulletin of Concerned Asian Scholars (Vol.9, 1977) ที่ครอบคลุมความเป็นนักวิชาการ นักกิจกรรม และนักการเมืองผู้มีอุดมคติ ของ บุญสนอง บุณโยทยาน รวมทั้งได้รวมคำสัมภาษณ์ของ นอร์แมน พีแกม แห่งวารสารฟาร์อิสเทอร์นอิคอนอมิครีวิว ทั้งคำสัมภาษณ์และบทความของ คาร์ล ทรอกกี ได้ยืนยันถึงความยอดเยี่ยมทางวิชาการของบุญสนอง แต่ที่สำคัญคือได้แสดงให้เห็นถึง การมีปฏิภาณอันเฉียบแหลม ไม่หวาดหวั่น มีความเป็นมนุษย์ และมีจิตใจที่เป็นธรรม บทความนั้นแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในแวดวงวิชาการที่สามารถช่วยให้ก้าวเข้าไปเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยได้ หากแต่ บุญสนองได้เลือกทางเดินที่ไม่มีใครเดิน โดยจัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้น ซึ่งนั่นเหมือนกับการทรยศต่อชนชั้นตัวเอง และด้วยความผิดนี้นี่เองที่ทำให้ บุญสนอง ถูกลอบสังหาร

การสังหาร บุญสนอง อย่างเหี้ยมโหดนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหวังจะสั่งสอนทั้งนักศึกษา อาจารย์ และปัญญาชนที่ก้าวหน้าให้รู้ว่าพวกเขาไม่ควรจะกระทำการทรยศต่ออำนาจผูกขาดของชนชั้นนำ ขุนนางและพลพรรคที่เป็นนายทุน แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว ๓๔ ปี แต่สภาพความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจที่มองด้วยแนวทางการเมืองของ บุญสนอง แทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปสักกี่มากน้อย รอยร้าวและความแตกแยกในสังคมยิ่งทวีความเลวร้ายมากขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองที่หาข้อยุติได้ยากในบรรดากลุ่มหรือชนชั้นต่างๆ ในสังคม การหวนรำลึกถึง บุญสนอง ในวันนี้อาจทำให้เราทบทวนและพิจารณาถึงความมีปัญญาของ บุญสนอง ที่จะนำไปสู่การคิดด้วยการตั้งคำถาม ถ้า...อย่างนั้น ถ้า...อย่างนี้ที่จะช่วยเสนอเป็นแนวทางที่จะนำสังคมไทยหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้

ความเรียงอย่างสั้นนี้ต้องการจะหวนรำลึกถึงชีวิตของ บุญสนอง ที่พึงจะจดจําเขาในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง เป็นพ่อ เป็นสามี และเป็นเพื่อน ข้าพเจ้าต่างจากคนอื่นที่สนิทกับบุญสนองเป็นอย่างดีมานาน ตรงที่ข้าพเจ้าได้รู้จักบุญสนองเพียงชั่วเวลาไม่กี่ปี (๒๕๑๑-๒๕๑๙)

ในยามที่เราทั้งสองยังเป็นหนุ่ม และทุกอย่างที่อยู่เบื้องหน้าดูสดใส น่ายินดี มีโอกาส และมีความหวัง
เมื่อข้าพเจ้าไปถึงมหาวิทยาลัยคอร์แนลเพื่อศึกษาต่อปริญญาเอกในปี ๒๕๑๑ นั้น บุญสนอง อยู่ที่นั่นแล้วเช่นเดียวกับนักศึกษาไทยอีกหลายคนที่มาศึกษาต่อก่อนหน้า ผู้ที่อาวุโสกว่าได้จัดงานพบปะสังสันท์ให้กับนักศึกษาใหม่อย่างข้าพเจ้า พวกเราส่วนใหญ่ที่มาถึงในปีนั้นหรือเวลาใกล้เคียง (เช่น ฉลาดชาย รมิตานนท์, ยุพา คลังสุวรรณ, บัณฑร อ่อนดำ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปรานี วงษ์เทศ) ต่างก็ทึ่งในความสำเร็จของรุ่นพี่อย่าง บุญสนอง บุณโยทยาน ม...อคิน รพีพัฒน์ วารินทร์ วงศ์หาญเชาวน์ และปราโมทย์ นาครทรรพ ซึ่งกลุ่มหลังนี้มักจะเป็นผู้สร้างบรรยากาศและคิดหัวข้อการสนทนาในวงเสวนาที่ทำกันเป็นประจำที่หอพักเมเปิลวูดส์ ย่านชานเมืองมหาวิทยาลัยที่วารินทร์พำนักอยู่

