ทัศนะต่อ ดร.บุญสนอง


อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เขียนถึง ดร.บุญสนอง


"อาจารย์บุญสนองได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิชาการผู้มีความรู้ความสามารถและมีผลงานจนเป็นที่ประจักษ์ชัดในหมู่นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานด้านต่าง ๆ ทางวิชาการได้แก่ งานเขียน งานพิมพ์ตำรา และบทความ งานสัมมนาทางวิชาการ งานวิจัย งานสอนและงานให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา งานธุรการและบริการที่เกี่ยวกับวิชาการ งานเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการระหว่างประเทศ งานบรรยายและสอนตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น เป็นอาจารย์พิเศษนิสิตบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้มักจะได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมสัมมนาในต่างประเทศ และขององค์การระหว่างประเทศเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา และได้เป็นกรรมการสมาคมสังคมวิทยาแห่งโลกด้วย ในขณะที่ เป็นอาจารย์นั้นอาจารย์บุญสนองได้มองเห็นปัญหาและความไม่เป็นธรรมที่เป็นอยู่ในสังคม ได้ทุ่มเทกำลังกายและใจเพื่อหาทางแก้ไข ได้เข้าร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ และพยายามปฏิบัติภารกิจในทางเสริมสร้างเพื่อให้มีความเป็นธรรมในสังคมเท่าที่สามารถทำได้" (อ่านต่อ)





“Carl A. Trocki” เขียนถึง "บุญสนอง บุณโยทยาน"


"Dr. Boonsanong Punyodyana fell to an assassin's bullet at about 1:30 a.m. on 28 February, 1976. At the time of his death, he was the Secretary-General of the Socialist Party of Thailand. There is little doubt that his death was politically motivated. Since few, among Thailand's ruling elite regretted his passing, not many expect his murderers to be apprehended. He will be sorely missed however, by his wife and two daughters, by his academic colleagues, and by the Thai people.(อ่านต่อ)






Soon after the assassination of Boonsanong Punyodyana on February 28, 1976, his very good friend Carl Trocki wrote a touching and thorough tribute to Boonsanong in the Bulletin of Concerned Asian Scholars (volume 9, 1977).  That article gave an excellent account of Boonsanong the scholar, the activist, and the idealistic politician.  It also contained a reprint of the January 1975 interview Boonsanong gave to Norman Peagam of the Far Eastern Economic Review.  The interview together with Carl’s article confirmed Boonsanong’s scholarly prowess, but more importantly, it also highlighted his quick wit, fearlessness, humanity, and egalitarian spirit.   The article documented how in spite of his achievements which would have guaranteed his induction into the ranks of the Thai elite, Boonsanong chose the untraveled and the unpopular path by forming a socialist political party and thereby betraying the interests of his own class.  For this indiscretion he was assassinated. (อ่านต่อ)





"สหายบุญสนอง บุณโยทยาน มีบทบาทสำคัญในการนำแนวสังคมนิยมลงสู่ภาคปฏิบัติของการเมืองโลกจริงผ่านการเคลื่อนไหวของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยในยุคระหว่าง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ กับ ๒๕๑๙ การหาเสียงของพรรคนี้ในหมู่บ้านทางภาคเหนือของไทย ไม่เหมือนการหาเสียงของนักการเมืองนายทุนประเภทที่ไร้นโยบายในสมัยนั้นหรือสมัยนี้ เพราะมีการจัดเวทีประชุมใหญ่ๆ เพื่อเสนอนโยบายการเมืองแบบสังคมนิยมที่เป็นรูปธรรมกับชาวบ้านรากหญ้า โดยไม่มีการซื้อเสียง นอกจากนี้สหายบุญสนองอธิบายว่าในการเลือกเขตเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง พรรคสังคมนิยมและพรรคแนวร่วมสังคมนิยมพยายามลดความสำคัญของตัวบุคคลและเพิ่มความสำคัญของนโยบายทางการเมือง วิธีการนี้ได้ผลพอสมควรเพราะในการเลือกตั้งปี ๒๕๑๘ พรรคสังคมนิยมต่างๆได้ประมาณสิบห้าที่นั่ง" (อ่านต่อ)








"บุญสนองเรียนวิชาสังคมศาสตร์ ข้าพเจ้าเรียนวิชารัฐศาสตร์ วิชาทั้งสองต่างกันไม่มากแต่บุญสนองเถียงว่ามาก เพราะวิชาสังคมวิทยาเป็นวิชาก้าวหน้า เป็นเรื่องของพลังและการเปลี่ยนแปลงในสังคม ส่วนวิชารัฐศาสตร์เป็นวิชารักษาของเก่า คือรัฐบาลและระบบปกครอง ดังนั้นพวกเรียนรัฐศาสตร์มักจะหัวเก่า ซึ่งก็ไม่ผิด ยุคที่เราเรียนอยู่อเมริกานั้นเป็นยุคทองของนักศึกษาหัวก้าวหน้า จะเห็นได้ว่าพวกที่แข่งขันในการคัดค้านระบบเก่า คัดค้านสงครามเวียดนามมักจะเป็นนักเรียนทางวิทยาศาสตร์ และสังคมวิทยา พวกชอบเข้าข้างรัฐบาลได้แก่พวกนักเรียนแพทย์ รัฐศาสตร์ และ กฎหมาย" (อ่านต่อ)












"ชัยวัฒน์ สุรวิชัย" เขียน "รำลึก 37 ปีการจากไปของ ดร.บุญสนอง"


"จาก 28 กุมภาพันธ์ 2519 ถึง 28 กุมภาพันธ์  2556   เป็นเวลายาวนาน 37 ปี แต่สำหรับบุคคลหนึ่ง ชีวิตหนึ่งที่คิดและทำเพื่อส่วนรวมและเสียชีวิตไปเพื่อแผ่นดินเกิด ยังคงได้รับการรำลึกจดจำอยู่ในใจเสมอสำหรับชาวสังคมนิยมโดยเฉพาะพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย  ( 2517-2519 ) ใช่ครับ ! ผมหมายถึง  ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยคนแรก" (อ่านต่อ)




รวมคำไว้อาลัยถึง ดร.บุญสนอง







ประมวลภาพข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน