วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความ: ความขัดแย้งของประชาชนคือชนวนของการเปลี่ยนสังคม


ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน

วิธีศึกษาลักษณะของสังคม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น ถ้าพิจารณาแต่จากแง่ของความต่อเนื่องกันหรือการปรับปรุง ปฏิรูปโครงสร้างหรือระบอบของสังคมไทยโดยไม่คำนึงหรือไม่กล้าคิดถึง การเปลี่ยนระบบสังคมดังที่ฝ่ายถอยหลังเข้าคลอง ไม่ว่าจะเป็นจารีตนิยมหรือเสรีนิยมต่างก็ยึดถือเป็นหลักเสมอมานั้น ผลที่ได้รับก็คือ ความไม่มีวันเข้าใจว่าอะไรทำให้สังคมเปลี่ยน ซ้ำร้ายทั้งที่สิ่งที่ฝ่ายจารีตนิยมและเสรีนิยมพยายามทำอยู่ตลอดนั้นมันขัดขวางหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการเปลี่ยนแปลงก็กลับพากันหลงเข้าใจไปเสียด้วยว่า ตัวนั้นแหละคือผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่ตนทำภายในระบบจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้สังคม ดีขึ้น’ ‘เจริญขึ้นหรือ พัฒนา

ความพยายามที่จะแก้ไขความขัดแย้งประชาชน หรือของสังคมโดยทางจารีตประเพณีและแบบเสรีนิยมนั้น ฝ่ายถอยหลังเข้าคลองทั้งยอมรับว่าตนเป็นคนรุ่นเก่าและที่อ้างว่าตนเป็นพลังใหม่ต่างก็แสดงเพณีและแบบเสรีที่สิ่งที่ฝ่ายจารีตนิยมและเสรีนิยมพยายามทพวกที่ยอมรับว่าตนเป็นคนรุ่นเก่าและที่อ้างว่าตนเป็นพลังใหม่ต่างก็แสดงให้เห็นแล้วว่าล้มเหลว การแก้ข้อขัดแย้งจึงไม่มีวันสำเร็จ ตราบเท่าที่ฝ่ายจารีตนิยมและเสรีนิยมยังดื้อดึงจะแก้โดยวิธีเก่า และตราบเท่าที่ซากเดนแห่งพลังถอยหลังเข้าคลองยังหลงเหลืออยู่ในสังคม เมื่อพิจารณาจากแง่ของการเปลี่ยนสังคมอย่างจริงจังแล้ว จึงจำเป็นต้องสร้างภาพจำลองของสังคมและการเปลี่ยนแปลงสังคมเสียใหม่ ภาพจำลองที่จำต้องสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ต้องเป็นภาพของความขัดแย้ง มิใช่ภาพของความสมานสามัคคีจอมปลอม หรือภาพของการพัฒนาดังที่ทำกันมามากแล้ว แต่ไม่สำเร็จ

ภาพจำลองเก่าเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย

. ภาพการปรับตัวของสังคม นักวิชาการ หรือ ปัญญาชนสำนักจารีตนิยม มักแสดงทัศนะให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นกระบวนการแบบอัตโนมัติ หรืออีกนัยหนึ่งมนุษย์ย่อมสมัครใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โครงสร้างและถาบันสังคมของไทยเหมาะสมและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งพลังภายในของสังคมไทยนั้นเองก็ช่วยกำหนดความเร็วและวิถีของการเปลี่ยนแปลง เช่นกล่าวกันว่าสังคมไทยสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกหรือวิทยาการของตะวันตกที่เป็นประโยชน์แก่สังคมไทย การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเนื่องจากสังคมไทยเลือกเอาวิธีการ หรือสถาบันบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่สังคมไทยมาปรับเป็นของไทย และการพัฒนาจะเป็นการ พัฒนาแบบไทย

. ภาพความไม่สอดคล้อง นักเสรีนิยมพากันเถียงว่าสถาบันสังคม หรือ ค่านิยมของไทยบางอย่างขัดขวางและเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง หรือ ต่อต้านพลังในการพัฒนา มีการชี้ว่าการพัฒนาจะต้องทำอย่างประเทศนายทุนตะวันตกที่พัฒนาแล้ว อะไรที่ไม่เหมือนหรือสอดคล้องกับแบบอย่างของประเทศตะวันตกจะต้องยกเลิก และทำให้เหมือนประเทศตะวันตก นักเสรีนิยมไม่รังเกียจที่จะยกเลิกค่านิยมและจารีตบางอย่าง แต่ในขณะที่เน้นในค่านิยมใหม่ เทคนิคใหม่ เขาก็หาได้คำนึงถึงความขัดแย้งขั้นมูลฐานที่มีอยู่ในสังคมไทยแต่ประการใดไม่ละจารีตบางอย่าง แต่ในขณะที่เน้นในค่านิยมใหม่ เทคนิคใหม่ เขาก็หาได้คำนึงถึงความขัดแย้งขั้นมูลฐานที่มีอยู่ในสังคมไทยแต่ประการใดไม

