สังคมศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 ตุลาคม 2517
นี่ก็มีข่าวออกมาอีกแล้วว่า
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ “ผู้ที่นิสิตนักศึกษาเคารพและเชื่อ”
วางแผนและกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวนต่อต้านรัฐธรรมนูญ เพราะ ดร.ป๋วยไปแพ้เสียงข้างมากในสภามา ตามข่าวนี้นายกรัฐมนตรีถึงกับออกคำสั่งด่วนผ่านตำรวจเรียก
ดร.ป๋วย เข้าพบเพื่อปรึกษาเรื่องนักศึกษาประชาชนเดินขบวนต่อต้านรัฐธรรมนูญของสภาพอๆ
กับข่าว ดร.ป๋วย
ก็มีการเขียนหรือพูดกันให้ได้ยินว่าจีนคอมมิวนิสต์แจกเงินนักศึกษาจ้างให้เดินขบวนนายธีรยุทธ
บุญมีนั้นได้รับเงินจากทางจีนและญี่ปุ่น ขณะนี้สะสมกันไว้ได้ร่วมร้อยล้านบาทแล้ว
สำหรับนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุลได้แต่ทางจีน และอเมริกา
ส่วนญี่ปุ่นยังมิได้มาติดต่อ (หรือไปติดต่อ) จำนวนเงินที่นายเสกสรรได้นั้นว่ากันว่า(กุขึ้นมา)
พอ ๆ กับที่นายเทิดภูมิ ใจดี ได้ทีเดียว คือเดือนละสองแสนบาท
ทางฝ่ายนายเทิดภูมินั้นนอกจากจะถูก กุว่าคอมมิวนิสต์จ่ายให้ไม่อั้นแล้ว
นายเทิดภูมิยังรีดไถเอาจากค่าแรงงานของกรรมกรอีกตกเข้าไปก็ร่วมเดือนละอีกสองแสน
พูดง่าย ๆ นายเทิดภูมินั้นก็คือนายทุนขูดรีด ดี ๆ
นี่เองเพราะคอมมิวนิสต์ทำให้เป็นแต่นายบุญสนอง
บุณโยทยานเองก็เป็นปรากฏมีผู้คุ้นเคยชอบพอกันผู้หนึ่ง
ซึ่งมีความสำคัญถึงขนาดเป็นที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ไปได้ยินผู้หญิงมากอายุคนหนึ่งพูดขึ้นในที่ประชุมพรรคนั้นว่านายบุญสนองมิใช่คนไทยดอก
หากมีมารดาเป็น “ญวน” หล่อนอ้างว่าหล่อนรู้ดีเพราะหล่อนเป็นครูบาอาจารย์
นายบุญสนองมาก่อน (ความจริงไม่เคยรู้จักกัน) เป็นอันว่าการรุกข่าวรายนี้ทำให้นายบุญสนองกลายเป็นคนมีเชื้อชาติร่วมกับนายบุญส่ง
ชเลธร นายธีรยุทธ บุญมี นายไขแสง สุกใส และนายอื่น ๆ
อีกหลายสิบนายที่ชาตินิยมไทยแท้บางคนไม่ยอมให้ร่วมชาติด้วย โดยอ้างว่าเป็น “ญวน"
ทฤษฏีทางสังคมจิตวิทยา
อธิบายว่า ในสถานการณ์ ที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
มนุษย์ในสังคมมักตกอยู่ในภาวะทางการเป็นอยู่และทางจิตใจระส่ำระสาย ในภาวะเช่นนี้
คนทั่วไปซึ่งปกติมิได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
หรือมิได้สนใจศึกษาเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นพิเศษ มักจะไม่สามารถยึดถือหรือเชื่อถือสิ่งใดได้ด้วยความมั่นใจ
ทั้งนี้เพราะเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในสังคมมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสับสน
และมีแง่มุมต่าง ๆ ที่ตนไม่สามารถเข้าใจหรืออธิบายได้
ในสภาวะของการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมาก และอย่างฉับพลัน
คนโดยทั่วไปจึงมักกลายเป็นคนหูเบา เชื่อหรือยอมรับเอาสิ่งต่าง ๆ
ที่ได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านอย่างง่ายดาย
ปราศจากการพินิจพิเคราะห์หรือไต่สวนหลักฐานหรือมูลเหตุอย่างจริงจัง
ทั้งนี้เพราะการสืบสวนหรือพิจารณาเรื่องราวที่เกิดขึ้น
หรือได้รับทราบมานั้นมักทำได้ยากและผู้ที่จะให้คำตอบได้แน่นอนก็มักจะไม่มี
ถึงมีก็มักจะตอบหรืออธิบายไปในทิศทางที่แตกต่างกันบุคคลแต่ละคนจึงจำยอมหรือสรุปเอาด้วยตนเอง
ในวิธีที่ตัวเองคิดหรือรู้สึกเอาว่า “น่าจะ”
