วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ประวัติ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน


ครอบครัว

เป็นลูกชายคนโตของ นายสนอง บุณโยทยาน และ นางบัวคลี่ (รัตนสัค) บุณโยทยาน เกิดที่บ้านประตูหวาย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2479

เป็นหลาน ปู่ ร.ต.อ.ขุนเรนทร์เสนีย์ (สวน บุณโยทยาน), ย่า นางอั้น บุณโยทยาน, ตา ขุนรัตน์ราชชน (สมบุญ รัตนสัค), ยาย นางแสงหล้า รัตนสัค, น้า นายแพทย์สมศาสตร์ รัตนสัค (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตอำเภอพานหลายสมัย), น้า อาจารย์สมสรวง (รัตนสัค) คุณวินัย จิวังกูร (ที่รักใคร่สนิทสนมมากตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเป็นเลขาธิการพรรค)

มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อนายกองสิน (ปัจจุบันชื่อ ทรัพย์สิน) บุณโยทยาน

ภรรยาชื่อ นางทัศนีย์ บุณโยทยาน และมีลูกสาวสองคนชื่อ ดุษฎี บุณโยทยาน และ วีรุทัย (บุณโยทยาน) หาญประวีณ

การศึกษา

- ขั้นต้นที่โรงเรียน สามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

- ขั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนปรินส์รอแยล จังหวัดเชียงใหม่

- อุดมศึกษาที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

- ได้รับปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2502

- เรียนปริญญาโทที่ University of Kansas เมื่อ พ.ศ. 2506 ด้วยทุน Fulbright-Hayes Scholarship ได้รับ Master’s degree in Sociology เมื่อ พ.ศ. 2507

- เรียนปริญญาเอกที่ Cornell University เมื่อ พ.ศ. 2510 ด้วยทุน Rocky Feller Scholarship ได้รับ Ph.D in Sociologoly เมื่อ พ.ศ. 2514

การทำงาน

- หลังจากจบปริญญาตรี ด้วยการมีความสามารถในภาษาอังกฤษ และมีความเข้าใจในระบบราชการไทยเป็นอย่างดี จึงได้รับการว่าจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ United State Information Service (USIS, Bangkok)

- หลังจบปริญญาโท เป็นอาจารย์ประจำวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2508-พ.ศ. 2510

- ระหว่างทำปริญญาเอก เป็นสมาชิก American Sociology Association เป็นสมาชิก Association for Asian Studies ที่เข้าร่วมประชุมแทบทุกปีและเสนอผลงานในปี ค.ศ. 1968 และ ค.ศ. 1971

- หลังจบปริญญาเอก เป็น Visiting Professor ที่ Harvard University หนึ่งปี และที่ University of Hawaii อีกหนึ่งปี

- กลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2515

- เป็นอาจารย์ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- เป็นอาจารย์ให้กับนิสิตปริญญาโท ภาควิชาสื่อสารมวลชนและประชาสัมพันธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- เป็นอาจารย์พิเศษให้กับวิชาสังคมวิทยา มหาวิยาลัยมหิดล

- เป็นกรรมการสมาคมสังคมวิทยาแห่งโลก

- เป็นหนึ่งในหนึ่งร้อยผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 6 ตุลาคม 2516 ในขณะที่อยู่ระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก

- เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช)

- เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2516 หรือสภาสนามม้า จากทั้งหมด 2,347 คน เพื่อทำหน้าที่เลือกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 299 คนเพื่อทำหน้าที่พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แทนธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515

- เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย



พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย

สำหรับ "พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย" นั้นเป็นการรวมตัวกันกับกลุ่มคนที่ต้องการผลักดันให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้รับความเป็นธรรม สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและประชาธิปไตย อย่างแท้จริง ได้แก่กลุ่มนักการเมืองแนวสังคมนิยม คือ พ.อ.สมคิด ศรีสังคม และนายไขแสง สุกใส นักวิชาการก้าวหน้าอย่าง ดร.แสง สงวนเรืองและผู้นำนักศึกษา ได้แก่ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จรัล ดิษฐาอภิชัย ประสาร มฤคพิทักษ์ ปรีดี บุญซื่อ ธัญญา ชุนชฎาธาร วิรัติ ศักดิ์จิระพาพงษ์ สมคิด สิงสง วิสา คัญทัพ และผู้นำระดับท้องถิ่น เช่น วิชัย หินแก้ว เฉลิมและเลียมละออ กลางสาธร สุรสีห์ ผาธรรม อุดม ตะนังสูงเนิน ศรีศักดิ์ นพรัตน์ กมล กมลตุงวัฒนา และที่มีบทบาทสำคัญคือ ธีรยุทธ บุญมี ลุงฟัก ณ สงขลา ลุงแช่ม พนมยงค์(มุตตาฟา) และบางส่วนจาก “กลุ่มคน 100 คน ที่ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ” และ “13 กบฏ เรียกร้องรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นจุดสำคัญของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รวมถึงที่ลงสมัคร สส. ในนามของพรรค ได้แก่ ประยงค์ มูลสาร อุดร ทองน้อย ประเสริฐ เลิศยะโส ศิริ ผาสุก สุทัศน์ เงินหมื่น อินสอน บัวเขียว อาคม สุวรรณนพ ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ พิรุณ ฉัตรวานิชกุล พีรพล ตรียะเกษม และสมาชิกกลุ่ม 6 และกลุ่มแท็กซี่ก้าวหน้า โดยในที่สุด มีที่ทำการพรรคแห่งแรก ณ. บ้านเลขที่ 20 ซ.ร่วมมิตร ถนนพระราม 6 กทม.

- 26 มกราคม พ.ศ.2518 สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เขตบางรัก ที่กรุงเทพ กับ ดร.นพพร สุวรรณพาณิช แต่ไม่ได้รับเลือก

- 29 มิถุนายน พ.ศ.2518 สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ เชียงใหม่ แทนนาย ทองดี อิสราชีวิน ที่ถึงแก่กรรม แต่ไม่ได้รับเลือก



ลำดับเหตุการณ์เสียชีวิต

- 28 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2519



01.30 น. ดร.บุญสนอง บุณโยทยานขับรถซีตรองสีขาว กท.อ.7888 มาคนเดียวถึงปากซอยหมู่บ้านมงคลนิเวศน์ เพื่อจะกลับบ้านพักที่ บ้านเลขที่ 28 ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เขตพญาไท กรุงเทพถูกยิงด้วยอาวุธปืน เป็นเหตุให้รถแฉลบลงคูข้างทาง และตัวดร.บุญสนองเสียชีวิตทันที

- 29 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2519



12.00 น. ดร.ทัศนีย์ บุณโยทยาน พร้อมด้วยลูกสาว 2 คนกับมารดาและน้องชายได้ไปขอรับศพจากโรงพยาบาลเพื่อไปตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดตรีทศเทพ

12.25 น. คณะกรรมการกลางและสมาชิกพรรคสังคมนิยมประมาณ 40 คน ได้นำรถบรรทุกศพของวัดตรีทศเทพมาถึงรพ.ตำรวจ แล้วเคลื่อนศพดร.บุญสนองขึ้นรถ จากนั้นเคลื่อนขบวนออกขากโรงพยาบาลโดยมีรถยนต์ของญาติและพรรคสังคมนิยมประมาณ 30 คันติดตามเป็นขบวน ตั้งศพที่ศาลา 4 ญาติสนิทและผู้เคารพนับถือทยอยกันเข้ามารอคอยเวลาทำพิธีรดน้ำศพ โดยมีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศรอทำข่าวเป็นจำนวนมาก

16.30 น. ทำพิธีรดน้ำศพ มีผู้เข้าร่วมพิธีคือสมาชิกในครอบครัวได้แก่ นางบัวคลี่ ดร.ทัศนีย์ ลูกสาว2 คน น้องชาย และญาติคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.อ. สมคิด ศรีสังคม ประธานพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย นักการเมืองจากพรรคต่างๆ เช่นนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ นายวีระมุสิกพงศ์ นายกระแส ชนะวงศ์ และสมาชิกทั่วประเทศของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย และนักศึกษา ประชาชน ประมาณ 3,000 คน และชาวต่างประเทศอีกนับร้อย

- 1 มีนาคม พ.ศ.2519 พิธีไว้อาลัย ดร.บุญสนอง ที่หอประชุมธรรมศาสตร์



16.30 น. ประกอบด้วย ดร.ทัศนีย์ บุณโยทยาน พ. อ. สมคิด ศรีสังคม หัวหน้าพรรคสังคมนิยม ดร.สืบแสง พรหมบุญ โฆษกพรรคพลังใหม่ และอ.สุดาทิพย์ อินทร นายธงชัย วินิจจะกุล กล่าวสดุดี ดร.บุญสนอง ว่าเป็นผู้ที่ต่อสู้และยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมกับชักชวนประชาชน นิสิตนักศึกษาจำนวนกว่า 2000 คนที่เขาร่วมจนแน่นหอประชุมให้ร่วมเดินทางไปยังวัดตรีทศเทพ เพื่อเคารพและไว้อาลัยแด่ดร.บุญสนองอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยเริ่มออกเดินทางเมื่อ

18.00 น. โดยหยุดไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นเวลา 1 นาที แล้วเดินทางต่อ เมื่อถึงวัดตรีทศเทพมีประชาชนร่วมขบวนไปเคารพศพด้วยรวมแล้วกว่า 5000 คน โดยเป็นไปอย่างสงบและมีระเบียบ