เวลานั้นเป็นยุคทศวรรษ ๖๐ และ ๗๐ (1960-1970) ซึ่งคนหนุ่มสาวพากันตั้งคำถามต่อผู้มีอำนาจ และให้ความสนใจกับเรื่อง ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตย การต่อสู้ทางชนชั้น และลัทธิทหาร เป็นต้น สงครามเวียดนามถึงจุดสูงสุดและประเทศไทยก็เข้าไปพัวพันอย่างลึกซึ้งกับสงครามของอเมริกา นักศึกษาไทยในคอร์แนลไม่พอใจกับการเข้าร่วมสงครามของไทย โดยเฉพาะการใช้ฐานทัพในประเทศไทยในการทิ้งระเบิดเวียดนาม ลาวและกัมพูชา หลายคนได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านสงครามทั้งในมหาวิทยาลัยและที่อื่นๆ เรามีความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยถ้าหากอเมริกาต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ พวกเราที่เข้าร่วมการสัมมนาประจำสัปดาห์ที่หอพักของวารินทร์เห็นพ้องต้องกันว่าเผด็จการถนอม-ประภาสต้องรับผิดชอบต่อการนำประเทศไปสู่หนทางอันตรายโดยยืนข้างอเมริกา และประเทศไทยต้องขจัดเผด็จการทหารออกไป เราพูดคุยถึงสิ่งที่พอจะทำได้และควรจะทำเพื่อให้ประเทศดีขึ้นหลังจากเราจบการศึกษาและกลับไปทำงานในประเทศไทยแล้ว เราพูดคุยถึงเรื่องการเมือง การปฏิรูป มหาวิทยาลัย การจัดตั้งสถาบันวิจัยที่เป็นอิสระ การเขียนบทความการเมืองและสังคมลงตีพิมพ์ในวารสาร และอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่บุญสนองอยู่ด้วยเขาจะเป็นจุดเด่นของวงเสวนาด้วยเสียงอันดังและการโต้แย้งอย่างมีน้ำหนัก ทำให้คนอื่นต้องเป็นฝ่ายฟังเป็นส่วนใหญ่ ข้าพเจ้ายอมรับว่าสิ่งที่พูดคุยในวงเสวนานี้ตรงกับใจข้าพเจ้าและยิ่งชื่นชอบมากขึ้นเมื่อผนวกกับการจิบไวน์มาเทรียสอย่างไม่อั้น เราแน่ใจว่าการประชุมของเราเป็นเรื่องสำคัญและเราเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเราไม่ธรรมดาเพราะเราดื่มไวน์ ส่วนพวกเราจะมีคุณูปการต่อสังคมไทยมากน้อยแค่ไหนให้เป็นเรื่องที่ผู้อื่นจะตัดสินเอง ข้าพเจ้าเพียงต้องการจะระลึกถึงเพื่อนของข้าพเจ้า บุญสนอง บุณโยทยาน

นักศึกษาปริญญาโทและเอกไทยในเวลานั้นส่วนใหญ่มีครอบครัวแล้ว และหลายคนมีลูกเล็กด้วย บุญสนองและพี่ทัศนีย์มีลูกสาวชื่อกุ๊กไก่ ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกับ ทวน ลูกของเรา ข้าพเจ้ามักจะพบถ้าไม่บุญสนองก็พี่ทัศนีย์เมื่อเราไปส่งลูกที่สถานรับเลี้ยงเด็ก จำได้ว่าเจ้าของบ้านที่เปิดเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กย่านกลางเมืองเป็นหญิงผิวดำใจดีซึ่งทุกคนเรียกเธอว่า คุณยายคันนิ่งแฮมบุญสนองกับข้าพเจ้ามักจะได้สนทนากันสั้นๆ เกือบทุกเช้าที่บ้านของมาม่าคันนิ่งแฮม ในระหว่างที่บุญสนองพยายามหว่านล้อมกุ๊กไก่ให้เลิกกอดขาพ่อแล้วไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ซึ่งต่างจากทวนซึ่งไม่เคยรีรอที่จะไปเล่นกับเพื่อนๆ ในบ้านคุณยายคันนิ่งแฮม แต่กุ๊กไก่ไม่อาจทำใจที่จะแยกจากพ่อแม่ของเธอ