ทั้งทัศนะทางจารีตนิยมและเสรีนิยมนี้เป็นทัศนะที่ไม่สามารถช่วยให้ผู้วิเคราะห์มองเห็นสัมพันธภาพระหว่างฐานทางวัตถุกับโครงสร้างส่วนบนของสังคม อันได้แก่สัมพันธภาพระหว่างฐานทางวัตถุกับโครงสร้างส่วนบนของสังคม อันได้แก่ สัมพันธภาพของมนุษย์ ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องอย่างใกล้อยู่กับลักษณะทางเศรษฐกิจ หรือลักษณะทางชนชั้นของมนุษย์นั่นเอง โครงสร้างส่วนบนเช่นระบบการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ นโยบายการเมือง ค่านิยม และอื่นๆ ในตัวของมันเองนั้น ถึงแม้จะเป็นพลังที่ควบคุมความสัมพันธ์ของมนุษย์อยู่อย่างแน่นแฟ้นก็หาใช่สิ่งกำหนดการเปลี่ยนแปลงขั้นมูลฐานไม่ เพราะตัวของมันเองหาไ ด้เปลี่ยนไปโดยอิสระ หรือเอกเทศต่อการเปลี่ยน ในด้านความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อปัจจัยการผลิตอย่างใดไม่ พูดอีกทีหนึ่งก็คือ เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้วในระบบการผลิต ในที่สุด สถาบันสังคมและค่านิยมก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ทั้งนี้เพ่อความคล้องจองจะได้เกิดขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านสัมพันธภาพที่มนุษย์แต่ละชนชั้นมีอยู่ต่อปัจจัยการผลิต กล่าวคือ ตราบใดที่ชนชั้นหนึ่งยังผูกขาดพลังทางเศรษฐกิจอยู่ แม้ชนชั้นนั้นจะอ้างว่าต้องการให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจลังคมและพยายามแสดงให้เชื่อว่ามีเจตนาจะปฏิรูป หรือแก้ไขปัญหาของประชาชนและสังคม การแสดงดังกล่าวก็เป็นเพียงแสดงละคร หรือแสดงแต่ปาก หาใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นหรือมีทางเกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การตั้งฐานทัพอเมริกาในประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในด้านเศรษฐกิจ คือมีงานใหม่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพและรอบๆฐานทัพ มีการเพิ่มพูนฝีมือด้านต่างๆ และเกิดรูปแบบทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ๆ เพื่อสนองความจำเป็นของฐานทัพ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อลักษณะทางสังคม เช่นการอพยพเคลื่อนย้ายประชากร นิสัยและค่านิยมด้านบริโภค และเสพย์สุขสำราญ รวมไปจนถึงการขยายตัวของปัญหาสังคม เช่นอาชญากรรม โสเภณี และยาเสพติด ตัวอย่างนี้สำแดงให้เห็นถึงพลังการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุที่ส่งอิทธิพลไปถึงลักษณะความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมรองรับฐานทัพอเมริกัน แม้ว่าโครงสร้างของสังคม ประเพณี รวมถึงค่านิยมบางประการจะยังคงรักษารูปแบบและบทบาทของมันอยู่ มันก็จำเป็นต้องหันเหไปตามอิทธิพลทางวัตถุของจักรพรรดินิยมอเมริกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยส่วนรวม ตั้งแต่เริ่มผูกพันกับอเมริกาและญี่ปุ่นมาเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี้เป็นปรากฏการณ์ที่ชี้ชัดว่าระบบค่านิยมและความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเก่าของไทย นับแต่จะพังทลายและเปลี่ยนไปสู่ค่านิยมที่เน้นด้านบริโภคและวิถีชีวิตแบบสังคมนายทุน กล่าวสรุปได้ว่า ภาพจำลองนั้นคือภาพจำลองที่แสดงถึงบทบาทสำคัญของฐานทางวัตถุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น มิใช่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลและชนชั้นที่ควบคุมเศรษฐกิจอยู่มักกล่าวอ้างตลอดมา ตราบใดที่ความขัดแย้งซึ่งนับวันทวียิ่งขึ้นเนื่องจากความเหลื่อมล้ำด้านวัตถุยังไม่เปลี่ยนแปลง คือยังไม่มีการแก้ไขความขัดแย้ง สังคมก็จะไม่มีวันเปลี่ยน เพราะชนชั้นนายทุนผูกขาด และนายทุนนายหน้าย่อมขัดขวางการเปลี่ยนแปลงจนถึงที่สุด

ภาพจำลองของการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

เราจำต้องมีภาพจำลองที่แสดงออกถึงความเป็นจริงของสังคมอย่างแน่นอนแม่นยำ และช่วยให้เราจับลักษณะเบื้องต้นของสังคม ซึ่งหมายถึงการที่สังคมมีพลังเคลื่อนไหวอยู่เสมอ สังคมทุกระบบย่อมสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นทดแทนสิ่งเก่าในขณะที่สังคมนั้นก้าวไปสู่ยุคใหม่สิ่งใหม่ ดังกล่าวนี้หมายถึงปัจจัยหรือเครื่องมือในการผลิตรูปแบบของการบริโภคและสถาบันสังคมทั้งมวลซึ่งผูกมัดสังคมเอาไว้