- 3 มีนาคม พ.ศ.2519 ปราศรัย ตามรอยเลือดบุญสนอง ที่ท้องสนามหลวง

16.00 น. มีปราศรัยครั้งใหญ่และร่วมอาลัย ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน โดยการนำของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมประมาณ 10,000 คน นำปราศรัยโดย พอ.สมคิด ศรีสังคม และ ดร.ทัศนีย์ บุณโยทยาน จากนั้น นายอเนก จันทรปัญญา ผู้แทนศูนย์นักเรียนครูแห่งประเทศไทย นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคสังคมนิยม นายเกรียงกมล เลาหไพโรจน์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และนายวิรัติ ศักดิ์จิระภาพงษ์ รองเลขาธิการพรรค นายไพศาล ธวัชชัยนันท์ ประธานสหภาพแรงงานไฟฟ้า นายพินิจ จารุสมบัติ แนวร่วมต่อต้าเผด็จการแห่งชาติ และนายธีรยุทธ บุญมีได้ขึ้นมากล่าวถึงการตายของดร.บุญสนอง

19.30 ได้เดินขบวนไปเคารพศพ ที่วัดตรีทศเทพ

- 6 มีนาคม พ.ศ.2519



14.00 น.ณาปนกิจศพที่วัดตรีทศเทพ มีผู้ไปร่วมพิธีประมาณ 3,000 คน ดร.ทัศนีย์ กล่าวไว้อาลัยต่อ ดร.บุญสนองจากนั้นได้เซ็นชื่อลงบนภาพขนาดใหญ่ของดร.บุญสนอง ตามด้วยผู้ที่ไปร่วมพิธี คือ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ นพ.กระแส ชนะวงศ์ และนิสิตนักศึกษาประชาชน ซึ่งภาพเขียนนี้ ทางพรรคสังคมนิยม ได้นำไปตั้งไว้ยังที่ทำการพรรคในเวลาต่อมา

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เยือนที่เกิดเหตุลอบสังหาร 'บุญสนอง บุณโยทยาน' เมื่อปี 2519 (จากเว็บไซต์ประชาไท)

รายงานพิเศษจาก 'ทีมข่าวการเมืองสำนักข่าวประชาไท' เมื่อปี 2562 พาสำรวจที่เกิดเหตุลอบยิง 'บุญสนอง บุณโยทยาน' เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยที่เกิดขึ้นวันนี้เมื่อ 43 ปีที่แล้วในช่วง "ขวาพิฆาตซ้าย" ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยผ่านมา 4 ทศวรรษปัจจุบันจุดลอบยิง 'บุญสนอง' อยู่ที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 44 และจุดขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีวัดเสมียนนารีเป็นหมุดหมายที่เกิดเหตุ

หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1976 ลงข่าวลอบสังหารบุญสนอง บุณโยทยาน

หนังสือพิมพ์ประชาชาติฉบับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2519 ลงข่าวลอบสังหารบุญสนอง บุณโยทยาน

หนังสือพิมพ์ประชาชาติฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2519 ลงข่าวประชาชนชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2519 ก่อนเดินไปร่วมงานศพบุญสนอง บุณโยทยาน ที่วัดตรีทศเทพ

รถยนต์ซีตรองสีขาว ทะเบียน กท.อ.7888 ของบุญสนอง บุณโยทยาน ตกลงไปในคูน้ำข้างถนนวิภาวดีรังสิต เลยปากซอย 44 (ที่มา: Bangkok Post, 29 February 1976 P.1 และ doctorboonsanong.blogspot.com อ้างจากหนังสือพิมพ์ไม่ทราบฉบับ, ไม่ทราบวันที่พิมพ์)

งานฌาปนกิจบุญสนอง ที่วัดตรีทศเทพ เวลา 14.00 น. วันที่ 6 มีนาคม 2519 (ที่มา: เดลินิวส์, 7 มีนาคม 2519 อ้างจาก doctorboonsanong.blogspot.com)

วันนี้เมื่อ 43 ปีที่แล้ว หรือเมื่อเช้าเวลา 01.30 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 บุญสนอง บุณโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยถูกลอบยิงเสียชีวิต โดยเป็นการเสียชีวิตก่อนการเลือกตั้ง 4 เมษายน 2519

ในคืนเกิดเหตุวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2519 บุญสนองไปร่วมงานเลี้ยงส่งมาโกท์ แฮงกี้ เลขานุการโทสถานทูตออสเตรเลีย ต่อมาเวลา 01.30 น. ของเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 บุญสนองซึ่งขับรถซีตรองสีขาว ทะเบียน กท.อ.7888 มาถึงถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ และขับผ่านหน้าโรงแรมอพอลโล ก่อนถึงปากซอยหมู่บ้านมงคลนิเวศน์ ปัจจุบันคือถนนวิภาวดีรังสิต ซอย 44 เพื่อกลับบ้านพักภายในซอย ได้ถูกยิงจากรถบรรทุกสิบล้อที่ขับตามมาตั้งแต่แยกหลักสี่และแล่นประกบกันมาจนเลยสี่แยกบางเขน พอข้ามสะพานเยื้องหน้าโรงแรมอพอลโลก็เกิดเสียงปืน เป็นเหตุให้รถแฉลบลงคูข้างทาง

หนังสือพิมพ์ประชาชาติวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2519 รายงานว่า มือปืนซึ่งนั่งมาในรถบรรทุกสิบล้อแล่นขนาบข้างด้านขวาของรถบุญสนอง แล้วกระหน่ำยิงเข้าท้ายทอยด้านขวาของบุญสนอง โดยตำรวจนำศพบุญสนองไปที่โรงพยาบาลลเปาโล โดย พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษ กับ พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รุดไปชันสูตรศพ ส่วนหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2519 รายงานว่ามีรถของสถานเสริมสวย "ประโยชน์บิวตี้" ซึ่งกำลังกลับจากเที่ยวงานวัดเสมียนนารี มายังที่เกิดเหตุเพื่อช่วยกันนำบุญสนองออกจากรถ และรีบส่งโรงพยาบาลเปาโลเมื่อเวลา 01.40 น. แต่ปรากฏว่าบุญสนองถึงแก่กรรมเสียก่อน

เยือนสถานที่เกิดเหตุในอีก 4 ทศวรรษถัดมา

ปากซอยวิภาวดีรังสิต 44 จุดลอบยิงบุญสนอง บุณโยทยาน ภาพถ่ายเดือนตุลาคม 2559

ริมคูน้ำถนนวิภาวดีรังสิต มองจากฝั่งปั๊มเชลล์ไปทางปากซอยวิภาวดีรังสิต 44 ภาพถ่ายเดือนตุลาคม 2559

ริมถนนวิภาวดีรังสิต ริมคูน้ำด้านปั๊มเชลล์ ด้านหน้าคือถนนวิภาวดีรังสิต ป้ายไฟฟ้าที่ไกลออกไปคือปากซอยวิภาวดีรังสิต 44 ภาพถ่ายเดือนตุลาคม 2559

ภาพจาก Google Stree View บริเวณปากซอยวิภาวดีรังสิต 44 จุดลอบยิงบุญสนอง บุณโยทยาน ปัจจุบันบริเวณคูน้ำก่อนถึงปากซอยกลายเป็นจุดขึ้นลงรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง สถานีวัดเสมียนนารี (ที่มา: Google Stree View/เมษายน 2018)

ภาพจาก Google Stree View แสดงภาพคูน้ำริมถนน ระหว่างปากซอยวิภาวดีรังสิต 44 และก่อนถึงวิภาวดีรังสิต 42 โดยตรงกลางที่เป็นปั๊มเอสโซ่นั้นปัจจุบันคือปั๊มเชลล์ โดยคูน้ำช่วงนี้เป็นจุดที่รถยนต์ของบุญสนอง บุณโยทยานไถลตกลงไป โดยบริเวณนี้ยังอยู่ตรงกลางระหว่างจุดขึ้นลงรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง สถานีวัดเสมียนนารี ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้าทั้ง 2 จุดขึ้นลง (ที่มา: Google Stree View/เมษายน 2018)

แผนที่แสดงจุดเกิดเหตุในหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2519

แผนที่แสดงจุดเกิดเหตุในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 ระบุว่ารถของบุญสนอง บุณโยทยาน ไถลตกคูน้ำไกลออกไปจากจุดที่ถูกยิง

ผู้สื่อข่าวสำรวจจุดเกิดเหตุลอบสังหารบุญสนอง ใช้วิธีเทียบข้อมูลและแผนที่ ซึ่งแสดงในหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยฉบับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2519 และ Bangkok Post ฉบับที่จำหน่ายวันเดียวกัน พบว่าปัจจุบันจุดลอบยิงบุญสนองคือปากซอย 44 ถนนวิภาวดีรังสิต ส่วนด้านตรงข้ามกลายเป็นสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง "สถานีวัดเสมียนนารี" โดยบันไดขึ้นลงรถไฟฟ้า ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้าทั้ง 2 จุดทางขึ้นลง คร่อมอยู่ระหว่างจุดเกิดเหตุลอบยิงบุญสนอง และจุดที่รถยนต์ของบุญสนองตกลงไปในคูน้ำ

ส่วนจุดที่รถยนต์ของบุญสนองตกลงไปในคูน้ำ หากยึดตามแผนที่ของหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย จุดที่รถตกลงไปในคูน้ำจะห่างไปจากปากซอย 44 ถนนวิภาวดีรังสิต เล็กน้อย ขณะที่แผนที่ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ระบุว่ารถของบุญสนองแล่นเลยปากซอยออกไป เลยหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่แล้วตกลงไปในคูน้ำก่อนถึงปากซอยสยามไมโคร

โดยปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซึ่งอยู่เลยปากซอย 44 ถนนวิภาวดีรังสิต กลายเป็นปั้มเชลล์ โดยหน้าปั๊มเชลล์ยังมีคูน้ำซึ่งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต และเมื่อตรวจสอบกับ Google Street View ซึ่งอัพเดทเดือนเมษายน 2018 พบว่าจุดขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 2 จุด บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้า คร่อมอยู่ระหว่างจุดเกิดเหตุลอบยิงบุญสนอง และจุดที่รถยนต์ของบุญสนองตกลงไปในคูน้ำ

บุญสนอง บุณโยทยาน และกระแสขวาพิฆาตซ้ายหลัง 14 ตุลา

สำหรับบุญสนอง บุณโยทยาน เกิดที่บ้านประตูหวาย ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2479 เป็นอดีตนักเรียนทุน Rockefeller ภายหลังจากจบการศึกษาปริญญาเอกด้านสังคมวิทยามาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลในปี 2514 ได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็น 1 ใน 100 รายชื่อผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังจากนั้นร่วมก่อตั้งกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช) เคยเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเมื่อปี 2516 เพื่อเลือกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ต่อมาหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2517 ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย แม้บุญสนองซึ่งลงเลือกตั้งทั่วไป 26 มกราคม 2518 และเลือกตั้งซ่อมในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันอีก 1 ครั้ง แต่ไม่ชนะการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เคยชนะเลือกตั้งได้ ส.ส. 15 ที่นั่งในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2518 และได้ ส.ส. 2 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งทั่วไป 4 เมษายน 2519 อย่างไรก็ตามบุญสนองก็ถูกลอบยิงดังกล่าว

จากบทความ "เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร" โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เผยแพร่ในเว็บไซต์บันทึก 6 ตุลา ระบุว่านับตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จนถึงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีความพยายามแบ่งแยกขบวนการและทำลาย และใช้ความรุนแรงสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของนักศึกษาและประชาชน โดยนอกจากการใช้สถานีวิทยุยานเกราะและสื่อมวลชนฝ่ายอนุรักษ์นิยมออกข่าวโจมตีขบวนการนักศึกษาและประชาชนแล้ว ยังมีการจัดตั้งพลังมวลชนฝ่ายขวา ใช้การลอบสังหารผู้นำฝ่ายนักศึกษาและขบวนการประชาชน ในกรณีนี้รวมทั้งการลอบสังหารแกนนำของสมาพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยรวมทั้งการทำร้าย และการปาระเบิดใส่ที่ชุมนุมและสถานที่ปราศรัยของพรรคการเมือง โดยระหว่างปี 2517 จนถึงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงทางการเมืองรวมทั้งกรณี "ขวาพิฆาตซ้าย" ไม่ต่ำกว่า 101 ราย

เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ประชาไท 28 ก.พ. 2562


วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

งานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน




กำหนดการ

13:00 น.  กล่าวเปิดงาน
สิลปวิทย์ จิวังกูร
ตัวแทนโครงการรวบรวมประวัติและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  ผู้จัดทำเว็บไซต์ www.doctorboonsanong.org 

13:10 น.  ปาฐกถา "เหลียวหลัง แลหน้า ทางออก ระบบพรรคการเมืองไทย"
จาตุรนต์ ฉายแสง
สถาบันศึกษาและพัฒนาประชาธิปไตย 

13:30 น.เสวนาวิชาการ “ว่าด้วยพรรคการเมืองในโลกประชาธิปไตย”

-พลวัตพรรคการเมืองในอเมริกากลาง กรณีศึกษาพรรคการเมืองในเอลซัลวาดอร์
อานนท์ ชวาลาวัณย์
กลุ่มประกายไฟ
-พรรคการเมืองทางเลือกในยุโรป กรณีศึกษาพรรคการเมืองทางเลือกในเยอรมัน
ดร.จิตติพร ฉายแสงมงคล
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
-พรรคฝ่ายซ้ายในอาเซียน กรณีศึกษาพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในมาเลเซีย
พัชณีย์ คำหนัก
นักวิจัยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
-การกลับมาของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส
ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
SIAM INTELLIGENCE UNIT

15:10-15:30 น. coffee break

15:30 น.   รำลึกถึงชีวิตและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน และแนะนำwww.doctorboonsanong.org 
ดร.ประแสง มงคลศิริ 
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

16:00-17:00 น. ร่วมกันรำลึกถึงดร.บุญสนอง บุณโยทาน สนทนาและแลกเปลี่ยนความทรงจำโดยผู้ร่วมอุดมการณ์
จรัล ดิษฐาภิชัย, สุธรรม แสงประทุม




องค์กรร่วมจัดงาน :โครงการรวบรวมประวัติและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  , สำนักข่าวประชาไท, Siam Intelligence Unit, Book Re;public, กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญปี 2540, กลุ่ม Local-Globe, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, โครงการจัดตั้งมูลนิธิอินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง



วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำรำลึกถึง 37 ปี การจากไปของ ดร บุญสนอง บุณโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย


ชัยวัฒน์  สุรวิชัย
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนการเมืองและคุณภาพคน 
28 กุมภาพันธ์  2556

- จาก 28 กุมภาพันธ์ 2519 ถึง 28 กุมภาพันธ์  2556   เป็นเวลายาวนาน 37 ปี แต่สำหรับบุคคลหนึ่ง ชีวิตหนึ่งที่คิดและทำเพื่อส่วนรวมและเสียชีวิตไปเพื่อแผ่นดินเกิด ยังคงได้รับการรำลึกจดจำอยู่ในใจเสมอสำหรับชาวสังคมนิยมโดยเฉพาะพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย  ( 2517-2519 ) ใช่ครับ ! ผมหมายถึง  ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยคนแรก

- ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544  ทางสถาบันพัฒนาการเมือง  ได้จัดทำหนังสือ รำลึก วันครบรอบ 25 ปี ของดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ชื่อ “ ย้อนตำนาน นักวิชาการสังคมนิยม  ประชาชน ต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน “ โดยผมได้ขอให้  “ สมพร  จันทรชัย “ เป็นบรรณาธิการและผมได้เขียนบทความ เกี่ยวกับพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 2 ภาค  คือ ที่มา  และ ภาคในสถานการณืสู้รบ (2519-2524) และเขียนคำรำลึกที่มีความหมาย  ว่า การรำลึกถึงคนดีในสังคมไทยเป็นเรื่องที่ดี และแท้จริงแล้วเป็นประเพณีของชาวไทยมานาน…….ความหมายสั้นๆ ของคนดี คือ  “ คนที่คิดถึงผู้อื่น  ทำเพื่อผู้อื่น มองให้พ้นจากตัวกูของกู “ขอให้ผองเพื่อนชาวไทย ได้ร่วมรำลึกถึง  “ คนดีของแผ่นดิน “ คำรำลึกที่มีความหมาย  คือ  การทำต่อให้สำเร็จ …..ภารกิจเพื่อผู้อื่น อันเป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน ชัยวัฒน์  สุรวิชัย  รองเลขาธิการ(2519)และรองประธานพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย(2520-24)

- ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางความคิดของคนร่วมกระแส 14 ตุลาฯ ในช่วงปัจจุบัน ที่ดุเดือดแหลมคมมากขึ้น สิ่งที่จะต้องระมัดระวังของคนที่มีอุดมการณ์  คือ การนำอดีตและบุคคลในอดีตมาใช้ โดยมี 2 ทาง  คือ

1. ควร ยกย่องชื่มชน เพื่อเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เป็นกำลังใจในการทำงานต่อไปให้บรรลุ  และหรือ
2. ไม่ควร บิดเบือนนำมาใช้สนับสนุนความคิดและการกระทำของตน อย่างไม่เคารพประวัติศาสตร์

- สำหรับอาจารย์บุญสนอง สิ่งที่งดงามและมีคุณค่าความหมายคือ

1. การยืนหยัดต่อสู้ตามอุดมคติของตนอย่างแน่วแน่มั่นคง ไม่ท้อแท้หรือท้อถอย  คงเดินหน้าไม่หยุด
2. การเป็นนักประสานงาน ที่เชื่อมโยงบุคคล กลุ่มองค์กรฯ ให้เข้ามาร่วมกันทำงาน 
3. สามารถเข้าหาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคน ที่มีความคิดเห็นต่างกัน
4. การเป็นผู้ให้ ความรู้ความคิด  ให้ความรัก เข้าใจคน และให้การเคารพความคิดผู้อื่น

- การรำลึกถึงในวันครบรอบ 37 ปี แห่งการเสียสละของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน สิ่งที่ควรทำคือ

1. การนำอุดมการณ์ของอาจารย์มาศึกษา มาใช้หรือปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
2. การนำเอาแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ มาเป็นแนวทางในการคิดและปฏิบัติ
3. การเคารพยกย่องอาจารย์บุญสนอง  ต้องนำสิ่งที่ดีและมีคุณค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
4. คำรำลึกที่มีความหมาย  คือ  การทำต่อให้สำเร็จ …..ภารกิจเพื่อผู้อื่น อันเป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

“Carl A. Trocki” เขียนถึง "บุญสนอง บุณโยทยาน"

Boonsanong Punyodyana: Thai Socialist and Scholar, 1936-1976


Journal article by Carl A. Trocki; Bulletin of Concerned Asian Scholars, Vol. 9, 1977

Dr. Boonsanong Punyodyana fell to an assassin's bullet at about 1:30 a.m. on 28 February, 1976. At the time of his death, he was the Secretary-General of the Socialist Party of Thailand. There is little doubt that his death was politically motivated. Since few, among Thailand's ruling elite regretted his passing, not many expect his murderers to be apprehended. He will be sorely missed however, by his wife and two daughters, by his academic colleagues, and by the Thai people.

Boonsanong was both a brilliant scholar and a tireless fighter for his political ideals. He was one of those rare social scientists who was able to excel on both the abstract and the practical levels. Among the many who mourned him there were thousands of students, academicians, writers and artists, farmers, laborers, civil servants, especially the nation's progressives. More than 10,000 people attended the memorial orations held at Thammasat University a few days after his death. They recognized his death as a symbolic blow to themselves and to democracy in Thailand.

As one of the founding members and leaders of the Socialist Party of Thailand, Boonsanong worked to build this political group into a people's party. He was the party's mentor and wrote most of its platforms and policy statements. He wanted the party to educate and mobilize the people to build democratic socialism in Thailand.This task was not an easy one. As he pointed out in a paper delivered at a symposium in Tokyo which appropriately coincided with the October 14, 1973, uprising, few Thais, including intellectuals, had a clear concept of what socialism was.