ถูกต้องและมักจะมีความโน้มเอียง มีอคติไปในทางที่ตนเคยคิดหรือเคยเชื่อถือมาแต่ก่อน
ในสถานการณ์
ของความไม่ทราบแน่ และไม่มีวิธีใด ๆ ที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น
ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งมักเกิดขึ้นเสมอ
คือปรากฏการณ์ของการแพร่สะพัดข่าวลือหรือข่าวโคมลอยซึ่งหมายถึงการบอกเล่า
ให้ผู้อื่นฟังถึงสิ่งที่ผู้พูดเองก็ไม่รู้ความจริง
การแพร่สะพัดข่าวลือหรือข่าวโคมลอยซึ่งหมายถึงการบอกเล่า ให้ผู้อื่นฟังถึงสิ่งที่ผู้พูดเองก็ไม่รู้ความจริง
การะแพร่สะพัดออกไป คนที่ได้รับฟังอื่น ๆ ก็อาจยึดถือเอาเป็นเรื่องจริง
ยิ่งมีผู้พูดอย่างเดียวกันหรือทำนองอย่างเดียวกันมากเท่าใดความน่าเชื่อถือของคำพูดนั้นก็ดูจะเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งประชาชนทั่วไปไม่สามารถยึดเหนี่ยวอะไรเป็นหลักอยู่แล้วข่าวลือก็ยิ่งเพิ่มคำความเป็นข่าวจริงขึ้นไป
ตั้งแต่วันที่
14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมาในเมืองไทยเรามีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมาก
และบ่อยครั้งก็เป็นอย่างรวดเร็วเกินความคาดหมายตามปรกติธรรมดาของประชาชนทั่วไปแม้แต่การเปลี่ยนแปลงเมื่อ
14-15 ตุลา นั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยที่กล่าวกันว่า
14 ตุลา
เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อหรือไม่มีใครคิดว่าจะเป็นไปได้นั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงลักษณะฉับพลันและความผิดธรรมดาในตัวของมันเอง
ในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในสังคมได้แสดงออกมาในรูป
ลักษณะต่างๆ เช่นการก่อตั้งของกลุ่มประชาชน
นักศึกษานักเรียนร่วมสามสิบกลุ่มในกรุงเทพฯ และอีกนับสิบ ๆ กลุ่มในต่างจังหวัด
การรวมตัวของกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรม และในองค์กรธุรกิจและบริการอื่น ๆ ที่สำคัญ
และใหม่อย่างยิ่งก็คือการก่อตั้งขบวนการชาวนาข้ามเขตจังหวัด ชาวนาหลายพันคนจากจังหวัดต่าง
ๆ สามารถนัดเดินทางไปชุมนุมกันได้พร้อมเพรียงที่สนามหลวง ทั้งยังผนึกกำลังกันได้ 7,000
คน และมอบให้ตัวแทน นำบัตรประชาชนไปเสนอคืนรัฐบาลชุมนุมเดินขบวน
หรือประท้วงคัดค้านสถานภาพเดิมในกรณีต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นนั้นนับรวมกันเข้าแล้วได้ร่วม 600 ครั้ง และการประท้วงเรียกร้องหรือต่อต้านสิ่งต่าง
ๆ แต่ก็มีหลายกรณีที่การเปิดโปงต่อต้านของเก่า บางอย่างมิได้บังเกิดผลอันใด
และไม่มีทีท่าว่าจะบังเกิดผลเพราะถ้าบังเกิดผลก็ย่อมหมายถึงความพังทลายของผลประโยชน์มหาศาลของผู้ที่ในปัจจุบันนี้ยังมีอำนาจเด็ดขาดอยู่ในสังคมไทย
แต่ทว่าความล้มเหลวของการประท้วงต่อต้านในกรณีดังกล่าวนั่นเอง (เช่นในกรณีของชาวนาไร้ที่ดิน) ก็อาจเป็นชนวนให้มีการผลักดันการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังฉับพลันและอาจจะรุนแรงต่อไปได้
นอกจากข่าวลือที่เกิดขึ้น
เพราะการแพร่สะพัดความเห็นหรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ต่อเหตุการณ์ต่าง
ๆ แล้ว ทฤษฏีสังคมวิทยาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมร่วม
และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนหรือระหว่างชนชั้น
