ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน
จากวารสารรายปักษ์ “ศูนย์” ปักษ์หลัง ฉบับที่ 5 มีนาคม 2517
ในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่พิมพ์หลังเหตุการณ์วันที่
๑๔ ตุลาคมไม่นาน ผู้เขียนกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่ารัฐบาลไทยชุดก่อน ๑๔ ตุลา
พยายามสร้างเอกภาพในหมู่ ประชาชนโดยให้ถือการปฏิบัติตามรัฐบาลเป็นเรื่องสำคัญ
แต่ภายหลังวัน ๑๔ ตุลา ประชาชนกลุ่มต่างๆ
ที่มีความไม่เหมือนหรือไม่เสมอกันในด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและการเมือง ต่างแสดงออกอย่างรวดเร็วและโจ่งแจ้งถึงความไม่เท่าเทียม
หรือความขัดแย้งซึ่งเขามีอยู่แล้วตามปรกติ
ผู้เขียนบทบรรณาธิการบทนั้นชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน
เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องยอมรับและเปิดโอกาสให้แสดงออก
และได้แสดงความปรารถนาไว้ว่าเอกภาพหรือความสามัคคีของประชาชนโดยส่วนรวมน่าจะคงมีอยู่ได้
แม้แต่ในภาวะของความแตกต่างและขัดแย้งดังกล่าวแล้ว
ความคิดอันนี้เป็นความคิดของคนสมัยใหม่หรือคนรุ่นใหม่
ไทยเรามีประเพณีทั้งในการปกครอง และทางสังคม
ว่าประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้ ประเพณีแม้ในปัจจุบันก็คงจะเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากยอมรับนับถืออยู่
ถึงแม้จะมีคนบางกลุ่มบางคนอาจจะต้องการให้เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นก็ตาม
โดยความเป็นจริง
ความเป็นเอกภาพของประเทศไทยหาใช่จะมีขึ้นเนื่องจากคนทั้งชาติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทุกอย่างหรือเป็นเพราะคนทุกคนมีความเป็น
‘ไทย’ หรือวัฒนธรรมไทยเสมอเหมือนกันหมดหามิได้
ความสามัคคีของคนในรัฐสมัยใหม่ซึ่งจะเป็นรัฐที่มีเอกภาพและยั่งยืนต่อไปได้นั้นน่าจะหมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนแต่เฉพาะในด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์เท่านั้น
กล่าวคือราษฎรทุกคนจะต้องได้รับความคุ้มครองและได้รับประโยชน์จากการปกครองของรัฐบาลอย่างเดียวกันและต้องปฏิบัติตามกฎหมายพื้นฐานอันเดียวกัน
นอกเหนือจากนั้นผู้มีโอกาสปกครองประเทศจำต้องอนุมัติให้มีความแตกต่างในทางศาสนา
วัฒนธรรมทางชาติพันธุ์อื่นๆ ได้โดยชอบธรรม และยังต้องให้ความคุ้มกัน
และส่งเสริมกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรมแต่ละกลุ่มทางสังคมให้มีเอกลักษณ์ของตนเองและมีความเจริญงอกงามตามความยุติธรรมอีกด้วย
ทั้งนี้เพื่อกลุ่มที่แตกต่างกันอยู่แล้วนั้นจะได้มีความภาคภูมิมีศักดิ์ศรีมีความหยิ่งในกลุ่มของตัว
มีความเสมอภาพกับกลุ่มอื่นแล้วในที่สุด และมีความเต็มใจร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ
ในชาติเพื่อสร้างสรรค์ความมีเอกภาพของรัฐและสังคม
ในด้านวัฒนธรรมนั้นประชากรไทยไม่เคยมีความเป็นเอกภาพอย่างสมบูรณ์
มาเลยในประวัติศาสตร์ของชาติเรา ถึงแม้ชนส่วนใหญ่จะเป็นพุทธศาสนิก
แต่เราก็มีอีกส่วนหนึ่งที่เป็นมุสลิมในภาคใต้ มีบางส่วนที่เป็นผู้นับถือ ผี
พราหมณ์ และเจ้าพ่อกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งในที่ราบที่ดอนและริมน้ำริมทะเล
ทั้งในและชนบทนอกจากนั้นยังมีคริสต์ชนนิกายต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยเมื่อนับร้อย ๆ
ปีมาแล้ว
มีผู้กราบไหว้บรรพบุรุษและอาจจะมีผู้ที่มิได้นับถือหรือเลื่อมใสในศาสนาหรือไสยไม่ว่าแขนงใด
ๆ อยู่อีกด้วยก็เป็นได้
ในด้านภาษา
คนภาคเหนือ ภาคใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือก็หาได้พูดภาษาไทยที่เป็นภาษาราชการไม่
ลำพังคนภาคกลางเองก็ใช่ว่าทุกคนในทุกชุมชนจะพูดภาษาไทยกลางสำเนียงเดียวกันไปหมด
ยิ่งกว่านั้นในชนบทภาคกลางยังมีคนพูดภาษามอญ ภาษาลาวโซ่ง ลาวพวน รวมทั้งลาวพุงขาวและลาวพุงดำ
ด้านชาติพันธุ์
(ซึ่งหมายถึงเอกลักษณ์ทางภาษาวัฒนธรรมและประวัติการตั้งถิ่นฐานและการอพยพแบบที่มักจะทำให้โน้มเอียงเข้าใจกันกว่ามีความหมายทางชีววิทยาหรือ
‘เชื้อชาติ’) ในประเทศไทยนี้ก็มีคนหลายหมู่
หลายกลุ่มและหลายเผ่าเต็มที เช่น ญวน เขมร ลาว มอญ กะเหรี่ยง ชาวเขาสามสิบกว่าเผ่า
มาเลย์และจีน เป็นต้น
เพียงการสาธยายรับแล้วว่า
เอกภาพของชาติไทยการธำรงไว้ซึ่งการเป็นรัฐเดียวเท่านั้น
ส่วนในทางสังคมวิทยาเอกภาพหาใช่สิ่งที่จะมีขึ้นได้โดยอัตโนมัติเพียงแต่การออกกฎหมายบังคับหรือการกำหนดนโยบายเพื่อโน้มน้าวให้คนมีลักษณะเหมือนกันหรือมีวัฒนธรรมอันเดียวกันอย่างง่าย
ๆ แต่อย่างใดไม่ในบทความขนาดสั้นนี้ขอให้เราพิจารณาเฉพาะกรณีของคนจีนดูอย่างกว้าง
ๆ
ความจริงที่ว่าในประเทศไทยมีคนจีนอยู่ถึงสามล้านคนเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้
ในหมู่คนจีนทั้งสามล้านนี้ตามกฎหมายก็มีอยู่เพียงสี่แสนกว่าคนเท่านั้นที่เป็นต่างด้าว
นอกนั้นเป็นคนสัญชาติไทยทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาจากแง่กฎหมายและการปกครอง
คนทุกคนที่ถือสัญชาติไทยจะต้องได้รับความคุ้มครองและสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวกันโดยไม่มีข้อยกเว้น
แต่ที่เป็นจริงมีคนจีนจำนวนไม่น้อย แม้ว่าจะเป็นคนเกิดในประเทศไทยและไม่เคยไปเมืองจีนเลยบางที่ภาษาจีนก็พูดไม่ได้ขนบธรรมเนียมประเพณีจีนก็ไม่ปฏิบัติศาสนาจีน
ก็ไม่ถือแม้แต่ชื่อและนามสกุลก็เป็นภาษาไทยแต่เขาก็มีลักษณะพิเศษกล่าวคือ
เขายังได้ชื่อว่าเป็นคนจีน เขาไม่อาจเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายทหารหรือนายตำรวจ
ไม่มีสิทธิ์ซื้อที่ดินและขาดโอกาสดีอื่น ๆ อีกหลายประการทั้งนี้
เพราะบิดาของเขาเป็นคนต่างด้าว
ความลำเอียงที่มีอยู่มิใช่เป็นการลำเอียงตามกฎหมายหรือโดยระบบการปกครองเสมอไปแต่เป็นการลำเอียงทางสังคมคือ
ทางความคิดและการกระทำอย่างแน่ชัด
คนที่เป็นเชื้อสายจีนนั้นแม้เมื่อได้ถือสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือการโอนสัญชาติแล้วก็ตาม
ลักษณะชื่อสกุลไทยที่ข้าราชการอนุญาตให้เขาใช้ก็เป็นเครื่องส่อเจตนาว่าคนจีนถูกกำหนดให้คงความเป็นจีนด้วยการมีชื่อยาวหรือชื่อแบบจีน
การให้สิทธิทางกฎหมายแก่คนจีนหรือลูกหลานจีนให้มีสัญชาติไทยและให้มีชื่อไทยนามสกุลไทยเป็นสัญญาณแสดงว่ารัฐบาลไทยสมัยต่าง
ๆ ต้องการให้คนจีนผสมกลมกลืนกลายเป็นคนไทย ยิ่งกว่านั้นยังมีการผสมกลมกลืนกันทางการศึกษาห้ามเปิดโรงเรียนจีน
ทางการเมืองไทยห้ามรวมกลุ่มการเมือง ห้ามติดต่อกับคนจีนในประเทศจีน
(ชาวจีนในประเทศไทยเกือบทั้งหมดอพยพมาจากภาคใต้ของสาธรณรัฐประชาชนจีน)
และในทางวัฒนธรรม คือ ห้ามประกอบพิธีกรรมบางอย่าง และกระตุ้นให้ ‘กลาย’ เป็นไทย
นโยบายของรัฐบาลไทยในการผสมกลมกลืนคนจีนให้กลายเป็นไทยไม่ใช่สิ่งที่ประสพความสำเร็จเพราะคนจีนจำนวนมากหรืออาจจะกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นรุ่นปู่รุ่นพ่อหรือ
รุ่นหลานก็ดีก็ยังเป็นคนจีนในสังคมไทยอยู่ ความเป็นจีนนั้นปรากฏอยู่ในด้านอาชีพพ่อค้าจีน
ด้านนามสกุลไทย แบบจีนรวมทั้งด้านการปฏิบัตินอกพิธีของคนในระบบราชการไทยต่อ คนจีน
(ทั้งที่มีสัญชาติไทยและที่เป็นต่างด้าว) แท้จริงการที่คนต่างด้าวจำนวนมากที่พำนักอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลาค่อนอายุของเขาและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะโอนสัญชาติไทยตามนโยบาย
และอยากโอนด้วยแต่ติดขัด ไม่สมารถจะโอนได้ก็นับได้ว่าเป็นเครื่องหมายของความล้มเหลวของนโยบายผสมกลมกลืนคนจีนอย่างหนึ่งและ
เป็นความล้มเหลวที่มิใช่เนื่องมาจาก กฎหมาย หากเป็นเพราะลักษณะทางอำนาจของสังคมไทยมากกว่า
ความขัดแย้งหรือความไม่มีเอกภาพจึงมีอยู่ตลอดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับที่เหนือเอกภาพของรัฐขึ้นไปเพราะปรากฏมีความตึงเครียดทั้งในด้านบุคลิกภาพและวัฒนธรรม
คือทั้ง ๆ ที่ ราชการไทยและคนไทยต้องการให้คนจีนเป็นไทย แต่ก็ยังทำให้เขาคงความเป็นจีนเช่นในด้านนามสกุลและในด้านทัศนคติบางประการต่อ
‘ลักษณะ’ ของคนจีน ทั้งในด้านสังคม กล่าวคือทั้งที่
ต้องการให้คนจีนร่วมสร้างเอกภาพสังคมไทย แต่ผู้ที่ประกอบอาชีพพ่อค้าก็ยังคงได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเดียวกับพ่อค้าต่างด้าว