Under Thailand's military regimes the study of progressive social thought had consistently been forbidden. As a result he found it necessary to conduct regular study sessions for his own party members, most of whom were students or recent graduates.

The Socialist Party of Thailand was a new kind of party with a new brand of politics. Most political parties in Thailand have been, and remain today, mere groupings of politicians held together only by financial support and a general greed for power and the wealth that comes with it. The outcome of elections is determined by the number of votes which candidates can buy. Since the Socialist Party of Thailand championed the cause of the poor and exploited masses of the Thai people, it found little financial support. Since it had no wealthy backers it won few elections. In addition, by mid-1975 the party found itself first the object of a vicious slander campaign followed by bombings, official harassment, and ultimately assassination.

If anyone understood the repressive and exploitative nature of Thai society, it was Boonsanong. His research as a sociologist had given him a clear conception of the conservative underpinnings of the Thai social system. 

This awareness came partly from his study of Norman Jacobs' theory of "modernization without development," as well as from personal experience in community development work in Thailand. In his writings, Boon attacked the concepts of Thai society which had been put forward by Embree and Phillips and other Western scholars.

As a Thai, he understood only too well the essential hypocrisy which lay behind the smiling Siamese" facade. Thai society is not "loosely structured." Rather, the Thai peasantry is permanently and deliberately atomized in order to ensure continued domination by a very closed and rigidly-structured elite group. Thai peasants have been pictured as lazy, easy-going and obedient to elders and authority.

Boon saw these attitudes as the peasants' simple acknowledgement of their condition. Why work harder when the surplus will only go to the landlord, the money-lender or the tax collector? Why fight when the only reward is a bullet in the head? Boonsanong's fate is proof of the effectiveness of his critique of Thai society. From Scholar to Socialist

The Thai educated elite has had a clearly defined social status and role which David Wilson has characterized as follows.

The educated leadership of the nation is a career group. Their place in society is made. They have opportunities for useful, responsible and satisfying work for which their training is designed to prepare them. Such a group, having a  substantial stake in society as it is presently arranged, would understandably be conservative insofar as fundamental social change is concerned.

Boonsanong died because he deviated from this norm. As a student and then as a scholar, he had reaped the benefits that his society could offer him. An intelligent and ambitious young man from the northern Thai town of Chiengrai, Boonsanong excelled in the highly competitive Thai educational system. In fact, at first he appeared to be closely wedded to the establishment. After graduating from Chulalongkorn University in 1959, he worked for the Thai government, preparing English translations of official manuals. His skill in English and his familiarity with the Thai governmental structure gained him employment with the Unites States Information Service in Bangkok as a writer and researcher. In 1962, he won a Fulbright-Hayes Scholarship to study for the Master’s degree in sociology at the University of Kansas. At that point, one would not have predicted that he would one day lead student demonstrators to rip the bazen eagle from the gate of the U.S. Embassy on Wireless Road, as he did following the Mayaquez incident last year.

After receiving the M.A., Boonsanong returned to Thailand where he joined the staff of Thammasat University as a lecturer in sociology. In 1967 he returned to the U.S. and spent five extremely productive years there. He completed a Ph.D. in sociology at Cornell University, published several articles, spend a year at Harvard and another year as Visiting Professor at the University of Hawaii. By the time of his return to Thailand in 1972, he had established himself as an international recognized scholar in his field. It was a record that few of his colleagues in Thailand could equal, including those who were many years his senior.

Boonsanong had gained more that just academic skills and titles during his years in America. The social and political context could not help but affect him. It was the period of the rise of the student movement against the war in Vietnam on American campuses, and the formation of the Committee of Concerned Asian Scholars within Asian studies centers, including the Southeast Asia Studies Center at Cornell where Boon studied. In April 1970 he attended the second national CCAS convention in San Francisco, contributing a paper entitles “False assumptions: the sources of difficulty in Thai economic development.” On his return to Thailand he was considered very “American” for his failure to maintain the correct social distance from the masses expected by other elites of a man of his status and background. He was open and non-elitist, rarely passing up an opportunity to engage a person in conversation, whether that person was a university dean or a man selling noodle soup from a pushcart in the street.

Back at Thammasat University in June 1972, he immediately became one of the university’s leading activists. This was a time of general intellectual ferment. Boon was in his element, writing papers, attending meeting, carrying out research, organizing and lecturing to hundreds of rapt and enthusiastic young people. The student movement which was to overthrow the military dictatorship was beginning and Thammasat was its epicenter.

Political Activities

Boonsanong’s life was profoundly affected by the events of 14 October 1973, when the students rose up and drove out the dictators, Prapas Charusathian, and Thanom and Narong Kittikajorn. Although he happened to be attending a scholarly conference in Japan on those fateful days, he had been a prime figure in the movement which led up to sip-see tula, the day from which everything is now dated. With about 100 of his colleagues and students from Thammasat and other universities he had signed a petition requesting a constitution and the restoration of democratic government. It was the arrest of thirteen of these petitioners on 12 October that had touched off the student demonstrations.

Boonsanong returned to Bangkok on the first available flight from Japan where he had, appropriately enough, delivered a paper on “Socialism and Social Change in Thailand.” He immediately plunged in the ferment of political activity generated by the popular movement and the prospect of democratic government. As one of the authors of the petition for a constitution, he was in the forefront of the movement to build a progressive democratic structure in Thailand. With the National Student Center of Thailand (NSCT) leader, Thirayut Boonmee, and a number of others, Boonsanong founded the People for Democracy Group (PDG) in early 1974. The PDG was intended as a pressure group to promote democratic reforms, education in democracy for the people and to influence the government and the committees being formed to draft the new constitution. The PDG quickly became the vanguard of the progressive forces in the country.

Boonsanong was also chosen by the King as one of the 2600-odd members of the constituent assembly which was to elect an interim parliamentary body while the constitution and elections were being prepared. At this point he began to acquire some very serious enemies-the military, the senior bureaucrats, the King’s Privy Council, the capitalists, and the police. He found himself marked as a radical and a “dangerous” person.

At this time, Boon bagan to move out of academic life and to become a politician. After the constitution had been  written and elections scheduled, the PDG became the nucleus for a number of other progressive groups which include labor unionists, farmers’ organization, studentsm and the “old” socialists from the Northeast. About 50 meetings were held, mostly at Boon’s house during December 1974. There were negotiations, positions hammered out, a platform and ideology was formulated, with Boon doing the pushing and most of the writing. All of this resulted in the formation of the Socialist Party of Thailand (SPT). Boon became secretary-general of the party, a position which he held until his death.

In the election of January 1975, Thailand’s first under the new constitution, about 10 members of the new Socialist Party won seats. Having chosen to run in a Bangkok Constituency which was a stronghold of the Democratic Party of Seni Pramoj, Boon was not elected. Throughout this period Boonsanong continued to be a major party activist, spending all his time educating, writing, speaking and organizing throughout the country. Because of his international reputation, he was able to project the voice of the people to an audience beyond the borders of Thailand. For example, the Far Eastern Economic Review of January 17, 1975, carried a long interview with Boonsanong entitled “The Socialist’s Viewpoint.” He took up the role of a gadfly and was very blunt and outspoken in criticizing government corruption, the inequities of Thai Society, Thailand’s involvement in the Indochina war and the U.S. military presence in Thailand. This did little to endear him to the entrenched military and bureaucratic officials who had remained in their positions since the Thanom regime. It was soon whispered that he was a “communist.”

By the middle of 1975, the Thai right-wing had begun to make a comeback. They had been thrown into disrepute with the ousting of the “Terrible Trio,” and had been maintaining a relatively low profile while the students, workers and farmers dominated the political scene.

Boon was at the center of the first major confrontation between the left and the newly mobilized right-wing activist groups. The death of an MP in Chiangmai necessitated a by-election, and Boon was determined to capture the seat for socialist. He was the first to declare his candidacy and to begin campaigning. At first, he seemed to have a fairly good chance of winning. Then, a number of right-wing activist groups moved in to stop him and a great deal of money was thrown into a smear campaign. “Patriotic citizens” carrying M-16’s and hand-grenades drove his canvasses out of the villages. His car was stopped at a police checkpoint and a number of illegal M-16’s were discovered. Understandably his defeat in Chiangmai made Boon somewhat disillusioned with electoral politics.

By the time Kukrit’s government fell in January 1976 Boon had decided to resigned from the secretary-generalship of the SPT and resume his academic career. He could see that social reform could not come to Thailand through the current legislative process. However, even this route was blocked. Reactionary forces were ready to smear him when he sought university positions. Therefore, although he was not a candidate for the Aril 4, 1976, elections, he remained as secretary-general and continued to help the party’s candidates to campaign. He planned to resign after the elections.

Unfortunately, he never got a chance. He was returning home from a party in his car, alone. When he slowed to turn into his lane off the main highway, he met two gunman. There were three shots, the fatal one hitting him in the neck. It was obviously a professional “hit.” The gunman quickly disappeared and police investigations have been conspicuously ineffective.

The impact of his two years and nine months in Thailand can still not be fully measured. Boonsanong represented the spirit of Thai democracy. The collapse of the Seni government in September 1976 is only the flesh rotting form the long-dead corpse. Boon’s legacy is the body of his scholar work and the Socialist Party of Thailand. The SPT is now in the process of falling back on the people in preparation for the coming wave of repression. Perhaps one day they will re-emerge from the ashes to rebuild the kind of society that Boon envisaged.Conference papers and unpublished works.

“False Assumptions: The Sources of Difficulty in Thai Economic Development,” Paper presented to the Second National Conference of the Committee of Concerned Asian Scholars, San Francisco, April 4, 1970.“Socialism and Social Change in Thailand,” Paper presented to the Symposium on Sociology and Social Development in Asia, Tokyo, Japan, October 16-22, 1973 “Minority Groups and Minority Class: The Oppressed and Oppressor in Thai Social Structure,” Paper presented to the Conference on the Majority-Minority Situation in Southeast Asia, Manila, Philippines, May 8-10, 1974.