ยังให้อรรถาธิบายไว้ด้วยว่าในสถานการณ์ของการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้กุมผลประโยชน์ผูกขาดกับผู้มุ่งมั่นผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั้น
ข่าวลือเกิดขึ้นได้จากอีกสาเหตุหนึ่ง คือการสร้างข่าวลือเพื่อผลในทางการเมือง
ในเมืองไทยการสร้างข่าวหรือกุข่าวเป็นสิ่งที่มีอยู่เสมอ
และในช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้การปล่อยข่าวลือ
เพื่อต้านทานการเปลี่ยนแปลงย่อมมีการขึ้นตามความจำเป็น และเนื้อหาของข่าวที่กุขึ้นรวมทั้งวิธีการกระจายข่าวลือก็มีความแยบยลลึกซึ้งยิ่งขึ้น
นับแต่ 14
ตุลา 16 เป็นต้น
มาผู้เขียนได้รับฟังข่าวลือนานัปการทั้งที่เกี่ยวกับบุคคลบางคน
กลุ่มคนบางคนและที่เป็นเรื่องของสถานการณ์บ้านเมืองทั้งภายในภายนอก
ถ้าประมวลดูก็คงได้หลายสิบเรื่อง ที่กล่าวได้ว่าเป็นข่าวลือก็เพราะผู้เขียนสามารถตรวจสอบหลักฐานได้แน่นอนว่า
เรื่องที่ได้ยินมานั้นปราศจากมูลความจริง
ข่าวลือทั้งหลายนั้นบางครั้งก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีต้นตอมาจากไหน
แต่ก็พออนุมานได้ว่าหลายเรื่องคงเกิดขึ้นจากการแพร่สะพัดกันต่อ ๆ ไป
จากความเห็นหรือจินตนาการของผู้ไม่รู้แต่เป็นชอบสงสัย (โดยเฉพาะในทางที่ไม่ดี)
ส่วนบางเรื่องผู้เขียนมีหลักฐานยืนยันได้ว่า
เป็นข่าวลือที่เกิดขึ้นจากการวางแผนกุข่าว
หรือปล่อยข่าวเพื่อผลในทางทำลายชื่อเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
หรือเพื่อหักล้างทำลายพลังของการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างแน่แท้เพราะข่าวลือในลักษณะหลังนี้บางทีก็ปรากฏออกมาทางหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับ
หรือกระจายออกมาในรูปของบัตรสนเท่ห์จดหมาย หรือแถลงการณ์ที่ลงนามแอบอ้างหรือแอบแฝง
มิฉะนั้นก็ไม่ลงนาม เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
และรักสัจจะซึ่งอาจมิได้อยู่ใกล้ชิดหรือไม่มีการศึกษา ติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ
เพียงพอ จะมีวิธีใดที่จะตัดสินว่าข่าวหรือข่าวลืออันไหนเป็นความจริง
วิธีตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวลือนั้น
ถ้าไม่พิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานชัดเจน หรือรู้เห็นได้ด้วยโสตประสาท จักษุประสาท
และประสาทอื่น ๆ ของตนเองก็น่าจะทำได้อีกสองวิธีคือ 1)นอกจากการใช้ความพินิจอย่างมีเหตุผลแล้วในการที่ผู้นั้นจะสรุปได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงย่อมมีมาก
2)นอกจากการใช้ความพินิจพิเคราะห์ตามหลักของเหตุและผลแล้ว
ผู้ที่สนใจหาความเข้าใจต่อพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มคนหรือสถานการณ์อันใดอันหนึ่ง
น่าจะได้รับความกระจ่างขึ้นมากถ้าผู้นั้นเพียงแต่จะกำหนดลงไป ให้แน่นอนในใจของตน
อย่างที่เรียกกันว่าสร้าง “จุดยืน”
ที่ชัดเจนว่าสิ่งไหนหรือพฤติกรรมอันไหนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ใครหรือกลุ่มคนใด
เช่นเป็นประโยชน์ต่อชาติ ต่อประชาธิปไตย ต่อประชาชนส่วนใหญ่ ผู้ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
หรือว่าเป็นประโยชน์แกผู้ขัดขวางความก้าวหน้าของชาติขัดขวางสร้างสรรค์ประชาธิปไตย
และกลับเป็นผลดีแก่คนเพียงจำนวนน้อย ผู้ต่อการต้านขัดขวางการเปลี่ยนแปลงของสังคม ?
เมื่อคนไทยแต่ละคนสามารถกำหนดลงไปได้แน่นอน
ในแนวความคิดของตนดังนี้แล้ว การศึกษาจะพิจารณาข่าวลือข่าวลือทั้งหลายก็น่าจะทำได้ง่ายขึ้นมาก
ว่าทำไมข่าวลือบางอย่างจึงมีขั้นได้และถ้าคนแต่ละคนยอมรับข่าวลือนั้น ๆ แล้ว
มันจะก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อคนไทย และชาติไทยโดยส่วนรวมในระยะยาวบ้าง
คือจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหาสำคัญพื้นฐานต่าง ๆ ของประชาชนเกิดได้หรือไม่
หรือกลับจะเป็นการช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหาสำคัญพื้นฐานต่าง ๆ
ของประชาชนเกิดได้หรือไม่ หรือกลับจะเป็นการช่วยร่วมมือ (โดยไม่ตั้งใจ)
กับผู้ต่อต้านขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นผลดีแก่ประชาชน
วิธีแรกนั้น
ถ้าจะว่าไปก็คงไม่ต่างอะไรกับการใช้สามัญสำนึกโดยปรกติธรรมดานี้เอง
เช่นถ้าเราตั้งคำถามว่าข่าวลือที่ได้ยินมานั้น “เหลือเชื่อไหม”
เราก็อาจจะตอบตัวเองได้ง่ายว่าเหลือเชื่อหรือไม่เหลือเชื่อ
เช่นข่าวลือที่ว่าจับคอมมิวนิสต์
จ้างนักศึกษาเดินขบวนหรือญี่ปุ่นจ้างนักศึกษาไม่ให้ต่อต้านญี่ปุ่น เป็นต้น
ถ้าเราตั้งคำคามว่าจีนคอมมิวนิสต์และญี่ปุ่นจะทำได้หรือเพราะนักศึกษามีจำนวนนับหมื่นนับแสน
แม้แต่จำนวนนักศึกษาเอกก็มีจำนวนนับร้อยพัน
แล้วก็หูตาของรัฐบาลไทยก็มีอีกมากมายที่น่าจะสอดส่องอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงไฉนทางฝ่ายนักศึกษาและรัฐบาลจึงไม่สามารถตีแผ่หลักฐานให้ใครเห็นหรือถ้าจะมีการเถียงตัวเองต่อไปว่า
“เขาจ้างมา” คนหูเบาบางคนคิดหรือเชื่อเลยไปถึงว่า “เขาจ้างทั้งนักศึกษาและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก”
ถ้าเช่นนั้นฝ่ายประชาชนอีกร่วมสี่สิบล้านคนล่ะ
หรือเขาจ้างไว้ทั้งหมดแล้วเพื่อไปปกปิดข้อเท็จจริง
จึงไม่มีผู้ใดยอมเปิดเผยหลักฐานอันใดให้ใครทราบ ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีข่าวลือว่า
ผู้นำกรรมกรบางคนขูดรีดเงินกรรมกรด้วยกันไปตั้งเดือนละสองแสนบาท ถ้าผู้ได้ทราบข่าวลือนี้ถามตัวเองว่า
“แล้วกรรมกรเอาเงินมาจากไหนให้รีดไถได้ตั้งมากมาย” และ “ทำไมกรรมกรยอมให้รีดไถ”
การปุจฉาวิปัสสนาดังนี้บางทีก็ดูตื้น ๆ
แต่สำหรับประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับความระส่ำระสายของภาวะบ้านเมืองและทางจิตใจอยู่ทุกวันนี้
บางทีก็อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้างกระมัง
ส่วนวิธีที่สองนั้น
ผู้ชอบสงสัยหรือชอบมองในแง่ที่ไม่ดีไว้ก่อนบางคนอาจมีปัญหาบ้าง
วิธีนี้คนแต่ละคนจำเป็นต้องตั้งอุเบกขาพอสมควร
บางครั้งอาจถึงกับละทิ้งประเด็นที่ว่าใครอยู่เบื้องหลังหรือเป็นผู้ชักจูงให้บางคน
หรือบางกลุ่มกระทำการใด ๆ เลยทีเดียวก็เป็นได้หลักสำคัญของข้อนี้ คือ
การตรวจสอบที่ “ผล” ของการการะทำอันใดอันหนึ่งว่าถ้ามันสำเร็จหรือเป็นการตามที่คน