ข้าพเจ้ายังจำได้อีกว่า บุญสนอง ชอบที่จะแหย่และยั่วเพื่อนผู้มาใหม่เหตุการณ์หนึ่งที่ข้าพเจ้าจำได้ดีเมื่อปลายทศวรรษที่ ๗๐ บุญสนอง ชวนข้าพเจ้านั่งรถไปกับเขาเพื่อร่วมงานสังสันทน์กับนักศึกษาไทยที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือของอิทะกะ ๖๐ ไมล์ อาจารย์เจริญ คันธวงศ์เป็นประธานสมาคมนักเรียนไทยในซีราคิวส์ บุญสนองยังได้ชวนนักศึกษาที่เพิ่งมาใหม่อีกคนคือ อานันท์ กาญจนพันธ์ ซึ่งเพิ่งมาถึงคอร์แนลเพื่อศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ บุญสนอง ใช้เวลาทั่งชั่วโมงตลอดการเดินทางเพื่อ อัดอานันท์ผู้น่าสงสารเรื่องคุณค่าของวิชาประวัติศาสตร์ เขายืนยันว่ามีการเขียนประวัติศาสตร์ไทยไว้มากมายเพียงพอแล้วทั้งโดยนักวิชาการไทยและต่างประเทศ จะมีอะไรเหลือให้ศึกษาอีกเขาถามพร้อมกับขยิบตา อานันท์ผู้ไม่เคยจนแต้มมาก่อนกล่าวตอบโต้อย่างเผ็ดร้อนถึงคุณค่าอันน่าสงสัยของวิชาสังคมวิทยาและสังคมศาสตร์อื่นๆ เขาย้อนถามว่า แล้วทฤษฎีนามธรรมมันดียังไงนั่นเป็นช่วงก่อนที่อานันท์จะเลิกเรียนประวัติศาสตร์ แล้วหันไปศึกษามานุษยวิทยาในอีกหลายปีต่อมา ข้าพเจ้าได้แต่นั่งฟังอย่างมีความสุขกับการโต้เถียงกันนี้ บุญสนองเองก็สนุกสนานกับการโต้เถียงนี้ แต่อานันท์คงไม่ค่อยจะสนุกเท่าไหร่นัก

ข้าพเจ้าได้ติดต่อกับบุญสนองครั้งสุดท้ายที่คอร์แนลเมื่อเราทราบว่าเขาได้รับเลือกให้ไปทำวิจัยรับเชิญที่มหาวิทยาลัยฮาวาย สมัยนั้นมิใช่เรื่องง่ายที่นักศึกษาไทยจะได้รับงานที่มีเกียรติเช่นนั้น พวกเราภูมิใจในตัวบุญสนองมากแต่ลึกๆแล้ว หลายคนคงรู้สึกอิจฉาอยู่บ้าง อย่างไรก็ดีบุญสนองได้ชี้ให้เราเห็นหนทางที่จะสร้างชื่อเสียงในวงวิชาการระหว่างประเทศเช่นเดียวกับเขา ข้าพเจ้าจำได้ว่าพวกเรายังเรียกตำแหน่งใหม่เขาอย่างล้อเล่นว่า นักวิจัยรับเชิญ” (Visiting Fellow) จากการที่ได้งานใหม่นี้ บุญสนองต้องจากอิทากะไปก่อนที่หอพักของเขาจะหมดเวลาเช่า เป็นโชคดีที่ข้าพเจ้าก็กำลังหาที่พักใหม่ภายในมหาวิทยาลัยเช่นกันจึงได้เข้าไปอยู่ต่อแทน สมัยนั้นหอพักฮาสบรูกถูกออกแบบให้สำหรับนักศึกษาปริญญาโทและเอกที่มีครอบครัวแล้ว โดยเฉพาะผู้มีที่มีลูก แต่ทุกวันนี้หอพักเหล่านี้ได้เปิดกว้างสำหรับนักศึกษาทุกคนอันเป็นผลจากกฎหมายห้ามการแบ่งแยก