The Chinese in Thailand: A Synopsis of Research Approaches,” Paper  presented to the Research Workshop on Contemporary Chinese Communities in Southeast Asia, De La Salle College, June 24-28, 1974. (With Dr. Chitt Hemachudha, M.D.) “A Summary Statement: Communication and Education in Family Planning in Thailand,” (undated,c. 1974).

Bibiolography of Boonsanong Punyodyana’s writings

Published works

“Social Mobility and Economic Development,” Sociological Bulletin. (Indian Sociological Society, Vol. XVI, No. 1, March 1967), 16 pp.“Social Structure, Social System and Two Levels of Analysis: A Thai View,” in Hans-Dieter Evers, ed., Loosely Structured Social Systems: Thailand in Comparative Perspective. (New Haven: Yale Southeast Asian Studies, Cultural Report Series 17, 1969). Pp. 77-105.Chinese-Thai Differential Assimilation in Bangkok: An Exploratory Study. (Ithaca: Cornell Data Paper No. 79, March 1971). 117 pp.“Later-Life Socialization and Differential Social Assimilation of the Chinese in Urban Thailand,” Social Forces. (Vol. 50, 2, December 1971). Pp. 232-238.(With Peter F.Bell). “Modernization Without Development: Thailand as an Asian Case Study,” in Journal of the Graduate School.(Bangkok: Chulalongkorn University, Jan-June 1972, Vol. 4). Pp.121-133.(With Peter F.Bell). “The sources of social change in Thailand” in Journal of Contemporary Asia. (Vol. 4, 2  1974)  Pp. 209 – 217.(With Amphon Namatra). “Japan’s Role and Power in Southeast Asia: The Case of Thailand,” Paper presented to the International Conference on Japan in a New Pacific Era, Academy House, Seoul, Korea, December 4-7, 1972.“The Changing Status and Future Role of the Chinese in Thailand,” in Trends in Thailand. (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, M. Rajaretnam & Lim So Jean, ed., 1973). Pp.56-69.“The Revolutionary Situation in Thailand,” Southeast Asian Affairs, 1975,  Singapore: 1975). ISEAS. Pp. 187-195.

Dissertations

“A Sociological Explanation of the Origins of Differential Development in Japan and Thailand,” (Unpublished M.A. Thesis, University of Kansas, Lawrence, Kansas, 1964),. 154 pp.“Thai Selective Social Change: A Study with Comparative Reference to Japan,” (Unpublished Ph.D. Thesis, Cornell University, December 1971), 379 pp. The following interview with Boonsanong Punyodyana was conducted by Norman Peagam of the Far Eastern Economic Review and printed in FEER in January 1975.

Interview.

How did you become involved in politics?

Since my undergraduate days, I have thought it the duty of everyone to be concerned about politics. I took an active part in demonstrations against Pibul (Field Marshal Pibulsongkhram) in 1957 and I have written in Thai and English about socialism and the future of Thailand. I have always admired my fellow –countrymen who sacrificed their comfort and freedom for the bettermen of Thai society; I have many friends who have been in prison for political reasons. Since I had the opportunity of a good education and come from a petit bourgeois background, I think it would be selfish and irresponsible of me to think only of the good life and isolate myself from the masses. When I returned from my professorship in the United States in 1972 (Visiting Professor at the University of Hawaii), I immediately became active in speaking and writing and joined student groups. Since October 1973, I have continued to be active, for example, helping the Civil Liberties Union and People for Democracy Group.

The Communist Party of Party was recently reported as saying that only the seizure of power by armed force could establish a “people’s government” in Thailand. What do you think of that?

There is nothing new in that statement. In fact, the Communist Party of Thailand has engaged in armed struggle for about the years and the Thai Government has found it impossible to disengage. We can understand why many people in this country are unwilling to show faith in elections. As you know, even in the present election, every candidate supported by right-wing parties in using huge sums of money and all sorts of non-political tactics to mislead the voters. You can count on your fingers the number of workers and farmers-and they constitute the vast majority of the population-who are to stand for election. We have a few in our party, but they are the exception rather than the rule.

How would you deal with the problem of insurgency?

As long as our Government remains oppressive, as long as the economic and social system of this country continues to grant privileges to the elite, the ruling class, the capitalists and the bourgeoisie, and especially as long as the Government of Thailand maintains close ties with American imperialism, it is only natural that the freedom-loving people of this country will not cease resisting. The communists are a good example of such patriotic, freedom-loving people. The Socialist Party of Thailand seriously intends to bring about fundamental change in Thai society. If we are successful, it would also be natural, as one can reasonably expect, that problems of unrest and insurgency would automatically disappear.

In several countries with a parliamentary system, disillusionment and cynicism have become apparent as elected governments fail to respond to popular demand, prove unrepresentative or as elected leaders become arrogant or corrupt. Are you optimistic about the chances for parliamentary democracy in Thailand?

We cannot be optimistic with the parliamentary system. We are well aware of the failure of the parliamentary system in many countries, including big democratic capitalist countries like the United States and Britain. As a matter of fact, many socialists in Thailand are totally disillusioned with it. This is part of the reason why we cannot field candidates in all constituencies in this election. But at the same time, we must continue our struggle wherever possible, even when the rules of the fight are defined by the capitalists. It has already been said by General Prapan (Secretary-General of the right-wing League of the Free People of Thailand) that if the Socialist Party of Thailand won 70 seats in the new Parliament, there would be a coup d’etat within six months. It might happen. But we are confident that the people of Thailand, especially those elements sufficiently organized such as some of the workers and famers, would be equally ready to fight back.

Would you nationalize any major industries?

The Socialist Party’s policy concerning important industries and business such as banking, mining and oil production and distribution is t nationalize them for the benefit of the people. Our plan calls for fair comprehensation to the existing private owners in the form of bonds or long-term payments by the Government. There are already 108 existing State enterprises and we intend to raise their standards of efficiency. At present they are, at best, an expression of State capitalism and do not represent a socialist model. They serve as an outlet for retired military and civil bureaucrats who take the lion’s share of the profits of these enterprises at the expense of the country’s economy.

What is your party’s stand on land reform?

In the long run, all farmers would be assured of the right to cultivate land and benefit according to their needs from production. They would not have the right to transfer the ownership of land. But the exchange of goods and services would be carried out according to a total national plan so that production and distribution would not be interfered with by middlemen and other non-productive elements. The sale of rice would be handled strictly by the Government for the benefit not necessarily of “the State,” but primarily of the people. In socialist Thailand, all people would benefit from free education and free health care. Planning for production would not be geared to profit-making, but to the betterment of living conditions.

Are you happy about the level of Japanese involvement in the Thai economy?

I must say that, even now, there is a great trade imbalance between Thailand and Japan. Japanese investment, as a rule, is beneficial to Japanese investors as well as big Thai capitalists. In a capitalist economy, investment and business are not planned for anything else except maximum benefit for the capitalists. As such, Japanese enterprises in Thailand as well as Thai-based factories have caused a horrible amount of destruction to the environment. The emphasis on luxury goods, such as cars, is very detrimental to the economy and the quality of life. In a socialist Thailand, international trade would be handled  on a state-to-state basis. Imports must be controlled so that they are beneficial to the people at large.

The Government has said that hill tribes, numbering hundreds of the thousands of people in the north of the country, will not be allowed to vote in the coming elections. What is your view on this?

We have a clear policy with regard to national minorities in Thailand, for example, the Vietnamese refugees who have lived in Thailand for nearly three decades and may have had children and grandchildren born in Thailand, the Muslims of Malay origin in the south, and the Chinese scattered throughout the country. Our policy is to incorporate these national minorities into the mainstream of Thai political life and to permit them to establish their own administrative communities under the sovereignty of Thailand. In short, the orientation is towards full democracy and equality for all people in all spheres of life, political, economic and social.

The North Vietnamese Government has said it expects Thailand to pay compensation for the damage caused by Thai-based American planes and Thai forces in Vietnam during the war. What is your opinion about this?

I think they mean the reactionary government which cooperated with imperialist America. I do not think they mean to impose any hardship.

What is your policy on the presence of U.S. forces in Thailand?

We have established a policy of having them withdrawn immediately. We would establish and maintain friendly relations with all countries, including the U.S., on the basis of equality and mutual respect. 

"ทักษ์ เฉลิมเตียรณ" เขียนถึง "บุญสนอง บุณโยทยาน"


Thak Chaloemtiarana
Ithaca, New York
February 2010

Soon after the assassination of Boonsanong Punyodyana on February 28, 1976, his very good friend Carl Trocki wrote a touching and thorough tribute to Boonsanong in the Bulletin of Concerned Asian Scholars (volume 9, 1977).  That article gave an excellent account of Boonsanong the scholar, the activist, and the idealistic politician.  It also contained a reprint of the January 1975 interview Boonsanong gave to Norman Peagam of the Far Eastern Economic Review.  The interview together with Carl’s article confirmed Boonsanong’s scholarly prowess, but more importantly, it also highlighted his quick wit, fearlessness, humanity, and egalitarian spirit.   The article documented how in spite of his achievements which would have guaranteed his induction into the ranks of the Thai elite, Boonsanong chose the untraveled and the unpopular path by forming a socialist political party and thereby betraying the interests of his own class.  For this indiscretion he was assassinated. 

The brutal murder of Boonsanong was calculated to teach progressive students, teachers, and intellectuals a lesson, that they should not betray the monopoly of power of the bureaucratic elite and their capitalist allies.  Needless to say, even though thirty four years have passed, the social and economic inequities that animated Boonsanong’s political agenda have not changed much.  The rifts and social dislocations have become worst, compounded by intractable political disagreements within the various sectors/classes in Thai society.  A commemoration of Boonsanong’s life today should give us an introspective look at his wisdom and would allow us to pose ‘what if’ questions that may suggest ways to lead Thai society out of its present quagmire.