ๆ นั้นหรือกลุ่มนั้นพยายามทำให้สำเร็จแล้ว ประโยชน์ที่แท้จริงจะตกไปอยู่ที่ใคร
ขอยกตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีวุฒิสภาโดยการแต่งตั้งในประเทศไทย
และส่งอาสาสมัครไทยไปรบต่างประเทศโดยไม่ต้องให้ประชาชนรับรู้หรือสภาอนุมัติ
ถ้าการต่อสู้คัดค้านประเด็นดังกล่าวนี้บรรลุความสำเร็จ
ผลประโยชน์ขั้นสุดท้ายจักเกิดแก่ประชาธิปไตย ประเทศชาติ
และประชาชนทั้งมวลใช่หรือไม่ ถ้าใช่ คนแต่ละคนสมควรไหมที่จะเสียเวลาไปวิพากษ์วิจารณ์
ว่าผู้ที่พยายามด้วยวิธีต่าง ๆ
ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเช่นนั้นจะเป็นใคร
และทำเพื่ออะไรในทางกลับกันผู้ชอบสงสัยในข่าวลือต่าง ๆ
ก็อาจจะต้องสงสัยได้เช่นกันว่า
ถ้ามีรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะไม่เป็นประชาธิปไตยดังกล่าวข้างต้นแล้วความ
“ไม่เป็นประชาธิปไตย” จะก่อประโยชน์ให้แก่ใคร
ให้แก่ผู้สงสัยเองและประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่
หรือประโยชน์ที่แท้จริงนั้นจะตกไปอยู่เสียที่คนส่วนน้อย
ซึ่งมิได้รวมถึงผู้ชอบสงสัยเองเสียด้วยซ้ำไป
เมื่อคนแต่ละคนมีจุดยืนอยู่ข้างคนไทยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้เสียเปรียบในสังคม
อย่างจริงจังแล้วก็ไม่น่าจะเหลือวิสัยที่จะเข้าใจว่าข่าวลืออันไหนเป็นข่าวจริง
และข่าวลืออันไหนเป็นเพียงข่าวที่มีผู้สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านประชาชน
เมื่อขบวนการของนิสิต
นักศึกษา นักเรียน กรรมกรและชาวนาสำแดงออกซึ่งพลังในการคัดค้านต่อต้านประเด็นต่าง
ๆ
แต่ละครั้งมักมีข่าวลืออยู่เสมอว่ามีผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นมือที่สามบ้าง
เป็นนักการเมืองที่หวังประโยชน์ส่วนตนบ้างหรือเป็นผู้อยากดัง
อยากหาชื่อเสียงให้กับตนเองบ้าง และที่สำคัญคือเป็นคอมมิวนิสต์
แต่ไม่ว่าข่าวลือดังกล่าวนั้นจะมาในกระแสไหน เราพอจะวิเคราะห์ได้ว่าทั้งผู้ที่เผยแพร่ข่าวลือและผู้ยอมรับเอาข่าวลือนั้นมีสมบัติร่วมกันอยู่บางประการอันได้แก่
1.เป็นผู้ไม่สามารถคิดและเชื่อว่าประชาชนวงการต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตกอยู่ในภาวะของความบีบคั้นกดขี่ (รวมทั้งอาจต่ำต้อย
ยากจน และด้อยการศึกษาในระบบโรงเรียน) จะพัฒนาความสำนึกและรวมพลังกันได้ถ้าไม่มี
คนมีปัญญาไปจูงจมูกเขาเหมือนวัวควาย
สมบัติประจำตัวอันนี้คือสมบัติของผู้ดูถูกประชาชน
2.เป็นผู้ที่ฝังแน่นอยู่ในระบบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นซากเดน
ของความคิดที่ว่าพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ที่เป็นบุคคลแต่ละคนก็ดี หรือขบวนการของประชาชนก็ดีจะต้องเป็นพฤติกรรม
ที่มีคนสั่งให้ทำเสมอ
เพราะมนุษย์ในระบบศักดินาย่อมมีนายคอยบังคับบัญชาบงการให้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง
แนวความคิดในระบบศักดินา เป็นแนวความคิดที่เน้นด้านบารมี
และอำนาจเหมือนมนุษย์ของบุคคลที่อาจชักจูงให้ปุถุชนหรือชนชั้น “ผู้น้อย” เดินไปทางไหนก็ได้โดยไม่ต้องใช้สมองและปัญญาของตน
ซากเดนของความคิดแบบนี้ทำให้คนบางคนเชื่อได้สนิทแน่นว่าบุคคลเพียงคนเดียว
สองคนสามารถชักจูงคนนับหมื่นนับแสนให้ทำอะไรเมื่อใดก็ได้
3.เป็นผู้ที่ไม่มีความเข้าใจและประสบการณ์ ทำให้ยอมรับได้ว่า
ประชาชนวงการต่าง ๆ พึงมีเหตุผลและความจำเป็นอันใดต้องประท้วงเรียกร้องและต่อสู้เพื่อสถานการณ์ที่ดีกว่าที่เขาเป็นอยู่หรือมีอยู่แล้ว
เมื่อประชาชนถูกกดขี่สำแดงออกมาแต่ละคราว
เขาก็สรุปเอาอย่างง่ายดายทุครั้งว่าเป็นเพราะ “ผู้อื่น” มีเหตุผลที่จะผลักดันหรือ
“ก่อความวุ่นวาย”
ตามความเป็นจริงนั้น
เมื่อประชาชนรวมตัวกันเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง ประชาชนได้แสดงความเห็นถึงความเข้าใจ
ความไม่พอใจและความสามารถพร้อมเพรียงกันในการยืนหยัดต่อสู้อย่างมีระบบมีวินัยเป็นส่วนใหญ่
เช่น เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2517 คราวที่กรรมกรทอผ้าหลายหมื่นคนนัดไปประชุมเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มที่สนามหลวง
โดยนั่งประชุมเรียกร้องอยู่ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน
แม้ว่านิสิตนักศึกษาจะถูกกล่าวหามากมายว่าเป็นผู้ไปยุยงส่งเสริมและชักนำกรรมกร
แต่ผู้สังเกตการณ์ที่มีความเที่ยงธรรมย่อมจะเห็นได้ว่านิสิตนักศึกษารวมทั้งนักเรียนและประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ เช่น สหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ ปช.ปช. เป็นต้น มีบทบาทอย่างมากก็เพียงผู้ให้กำลังใจและคอยบริการรับใช้กรรมกร
คือคอยแจกข้าวห่อหรือจัดโต๊ะเก้าอี้ให้แค่นั้น การทำงานสำคัญเช่น
ตั้งข้อเรียกร้องและต่อรองกับนายจ้างและรัฐบาล เป็นสิ่งที่กรรมกรและผู้นำกรรมกร (ซึ่งมีจำนวนหลายสิบคน) เป็นผู้กระทำทั้งสิ้น
และตัดสินใจซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่จะเรียกร้องหรือไม่
จะหยุดงานไหมจะไปชุมนุมที่สนามหลวงไหมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าใครคิดว่านายธีรยุทธ
หรือนายป๋วย หรือนายเสกสรร หรือสิบนายธีรยุทธ หรือสิบนายป๋วย สิบนายเสกสรร
จะไปชักจูงโน้มน้าวให้กรรมกรตัดสิน
ตรงกันข้ามกับที่เขาต้องการทำและต้องการทำอยู่แล้ว
ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเพ้อฝันมัวเมาอยู่กับสิทธิ “จิตนิยม”
หรือลัทธิคิดเอาเองอย่างแน่นอน
ลัทธิจิตนิยมคิดเอาเองตามสะดวก
หรือสรุปเอาตามความรู้สึกและความเคยชินนั้นมีมากในหมู่ขุนนางข้าราชการและนายทุนศักดินา
อย่างเช่น
เมื่อนักเรียนนักศึกษาประชาชนหลายหมื่นคนประชุมต่อต้านรัฐธรรมนูญที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยระหว่างวันที่