เมื่อบุญสนองและพี่ทัศนีย์ได้ย้ายออกไป ได้ทิ้งเครื่องครัวและจานเมลามีนหลายชิ้นและชามอีกหนึ่งใบไว้ เชื่อหรือไม่ว่า ผ่านมา ๔๐ ปีแล้วข้าพเจ้าก็ยังมีจานเมลามีนและชามใบนั้นอยู่ ของเหล่านี้ได้ติดตามข้าพเจ้าไปหลายที่ที่ข้าพเจ้าย้ายไป น่าอัศจรรย์ที่จานชามนี้ได้กลับมาอยู่ที่อิทากะ นิวยอร์ค อีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้ายังคงใช้จานชามเหล่านี้อยู่เป็นประจำ แม้มีรอยบิ่นขีดข่วนแต่ก็ยังใช้การได้

บุญสนองโปรดปรานการพูดคุยสนทนาที่ออกรสออกชาด ชอบการสมาคม เป็นคนที่พูดคุยด้วยได้ง่าย และหามิตรใหม่ได้เสมอ และเขามักจะได้เพื่อนแบบที่ดูจะเหลือเชื่อ

หลังจากกลับมาทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ในไทยได้ปีหนึ่งข้าพเจ้าก็เดินทางกลับไปอิทากะโดยผ่านทางฮาวายเมื่อปี ๒๕๑๕ ขณะนั้นบุญสนองได้กลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว โฮโนลูลูเป็นด่านแรกของการเข้าสู่ประเทศอเมริกา การเดินทางเที่ยวนั้นข้าพเจ้าต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรที่สนามบิน ข้าพเจ้าเป็นกังวลที่จะต้องผ่านด่านตรวจ เพราะในบรรดาข้าวของของข้าพเจ้ามีหม้อดินเผาสังคโลกที่ซื้อไว้ตอนไปเที่ยวสุโขทัย ที่แม้ของชิ้นนี้จะเล็กและไม่มีค่าอะไร แต่ข้าพเจ้าก็ยังกลัวว่าจะโดนริบหรือเก็บอากรขาเข้าในอัตราที่สูง หลังจากกวาดตามองช่องทางผ่านด่านต่างๆแล้ว ข้าพเจ้าก็เลือกเอาช่องที่มีเจ้าหน้าที่ผิวดำประจำอยู่ โดยหวังว่าเขาจะให้ความเห็นใจต่อบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยเช่นกัน เจ้าหน้าที่คนนี้ร่างใหญ่ราวกับหมีสูงกว่าหกฟุตสี่นิ้วและหนักประมาณสามร้อยปอนด์

ข้าพเจ้าคิดผิด เจ้าหน้าที่บอกให้เปิดกระเป๋าและตรวจดูของทุกชิ้น เรื่องแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า แต่อาจจะเป็นเพราะได้ข่าวมาว่าจะมีการขนยาเสพติดมาจากดอนเมือง เจ้าหน้าที่จึงได้รับคำสั่งให้เปิดกระเป๋าตรวจทุกใบที่น่าสงสัยที่มาจากประเทศไทย หนวดเคราและผมเผ้ายาวของข้าพเจ้าอาจเป็นสาเหตุให้ถูกตรวจค้น ไม่ว่าจะอย่างไร ชายร่างใหญ่ผิวดำนี้ตะคอกถามถึงหม้อดินเผาสังคโลก ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้อธิบายว่าคืออะไร และกำลังจะรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่านี่เป็นของหนีภาษีหรือไม่ แต่เจ้าหน้าคนนั้นก็กล่าวขึ้นด้วยสีหน้าเรียบเฉยว่า วัตถุโบราณนี้สามารถนำเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี แล้วในทันใดเขาก็ถามข้าพเจ้าด้วยภาษาไทยอันชัดเจนว่า คุณรู้จักบุญสนองหรือเปล่าลองนึกถึงสีหน้าประหลาดใจของข้าพเจ้าในตอนนั้น ข้าพเจ้านิ่งอึ้งไปชั่วขณะ ชายที่ดูน่ากลัวนี้หัวเราะออกมาดังลั่นบอกว่า คุณต้องรู้จักบุญสนองแน่เพราะอยู่คอร์แนล หลังจากรวบรวมสมาธิได้ข้าพเจ้าก็พูดคุยอย่างสนุกสนานกับเขา ถึงชีวิตทหารช่วงสงครามเวียดนาม และเป็นมาอย่างไรจึงได้รู้จักบุญสนองในฮาวายจนกลายเป็นเพื่อนกัน แย่หน่อยที่ข้าพเจ้าได้ลืมชื่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไปเสียแล้ว ไม่เช่นนั้นเขาคงจะมีเรื่องเล่ามากมายมาเล่าให้ฟัง

หลังจากที่ข้าพเจ้ากลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว บุญสนองจะแวะเวียนมาหาที่คณะรัฐศาสตร์อยู่เนืองๆ เพื่อรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันที่โรงอาหารของคณะ ขณะนั้นเขาได้ตัดสินใจที่จะลงสู่เวทีการเมืองแล้ว เขาไม่ได้มาคุยเรื่องการเมือง เพียงแต่จะได้มาเจอกันไม่ห่างหายไปเท่านั้น ส่วนมากเขาจะออกมาจากห้องทำงานที่คณะรัฐศาสตร์ของปราโมทย์ นาครทรรพ ทั้งบุญสนอและปราโมทย์เป็นเพื่อนเรียนมาด้วยกันตั้งแต่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งคู่ตัดสินใจทิ้งงานวิชาการเพื่อเข้าสู่การเมืองข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ประหลาดใจกับความมุ่งมั่นต่อภารกิจเพื่อมวลชนของบุญสนองที่จะจัดตั้ง และนำพาพรรคสังคมนิยมในประเทศที่อนุรักษ์นิยมอย่างยิ่งเช่นประเทศไทยเราทุกคนทราบดีถึงอันตรายแต่บุญสนองยืนยันว่า เขาไม่หวาดหวั่นและมีปืนพกติดตัวไว้ป้องกันตัว พวกเราเป็นห่วงกังวลความปลอดภัยของเขาแต่ก็นับถือความมุ่งมั่นและการอุทิศตัวของเขา

การลอบสังหารเขาในเวลาต่อมานำความเศร้าโศกเสียใจมายังพวกเราทุกคน แม้จะมีผลทำให้พวกเราเศร้าหมองแต่ก็ยิ่งเพิ่มความมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งในขบวนเหยียดยาวของเพื่อนฝูง ผู้นิยมชมชอบ และนิสิตนักศึกษาที่ไปร่วมพิธีศพ ความตายของบุญสนองให้บทเรียนสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง เราอาจจะไม่มีความกล้าหาญหรือกล้าเผชิญอย่างบุญสนอง แต่เราก็สามารถทำสิ่งเล็กๆ ตามความเชื่อที่เรายึดมั่นได้ พวกเราหลายคนพยายามจะทำอะไรที่มีความหมาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองภายในระบบราชการ ข้าพเจ้าก็ทำเช่นนั้นแต่เพียงชั่วเวลาสั้นๆ ประสบการณ์นั้นสร้างความผิดหวังให้กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงเลือกทางออกที่ง่ายๆ โดยตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตการทำงานที่เหลือในสถาบันการศึกษาที่มีบรรยากาศที่ปลอดภัย

ข้าพเจ้าลาออกจากงานที่ธรรมศาสตร์และรัฐบาลเปรม แล้วกลับไปที่คอร์แนลเพื่อสอนนักศึกษาให้รู้จักมีศรัทธาความเชื่อมั่นและการค้นหาความจริงความเชื่อมั่นที่มีต่อความยุติธรรมในสังคมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุญสนองให้แรงบันดาลใจกับข้าพเจ้านี้ ได้ถูกย้ำเตือนปลูกขึ้นใหม่ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าหยิบจานเมลามีนและชามใบนั้นที่บุญสนองทิ้งไว้ให้ หลายปีผ่านไปข้าพเจ้ายังนึกถึงรอยยิ้มและเสียงอันดังกังวานของเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น