This short essay is to commemorate Boonsanong’s life, to remember him as a person, a father, a husband, and a friend.  Unlike others who knew him better, I knew Boonsanong for only a handful of years (1968-1976) when we were both young and when everything before us looked bright, welcoming, possible and promising.

Boonsanong was already at Cornell University when I showed up to pursue doctoral studies in 1968.  Already, there were several Thai graduate students who were ahead of me.  These senior graduate students had set the bar for newcomers like me to attain.  Most of us who arrived that year or near that time (for example, Shalardchai Ramitanon, Yupha Klangsuwan, Bantorn Ondam, Charnwit Kasetsiri, Pranee Wongtes) were very much in awe of the achievements of the likes of Boonsanong Punyodyana, M.R. Akin Rabibhadana, Warin Wongharnchao, and Pramote Nakhonthab.  This latter group had set the tone and agenda for the regular discussion meetings held at Warin’s Maplewoods apartment on the outskirts of campus.

The late 1960s and early 1970s were times when young people ‘questioned authority’ and were particularly concerned with ‘social justice,’ ‘egalitarianism’, ‘democracy,’ ‘class struggle,’ and ‘militarism,’ to name a few.  The war in Indochina was at its height and Thailand had become deeply involved in the American war.  The Thai students at Cornell were unhappy with Thailand’s participation, especially the use of Thai bases to launch bombing raids on Vietnam, Laos and Cambodia.  Many of us also participated in the anti-war protests both on campus and elsewhere.  We were concerned about the fate of Thailand if America was to withdraw from the region. Those of us who participated in the weekly ‘seminars’ at Warin’s apartment agreed that the Thanom-Praphat dictatorship were responsible for leading Thailand down the dangerous path of siding with the US, and that Thailand had to rid itself of military dictatorship. We talked about what we can and should do to make things better after we graduated and returned home to work.  We talked politics, university reform, establishing independent research institutes, writing social and political commentaries for journals, and the like.  Boonsanong, whenever he was present, usually prevailed at those meetings.  His booming voice, dominant presence and forceful arguments generally carried the day.  Those congenial meetings, I must admit, were usually made more congenial with copious consumption of Matreus wine. We were sure that our meetings were important and that we were agents of change, and that we felt sophisticated because we drank wine.  Whether we made an impact on Thai society is for others to judge.  What I want to do here is to reminisce about my friend Boonsanong.

Many of the Thai graduate students back then were married and several of us had young children.  Boonsanong and P. Tasnee had a daughter Kook-kai who was about the same age as our son Thwen.  I would meet either Boonsanong or P. Tasnee when we dropped off our children at the Day Care.  As I recall, the owner was a very kind Black woman whom everyone called Mama Cunningham.  The Day Care was at her home downtown.  Boonsanong and I would have a brief chat most mornings at Mama Cunningham’s while Boonsanong patiently tried to convince the crying Kook-kai that she should let go of his legs and go play with the other kids.  Unlike Thwen who could not wait to play with his pals at Mama Cunningham’s, Kook-kai was none too happy to let go of her parents.

I also remember how Boonsanong always liked to bait and to kid around with new arrivals.  I recall clearly one particular incident that happened in late 1970.  Boonsanong had offered me a ride to Syracuse to attend a joint party with Thai students at Syracuse University which is about 60 miles north of Ithaca.  Ajarn Charoen Khanthawong was then president of the Thai students association at Syracuse.  Boonsanong had also offered a ride to a newly arrived graduate student, Anan Ganjanaphan who came to Cornell to study history.  Boonsanong took most of the one hour drive to Syracuse to ‘grill’ poor Anan about the merits of studying history.  He asserted that a lot has already been written about Thai history both by Thai and foreign scholars.  “What more can we learn?” he asked with a twinkle in his eyes.  Never at a loss for words, Anan was not easy to pick on and he responded just as heatedly about the questionable merits of sociology and the other social sciences.  “What good is abstract theory?” Anan shot back.  Of course, this was before he abandoned history for anthropology years later.  I sat back in my seat and enjoyed the verbal jousting.  Boonsanong was having a good time but at Anan’s expense.

My last dealing with Boonsanong when we were at Cornell was when we learned that he had been offered a visiting fellowship at the University of Hawaii.  Back then, it was not routine for a Thai scholar to be offered such a prestigious award.  We were proud of Boonsanong, but deep down I am sure that many of us felt a twinge of envy.  Nonetheless, Boonsanong showed us the way, that we, like him, could be someone known to the international community of scholars. I remember how we all kidded him by calling him by his new title of ‘visiting fellow.’

Because of this appointment, Boonsanong had to leave Ithaca before the lease on his apartment expired.  Fortunately, I was looking for on-campus housing and was able to assume Boonsanong’s lease at Hasbrouck Apartments.  Back then, Hasbrouck Apartments was designated for married graduate students, especially those with children.  Today however, because of anti-discriminatory laws, those apartments are now open to all students.  When Boonsanong and P. Tasnee vacated their apartment, they left behind some kitchen utensils and several melamine plates and one bowl.  Believe it or not, after forty years, I still have those melamine plates and that bowl.  These have followed me throughout my many moves.  Miraculously, they now reside once again in Ithaca, New York.  I still use these plates and bowl regularly—battle scarred but still serviceable.

Boonsanong also loves a good conversation.  He is gregarious, easy to talk to, and easy to make new friends.  And he makes friends with the most unlikely individuals. 

After having spent a year conducting dissertation research in Thailand, I made my way back to Ithaca via Honolulu in 1972.  By then, Boonsanong had already returned to teach to Thammasat University. Honolulu was the first port of entry into the United States during that trip and I had to pass immigrations and customs at the airport.  I was a bit worried about going through customs because among my possessions, I had some Sawankhalok ceramic jars that I bought when I visited Sukhothai.  Although the artifacts were small and insignificant, I was afraid that customs would either confiscate them or levy some heavy duty.  After looking over the various customs stations, I settled for one manned by a Black customs officer hoping that he would be sympathetic to another minority person.  The officer was a bear of a man about six four and three hundred pounds. 

I was wrong about my judgment.  The officer told me to open my suitcase and began looking at everything in it.  This rarely happens to me.  But perhaps there had been some tip off about a drug shipment from Don Muang and customs officers were told to look through all suspicious luggage from Thailand. My long hair and beard may have triggered the search. In any case, this huge Black man scowled at me and asked about the Sawankhalok pots.  I told him what it was and was about to make a confession that I did not know that it was contraband when without smiling the officer told me that antiques are allowed to enter and that there was no duty on them.  He then proceeded to ask me in perfect Thai “Do you know Dr. Boonsanong?”  Imagine my amazement.  I was tongue-tied.  This most intimidating man then laughed out loud saying that I must know Boonsanong because of Cornell.  After I recovered my wits, we had a nice conversation about his service in the military and how he met Boonsanong in Hawaii and how both of them became friends.  Unfortunately, I no longer remember the officer’s name.  I am sure that he would have lots of great stories to tell us.

After I returned to teach at Thammasat, Boonsanong would come by the Faculty of Political Science to eat lunch with us in the faculty lounge.  By then, he had already made up his mind to go into politics. He visited us not to talk about politics, but just to stay in touch.  Most likely, he had come from Pramote Nakhonthab’s office at the faculty.  He and Pramote were classmates at Chula and both had already decided to leave the academy to enter politics. Like many of his friends, I was surprised that Boonsanong would be so committed to the cause of the masses that he would form and lead a socialist party in very conservative Thailand. We all knew that it was dangerous but Boonsanong assured us that he was not afraid and that he carried his own sidearm for protection.  We were worried for him but admired his resolve and commitment. 

His subsequent assassination saddened us all.  It had a sobering effect but it also galvanized our resolve to do what is right.  I was among his many friends, admirers, and students who attended his over-flowing cremation ceremony.  Boonsanong’s death was a life changing lesson for those of us he left behind.  We may not be as brave or as daring as Boonsanong, but in a small way, we have learnt to be true to our convictions.  Many of us tried to affect meaningful social and political change from within the government. I tried that but only briefly.  Frustrated by that experience, I opted for the easy way out and decided to spend the rest of my career within the safe confines of the academy.  I gave up my position at Thammasat and the Prem government to return to Cornell to teach students about convictions and how to seek truth.

The convictions I still hold about social justice and human dignity inspired by Boonsanong are renewed every time I use one of the melamine plates or that one bowl he had left me.  After these many years, I still think of him, his smile and his booming voice.