และการประกอบอาชีพของผู้ที่ไม่ใช่ ‘ราษฎร’ อยู่ต่อไป ในที่สุดในทางการเมืองทั้ง ๆ ที่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดย
กำเนิดแต่ ‘คนจีน’ ก็ขาดโอกาสและสิทธิบริบูรณ์ในฐานะที่เป็นราษฎรของประเทศไทย
ทั้ง
ๆ ที่คนจีนในเมืองไทยอาจจะอยากสนับสนุนเอกภาพของชาติไทยและทั้งที่รัฐบาลไทยและคนไทยอยากจะกลืนคนจีนให้กลายเป็นคนไทยเพื่อเอกภาพของชาติไทย
แต่ความพยายามสร้างเอกภาพโดยให้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน คือเป็นคนไทยเหมือนกันหมดนั้น
เราเห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่ปราศจากการยอมรับความจริงขั้นมูลฐาน คือ
ความแตกต่างกันของชนในหมู่หรือกลุ่มต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้
เอกภาพนั้นถึงแม้จะมีขึ้นได้ก็จะเป็นเอกภาพของรัฐและรัฐดังกล่าวนั้นก็ต้องเป็นรัฐแบบเผด็จการอย่างแน่นอน
อาจจะเคยมีคนหลงเข้าใจว่าเอกภาพชนิดนี้เราเคยมีอยู่ในอดีต
เพราะในอดีตเรามีโอกาสเห็นความแตกต่างหรือความไม่พอใจน้อย.....เพราะทุกคนถูกกดศีรษะอยู่ในอำนาจของรัฐ
แต่ปัญหามีอยู่ตลอดมา
คือปัญหาความไม่ผสมกลมกลืน ‘เป็นไทยเหมือนกันหมด’
ของส่วนประกอบส่วนต่าง ๆ ของประชากรไทยในด้านของคนจีนนั้น
เราได้ยินคุ้นหูกันอยู่ว่ามี “ปัญหาคนจีนในประเทศไทย”
ที่เป็นปัญหานั้นมิใช่เพราะอะไรอื่นแต่เป็นเพราะรัฐบาลไทยพยายามแก้ปัญหาในทางการปกครองและทางกฎหมายโดยมิได้คำนึงถึงเนื้อหาสำคัญทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับชนกลุ่มต่าง
ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสมาชิกร่วมกันของชาติไทยนั่นเอง
ใครจะกล้าเถียงว่า
คนจีนในเมืองไทยมิใช่ส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญเสียด้วยของชาติไทย
เอกภาพของชาติและสังคมไทยจะมีขึ้นได้อย่างไร ถ้าจะถืออยู่ต่อไปว่า
ชาติไทยมีอยู่เพียงส่วนเดียวเท่านั้นคือ ส่วนทีเป็น “ไทยแท้” และส่วนอื่น ๆ ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นจีน เขมร ลาว ญาณ หรือมาเลย์
จำต้องหล่อหลอมให้เป็นไทยแท้ไปด้วย
ความพยายามที่จะหลอมหมู่มนุษย์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียแม้แต่มนด้านกฎหมายและการปกครองเพราะผู้ที่มิใช่ไทยแท้นั้นเมื่อถูกบังคับให้เป็นผู้ที่ทำให้เขาไม่สามารถจะหลอมตัวเป็นไทยแท้ได้
จึงเห็นจะถึงเวลาแล้ว
ที่ไทยแท้ทั้งหลายจักได้คิดเสียว่า
เอกภาพของชาติไทยนั้นจะมีได้ดีกว่าและแน่นแฟ้นกว่าถ้าชนส่วนอื่น ๆ
ของชาติไทยจะมิถูกกำหนดให้เป็นไทยแท้แต่ได้รับโอกาสให้เป็นทางชาติพันธ์ วัฒนธรรม
ศาสนา แม้แต่ภาษาและชื่อสกุล
เอกภาพจะมีไม่ได้ถ้าปราศจากความแตกต่าง
แต่เอกภาพอันยิ่งใหญ่จะมีขึ้นและธำรงอยู่ไว้ได้แม้แต่ในความแตกต่างที่ใหญ่หลวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น