19-21 กันยายน 2517 นั้น ปรากฏมีรายงานลับเสนอไปยัง กอ.ปค. (ก.อ.รมน.) กล่าวอ้างว่ามีอาจารย์มหาวิทยาลัยไปนั่ง
“บงการ” อยู่ที่ร้านกาแฟในโรงแรมข้างอนุสาวรีย์แห่งนั้น ข่าวนี้เป็นข่าวลับ
แต่เมื่อผู้ใดบังเอิญได้ยินได้ฟังเข้า
ถ้าผู้นั้นมีใจเป็นธรรมและความสามารถพอประมาณที่จะใช้เหตุใช้ผลก็น่าจะสงสัยได้ว่าถ้ามีอาจารย์มหาวิทยาลัยไปนั่งอยู่ในร้านกาแฟซึ่งแน่ชัดไปด้วยแขกเหรื่ออย่างนั้นไฉนผู้รายงานดังนี้จึงจะสรุปเอาได้ง่าย
ๆ ว่าอาจารย์เหล่านั้นไป “บงการ” ใครอยู่
และที่สำคัญยิ่งก็คือประชาชนหลายหมื่นคนที่ที่อนุสาวรีย์นั้นเป็นสัตว์เลี้ยงประเภทไหน
จึงยอมให้ใครบงการเขาเอาได้
เหตุไฉนผู้รายงานจึงไม่มีความสามารถประเมินดูเอาเองว่าทั้งคนพูด คนฟัง
คนร่วมชุมนุมที่ตบมือโห่ร้องประเด็นต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญนั้น
เขามีเหตุผลและความคับแค้นใจอันใดบ้างหรือไม่
และสิ่งที่เขาเรียกร้องต่อต้านนั้นมันเหลือวิสัยของมนุษย์ผู้มีมันสมอง (แม้แต่ขนาดทื่อๆ) จะเข้าใจหรือตัดสินใจได้เองกระนั้นหรือ
การสรุปลงความเห็นว่าผู้นั้นผู้นี้
“อยู่เบื้องหลัง” ขบวนการของนักศึกษาและประชาชน
ถ้าผู้สรุปและรายงานมีหน้าที่ราชการกินเงินเดือนที่เป็นภาษีอากรของราษฎรอยู่ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการเขียนรายงานเท็จ
มีพฤติกรรมคดโกงในการปฏิบัติงานผลของการทำงานลึกลับเช่นนี้
ได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ประชาชน และชาติบ้านเมืองมามากและนานเต็มทีแล้ว ผู้คนธรรมดาถูกจับกุมคุมขังด้วยข้อหาและข้อสงสัยต่าง
ๆ นับไม่ถ้วนเป็นที่เอือมระอาและคุมแค้นของคนทั่วไป
ถ้าผู้พูดหรือผู้เขียนเป็นคนนอกระบบราชการ
ก็จะต้องถือได้ว่าเป็นคนหูเบาเป็นบ่าวช่างยุ
หรือมิฉะนั้นก็เป็นผู้มีเจตนาก่อกวนความสงบและต่อต้านขัดขวางการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี
ทำตัวเป็นเครื่องมือ
หรือผู้รับใช้ของผู้มีผลประโยชน์ในทางอำนาจปัจจุบันนี้ประชาชนไทยจำนวนมหาศาลที่ตื่นตัวตื่นใจต่อความเลวร้าย
และกลอุบายต่างๆ ที่ผู้ใช้ข่มขู่หรือบังคับประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว
จึงควรจะหมดสมัยเสียทีที่จะพากันหลงเชื่ออยู่อีกต่อไปว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนนั้นมันเกิดขึ้นเฉพาะฝีมือของบุคคลเพียงบางคนหรือเป็นเพราะผู้นำประชาชนบงการต่างๆ
ที่ประชาชนมีอยู่ต่างหากถ้าผู้ใดหรือรัฐบาลใดต้องการตอบสนองต่อขบวนการนักศึกษา
และประชาชนผู้นั้น หรือรัฐบาลนั้นจำต้องการตอบสนองต่อขบวนการนักศึกษา และประชาชนผู้นั้น
หรือรัฐบาลนั้นจึงจำต้องตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนมิใช่ต่อบุคคลใดหรือกลุ่มใด
มิฉะนั้นนอกจากจะมิใช่ทางแก้ปัญหาอันใดแล้วยังจักเป็นชนวนขยายขอบเขตของปัญหาทั้งหลายแหล่ต่อไปไม่มีสิ้นสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น