0 0 0

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ
อิทากะ นิวยอร์ค
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ภายหลังจากการลอบสังหาร บุญสนอง บุณโยทยาน เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ได้ไม่นาน เพื่อนสนิทคนหนึ่งของเขาคือ คาร์ล ทรอกกี (Carl Trocki) ได้เขียนคําไว้อาลัยที่ลึกซึ้งและกินใจไว้ในวารสาร Bulletin of Concerned Asian Scholars (Vol.9, 1977) ที่ครอบคลุมความเป็นนักวิชาการ นักกิจกรรม และนักการเมืองผู้มีอุดมคติ ของ บุญสนอง บุณโยทยาน รวมทั้งได้รวมคำสัมภาษณ์ของ นอร์แมน พีแกม แห่งวารสารฟาร์อิสเทอร์นอิคอนอมิครีวิว ทั้งคำสัมภาษณ์และบทความของ คาร์ล ทรอกกี ได้ยืนยันถึงความยอดเยี่ยมทางวิชาการของบุญสนอง แต่ที่สำคัญคือได้แสดงให้เห็นถึง การมีปฏิภาณอันเฉียบแหลม ไม่หวาดหวั่น มีความเป็นมนุษย์ และมีจิตใจที่เป็นธรรม บทความนั้นแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในแวดวงวิชาการที่สามารถช่วยให้ก้าวเข้าไปเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยได้ หากแต่ บุญสนองได้เลือกทางเดินที่ไม่มีใครเดิน โดยจัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้น ซึ่งนั่นเหมือนกับการทรยศต่อชนชั้นตัวเอง และด้วยความผิดนี้นี่เองที่ทำให้ บุญสนอง ถูกลอบสังหาร

การสังหาร บุญสนอง อย่างเหี้ยมโหดนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหวังจะสั่งสอนทั้งนักศึกษา อาจารย์ และปัญญาชนที่ก้าวหน้าให้รู้ว่าพวกเขาไม่ควรจะกระทำการทรยศต่ออำนาจผูกขาดของชนชั้นนำ ขุนนางและพลพรรคที่เป็นนายทุน แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว ๓๔ ปี แต่สภาพความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจที่มองด้วยแนวทางการเมืองของ บุญสนอง แทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปสักกี่มากน้อย รอยร้าวและความแตกแยกในสังคมยิ่งทวีความเลวร้ายมากขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองที่หาข้อยุติได้ยากในบรรดากลุ่มหรือชนชั้นต่างๆ ในสังคม การหวนรำลึกถึง บุญสนอง ในวันนี้อาจทำให้เราทบทวนและพิจารณาถึงความมีปัญญาของ บุญสนอง ที่จะนำไปสู่การคิดด้วยการตั้งคำถาม ถ้า...อย่างนั้น ถ้า...อย่างนี้ที่จะช่วยเสนอเป็นแนวทางที่จะนำสังคมไทยหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้

ความเรียงอย่างสั้นนี้ต้องการจะหวนรำลึกถึงชีวิตของ บุญสนอง ที่พึงจะจดจําเขาในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง เป็นพ่อ เป็นสามี และเป็นเพื่อน ข้าพเจ้าต่างจากคนอื่นที่สนิทกับบุญสนองเป็นอย่างดีมานาน ตรงที่ข้าพเจ้าได้รู้จักบุญสนองเพียงชั่วเวลาไม่กี่ปี (๒๕๑๑-๒๕๑๙)

ในยามที่เราทั้งสองยังเป็นหนุ่ม และทุกอย่างที่อยู่เบื้องหน้าดูสดใส น่ายินดี มีโอกาส และมีความหวัง
เมื่อข้าพเจ้าไปถึงมหาวิทยาลัยคอร์แนลเพื่อศึกษาต่อปริญญาเอกในปี ๒๕๑๑ นั้น บุญสนอง อยู่ที่นั่นแล้วเช่นเดียวกับนักศึกษาไทยอีกหลายคนที่มาศึกษาต่อก่อนหน้า ผู้ที่อาวุโสกว่าได้จัดงานพบปะสังสันท์ให้กับนักศึกษาใหม่อย่างข้าพเจ้า พวกเราส่วนใหญ่ที่มาถึงในปีนั้นหรือเวลาใกล้เคียง (เช่น ฉลาดชาย รมิตานนท์, ยุพา คลังสุวรรณ, บัณฑร อ่อนดำ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปรานี วงษ์เทศ) ต่างก็ทึ่งในความสำเร็จของรุ่นพี่อย่าง บุญสนอง บุณโยทยาน ม...อคิน รพีพัฒน์ วารินทร์ วงศ์หาญเชาวน์ และปราโมทย์ นาครทรรพ ซึ่งกลุ่มหลังนี้มักจะเป็นผู้สร้างบรรยากาศและคิดหัวข้อการสนทนาในวงเสวนาที่ทำกันเป็นประจำที่หอพักเมเปิลวูดส์ ย่านชานเมืองมหาวิทยาลัยที่วารินทร์พำนักอยู่

เวลานั้นเป็นยุคทศวรรษ ๖๐ และ ๗๐ (1960-1970) ซึ่งคนหนุ่มสาวพากันตั้งคำถามต่อผู้มีอำนาจ และให้ความสนใจกับเรื่อง ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตย การต่อสู้ทางชนชั้น และลัทธิทหาร เป็นต้น สงครามเวียดนามถึงจุดสูงสุดและประเทศไทยก็เข้าไปพัวพันอย่างลึกซึ้งกับสงครามของอเมริกา นักศึกษาไทยในคอร์แนลไม่พอใจกับการเข้าร่วมสงครามของไทย โดยเฉพาะการใช้ฐานทัพในประเทศไทยในการทิ้งระเบิดเวียดนาม ลาวและกัมพูชา หลายคนได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านสงครามทั้งในมหาวิทยาลัยและที่อื่นๆ เรามีความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยถ้าหากอเมริกาต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ พวกเราที่เข้าร่วมการสัมมนาประจำสัปดาห์ที่หอพักของวารินทร์เห็นพ้องต้องกันว่าเผด็จการถนอม-ประภาสต้องรับผิดชอบต่อการนำประเทศไปสู่หนทางอันตรายโดยยืนข้างอเมริกา และประเทศไทยต้องขจัดเผด็จการทหารออกไป เราพูดคุยถึงสิ่งที่พอจะทำได้และควรจะทำเพื่อให้ประเทศดีขึ้นหลังจากเราจบการศึกษาและกลับไปทำงานในประเทศไทยแล้ว เราพูดคุยถึงเรื่องการเมือง การปฏิรูป มหาวิทยาลัย การจัดตั้งสถาบันวิจัยที่เป็นอิสระ การเขียนบทความการเมืองและสังคมลงตีพิมพ์ในวารสาร และอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่บุญสนองอยู่ด้วยเขาจะเป็นจุดเด่นของวงเสวนาด้วยเสียงอันดังและการโต้แย้งอย่างมีน้ำหนัก ทำให้คนอื่นต้องเป็นฝ่ายฟังเป็นส่วนใหญ่ ข้าพเจ้ายอมรับว่าสิ่งที่พูดคุยในวงเสวนานี้ตรงกับใจข้าพเจ้าและยิ่งชื่นชอบมากขึ้นเมื่อผนวกกับการจิบไวน์มาเทรียสอย่างไม่อั้น เราแน่ใจว่าการประชุมของเราเป็นเรื่องสำคัญและเราเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเราไม่ธรรมดาเพราะเราดื่มไวน์ ส่วนพวกเราจะมีคุณูปการต่อสังคมไทยมากน้อยแค่ไหนให้เป็นเรื่องที่ผู้อื่นจะตัดสินเอง ข้าพเจ้าเพียงต้องการจะระลึกถึงเพื่อนของข้าพเจ้า บุญสนอง บุณโยทยาน

นักศึกษาปริญญาโทและเอกไทยในเวลานั้นส่วนใหญ่มีครอบครัวแล้ว และหลายคนมีลูกเล็กด้วย บุญสนองและพี่ทัศนีย์มีลูกสาวชื่อกุ๊กไก่ ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกับ ทวน ลูกของเรา ข้าพเจ้ามักจะพบถ้าไม่บุญสนองก็พี่ทัศนีย์เมื่อเราไปส่งลูกที่สถานรับเลี้ยงเด็ก จำได้ว่าเจ้าของบ้านที่เปิดเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กย่านกลางเมืองเป็นหญิงผิวดำใจดีซึ่งทุกคนเรียกเธอว่า คุณยายคันนิ่งแฮมบุญสนองกับข้าพเจ้ามักจะได้สนทนากันสั้นๆ เกือบทุกเช้าที่บ้านของมาม่าคันนิ่งแฮม ในระหว่างที่บุญสนองพยายามหว่านล้อมกุ๊กไก่ให้เลิกกอดขาพ่อแล้วไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ซึ่งต่างจากทวนซึ่งไม่เคยรีรอที่จะไปเล่นกับเพื่อนๆ ในบ้านคุณยายคันนิ่งแฮม แต่กุ๊กไก่ไม่อาจทำใจที่จะแยกจากพ่อแม่ของเธอ

ข้าพเจ้ายังจำได้อีกว่า บุญสนอง ชอบที่จะแหย่และยั่วเพื่อนผู้มาใหม่เหตุการณ์หนึ่งที่ข้าพเจ้าจำได้ดีเมื่อปลายทศวรรษที่ ๗๐ บุญสนอง ชวนข้าพเจ้านั่งรถไปกับเขาเพื่อร่วมงานสังสันทน์กับนักศึกษาไทยที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือของอิทะกะ ๖๐ ไมล์ อาจารย์เจริญ คันธวงศ์เป็นประธานสมาคมนักเรียนไทยในซีราคิวส์ บุญสนองยังได้ชวนนักศึกษาที่เพิ่งมาใหม่อีกคนคือ อานันท์ กาญจนพันธ์ ซึ่งเพิ่งมาถึงคอร์แนลเพื่อศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ บุญสนอง ใช้เวลาทั่งชั่วโมงตลอดการเดินทางเพื่อ อัดอานันท์ผู้น่าสงสารเรื่องคุณค่าของวิชาประวัติศาสตร์ เขายืนยันว่ามีการเขียนประวัติศาสตร์ไทยไว้มากมายเพียงพอแล้วทั้งโดยนักวิชาการไทยและต่างประเทศ จะมีอะไรเหลือให้ศึกษาอีกเขาถามพร้อมกับขยิบตา อานันท์ผู้ไม่เคยจนแต้มมาก่อนกล่าวตอบโต้อย่างเผ็ดร้อนถึงคุณค่าอันน่าสงสัยของวิชาสังคมวิทยาและสังคมศาสตร์อื่นๆ เขาย้อนถามว่า แล้วทฤษฎีนามธรรมมันดียังไงนั่นเป็นช่วงก่อนที่อานันท์จะเลิกเรียนประวัติศาสตร์ แล้วหันไปศึกษามานุษยวิทยาในอีกหลายปีต่อมา ข้าพเจ้าได้แต่นั่งฟังอย่างมีความสุขกับการโต้เถียงกันนี้ บุญสนองเองก็สนุกสนานกับการโต้เถียงนี้ แต่อานันท์คงไม่ค่อยจะสนุกเท่าไหร่นัก

ข้าพเจ้าได้ติดต่อกับบุญสนองครั้งสุดท้ายที่คอร์แนลเมื่อเราทราบว่าเขาได้รับเลือกให้ไปทำวิจัยรับเชิญที่มหาวิทยาลัยฮาวาย สมัยนั้นมิใช่เรื่องง่ายที่นักศึกษาไทยจะได้รับงานที่มีเกียรติเช่นนั้น พวกเราภูมิใจในตัวบุญสนองมากแต่ลึกๆแล้ว หลายคนคงรู้สึกอิจฉาอยู่บ้าง อย่างไรก็ดีบุญสนองได้ชี้ให้เราเห็นหนทางที่จะสร้างชื่อเสียงในวงวิชาการระหว่างประเทศเช่นเดียวกับเขา ข้าพเจ้าจำได้ว่าพวกเรายังเรียกตำแหน่งใหม่เขาอย่างล้อเล่นว่า นักวิจัยรับเชิญ” (Visiting Fellow) จากการที่ได้งานใหม่นี้ บุญสนองต้องจากอิทากะไปก่อนที่หอพักของเขาจะหมดเวลาเช่า เป็นโชคดีที่ข้าพเจ้าก็กำลังหาที่พักใหม่ภายในมหาวิทยาลัยเช่นกันจึงได้เข้าไปอยู่ต่อแทน สมัยนั้นหอพักฮาสบรูกถูกออกแบบให้สำหรับนักศึกษาปริญญาโทและเอกที่มีครอบครัวแล้ว โดยเฉพาะผู้มีที่มีลูก แต่ทุกวันนี้หอพักเหล่านี้ได้เปิดกว้างสำหรับนักศึกษาทุกคนอันเป็นผลจากกฎหมายห้ามการแบ่งแยก

เมื่อบุญสนองและพี่ทัศนีย์ได้ย้ายออกไป ได้ทิ้งเครื่องครัวและจานเมลามีนหลายชิ้นและชามอีกหนึ่งใบไว้ เชื่อหรือไม่ว่า ผ่านมา ๔๐ ปีแล้วข้าพเจ้าก็ยังมีจานเมลามีนและชามใบนั้นอยู่ ของเหล่านี้ได้ติดตามข้าพเจ้าไปหลายที่ที่ข้าพเจ้าย้ายไป น่าอัศจรรย์ที่จานชามนี้ได้กลับมาอยู่ที่อิทากะ นิวยอร์ค อีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้ายังคงใช้จานชามเหล่านี้อยู่เป็นประจำ แม้มีรอยบิ่นขีดข่วนแต่ก็ยังใช้การได้

บุญสนองโปรดปรานการพูดคุยสนทนาที่ออกรสออกชาด ชอบการสมาคม เป็นคนที่พูดคุยด้วยได้ง่าย และหามิตรใหม่ได้เสมอ และเขามักจะได้เพื่อนแบบที่ดูจะเหลือเชื่อ

หลังจากกลับมาทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ในไทยได้ปีหนึ่งข้าพเจ้าก็เดินทางกลับไปอิทากะโดยผ่านทางฮาวายเมื่อปี ๒๕๑๕ ขณะนั้นบุญสนองได้กลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว โฮโนลูลูเป็นด่านแรกของการเข้าสู่ประเทศอเมริกา การเดินทางเที่ยวนั้นข้าพเจ้าต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรที่สนามบิน ข้าพเจ้าเป็นกังวลที่จะต้องผ่านด่านตรวจ เพราะในบรรดาข้าวของของข้าพเจ้ามีหม้อดินเผาสังคโลกที่ซื้อไว้ตอนไปเที่ยวสุโขทัย ที่แม้ของชิ้นนี้จะเล็กและไม่มีค่าอะไร แต่ข้าพเจ้าก็ยังกลัวว่าจะโดนริบหรือเก็บอากรขาเข้าในอัตราที่สูง หลังจากกวาดตามองช่องทางผ่านด่านต่างๆแล้ว ข้าพเจ้าก็เลือกเอาช่องที่มีเจ้าหน้าที่ผิวดำประจำอยู่ โดยหวังว่าเขาจะให้ความเห็นใจต่อบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยเช่นกัน เจ้าหน้าที่คนนี้ร่างใหญ่ราวกับหมีสูงกว่าหกฟุตสี่นิ้วและหนักประมาณสามร้อยปอนด์

ข้าพเจ้าคิดผิด เจ้าหน้าที่บอกให้เปิดกระเป๋าและตรวจดูของทุกชิ้น เรื่องแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า แต่อาจจะเป็นเพราะได้ข่าวมาว่าจะมีการขนยาเสพติดมาจากดอนเมือง เจ้าหน้าที่จึงได้รับคำสั่งให้เปิดกระเป๋าตรวจทุกใบที่น่าสงสัยที่มาจากประเทศไทย หนวดเคราและผมเผ้ายาวของข้าพเจ้าอาจเป็นสาเหตุให้ถูกตรวจค้น ไม่ว่าจะอย่างไร ชายร่างใหญ่ผิวดำนี้ตะคอกถามถึงหม้อดินเผาสังคโลก ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้อธิบายว่าคืออะไร และกำลังจะรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่านี่เป็นของหนีภาษีหรือไม่ แต่เจ้าหน้าคนนั้นก็กล่าวขึ้นด้วยสีหน้าเรียบเฉยว่า วัตถุโบราณนี้สามารถนำเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี แล้วในทันใดเขาก็ถามข้าพเจ้าด้วยภาษาไทยอันชัดเจนว่า คุณรู้จักบุญสนองหรือเปล่าลองนึกถึงสีหน้าประหลาดใจของข้าพเจ้าในตอนนั้น ข้าพเจ้านิ่งอึ้งไปชั่วขณะ ชายที่ดูน่ากลัวนี้หัวเราะออกมาดังลั่นบอกว่า คุณต้องรู้จักบุญสนองแน่เพราะอยู่คอร์แนล หลังจากรวบรวมสมาธิได้ข้าพเจ้าก็พูดคุยอย่างสนุกสนานกับเขา ถึงชีวิตทหารช่วงสงครามเวียดนาม และเป็นมาอย่างไรจึงได้รู้จักบุญสนองในฮาวายจนกลายเป็นเพื่อนกัน แย่หน่อยที่ข้าพเจ้าได้ลืมชื่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไปเสียแล้ว ไม่เช่นนั้นเขาคงจะมีเรื่องเล่ามากมายมาเล่าให้ฟัง

หลังจากที่ข้าพเจ้ากลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว บุญสนองจะแวะเวียนมาหาที่คณะรัฐศาสตร์อยู่เนืองๆ เพื่อรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันที่โรงอาหารของคณะ ขณะนั้นเขาได้ตัดสินใจที่จะลงสู่เวทีการเมืองแล้ว เขาไม่ได้มาคุยเรื่องการเมือง เพียงแต่จะได้มาเจอกันไม่ห่างหายไปเท่านั้น ส่วนมากเขาจะออกมาจากห้องทำงานที่คณะรัฐศาสตร์ของปราโมทย์ นาครทรรพ ทั้งบุญสนอและปราโมทย์เป็นเพื่อนเรียนมาด้วยกันตั้งแต่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งคู่ตัดสินใจทิ้งงานวิชาการเพื่อเข้าสู่การเมืองข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ประหลาดใจกับความมุ่งมั่นต่อภารกิจเพื่อมวลชนของบุญสนองที่จะจัดตั้ง และนำพาพรรคสังคมนิยมในประเทศที่อนุรักษ์นิยมอย่างยิ่งเช่นประเทศไทยเราทุกคนทราบดีถึงอันตรายแต่บุญสนองยืนยันว่า เขาไม่หวาดหวั่นและมีปืนพกติดตัวไว้ป้องกันตัว พวกเราเป็นห่วงกังวลความปลอดภัยของเขาแต่ก็นับถือความมุ่งมั่นและการอุทิศตัวของเขา

การลอบสังหารเขาในเวลาต่อมานำความเศร้าโศกเสียใจมายังพวกเราทุกคน แม้จะมีผลทำให้พวกเราเศร้าหมองแต่ก็ยิ่งเพิ่มความมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งในขบวนเหยียดยาวของเพื่อนฝูง ผู้นิยมชมชอบ และนิสิตนักศึกษาที่ไปร่วมพิธีศพ ความตายของบุญสนองให้บทเรียนสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง เราอาจจะไม่มีความกล้าหาญหรือกล้าเผชิญอย่างบุญสนอง แต่เราก็สามารถทำสิ่งเล็กๆ ตามความเชื่อที่เรายึดมั่นได้ พวกเราหลายคนพยายามจะทำอะไรที่มีความหมาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองภายในระบบราชการ ข้าพเจ้าก็ทำเช่นนั้นแต่เพียงชั่วเวลาสั้นๆ ประสบการณ์นั้นสร้างความผิดหวังให้กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงเลือกทางออกที่ง่ายๆ โดยตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตการทำงานที่เหลือในสถาบันการศึกษาที่มีบรรยากาศที่ปลอดภัย

ข้าพเจ้าลาออกจากงานที่ธรรมศาสตร์และรัฐบาลเปรม แล้วกลับไปที่คอร์แนลเพื่อสอนนักศึกษาให้รู้จักมีศรัทธาความเชื่อมั่นและการค้นหาความจริงความเชื่อมั่นที่มีต่อความยุติธรรมในสังคมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุญสนองให้แรงบันดาลใจกับข้าพเจ้านี้ ได้ถูกย้ำเตือนปลูกขึ้นใหม่ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าหยิบจานเมลามีนและชามใบนั้นที่บุญสนองทิ้งไว้ให้ หลายปีผ่านไปข้าพเจ้ายังนึกถึงรอยยิ้มและเสียงอันดังกังวานของเขา