สัจธรรมขั้นปฐม ซึ่งควบคุมสัมพันธภาพของมนุษย์ในประเทศด้อยพัฒนา หรือโลกที่สามที่เราต้องถือเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์สังคมของเรา คือการขูดรีดที่ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานับสี่ร้อยปีของ

ประเทศตะวันตก ต่อมนุษย์ทั่วโลกในรูปของการพาณิชกรรม อาณานิคม และจักรพรรดินิยม ปัจจุบันนี้เราสามารถจำแนกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงของโลกที่สาม รวมทั้งรูปลักษณะทางสังคมและพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศล้าหลังทั้งหลายนี้ออกจากประวัติศาสตร์อันยาวนานที่โลกที่สามต้องเกี่ยวข้องอยู่กับโลกตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นผลของความขัดแย้งซึ่งประทุขึ้นในกระบวนการที่มีการสร้างเสริมสิ่งใหม่ของสังคมตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดก็คือภาพจำลองที่มาร์กซเรียกว่า รูปแบบผลิตของเอเชีย(Asiatic Model of Production) ซึ่งเป็นลักษณะการผลิตของสังคมเอเชียมานับพันปี รูปแบบผลิตดังกล่าวนี้มีพื้นฐานอยู่ที่วิธีผลิตและกลไกการผลิตที่แน่นอนตายตัว มีองค์กรสังคมที่คงรูป และแทบจะไม่มีความขัดแย้งใดๆ ในหมู่มนุษย์ในสังคม แต่แล้วการแผ่ขยายอิทธิพลตะวันตก คือลัทธิอาณานิคมล่าเมืองขึ้น หรือลัทธิกึ่งอาณานิคมก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้ขาดการต่อเนื่องของกระบวนการผลิต และในด้านความสัมพันธ์ของมนุษย์ กล่าวคือสังคมเอเชียต่างๆถูกผนวกเข้ากับระบบเศรษฐกิจของโลกตะวันตก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงกระทบกระเทือนต่อแบบแผนในการผลิต และการบริโภคที่มีอยู่ตามครรลองของจารีตประเพณี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมเอเชียโดยทั่วไปจึงเนื่องมาจากการถูกบีบบังคับโดยเจ้าอาณานิคมตะวันตกโดยตรง ในช่วงเวลาร้อยปีที่ผ่านมานี้ ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศนายทุนเศรษฐี เพียงกลุ่มน้อย กับประเทศยากจนล้าหลังทั้งในเอเชีย อัฟริกา และลาตินอเมริกา

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทยากจนเพื่อก้าวไปสู่ความเสมอภาค กับสังคมที่ได้เปรียบหรือเอาเปรียบนั้น ยังไม่มีทีท่าว่าจะประสบความสำเร็จในระยะเวลาสามสิบปีที่ผ่านมานี้ ประเทศล้าหลังยากจนทั้งหลายต่างก็พยายามหาช่องทางบรรลุเป้าหมายของตนเช่น โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม การลอกแบบตะวันตก รวมทั้งหารวางรากฐานสังคมนิยมและอื่นๆ กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนั้นมีรากเหง้าอยู่ที่ความขัดแย้งหรือความเหลื่อมล้ำขั้นมูลฐานซึ่งประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ ความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำนี้มีอยู่สองลักษณะคือ

1. การมีฐานะที่ตกเป็นผู้ต้องพึ่งพาอาศัย หรือการเป็นเมืองขึ้นหรือกึ่งเมืองขึ้นของประเทศล้าหลังยากจน ต่อประเทศนายทุนและถูกประเทศนายทุนบังคับควบคุมจักรกลและมาตรฐานการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งแผนขั้นตอนของการพัฒนาซึ่งแท้ที่จริงหมายถึงการควบคุมให้เปลี่ยนหรือไม่ให้เปลี่ยน ให้สอดคล้องกับประเทศนายทุนนั่นเอง

2. ความขัดแย้งอีกประเภทหนึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มและพลังต่างๆภายในสังคมแต่ละสังคม กล่าวคือ การต่อสู้กันระหว่างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพลังดั้งเดิมที่ต้องการรักษาของเก่า และระหว่างกลุ่มหรือชนชั้นที่ควบคุมผลประโยชน์ กับชนชั้นที่ถูกยื้อแย่งผลประโยชน์

ความขัดแย้งและโต้ตอบซึ่งกันและกันระหว่างพลังหรือกลุ่มชนทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศนี้เป็นการสำแดงออกถึงจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้งนั้นปรากฏให้เห็นในทางต่างๆ เช่นปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวของประชากร ความเสื่อมโทรมของสังคม และความวุ่นวายทางการเมือง นอกนั้นยังเห็นได้ในสถาบันสังคม เช่น โครงสร้างและหน้าที่ของครอบครัว ของศาสนา ของหน่วยงานต่างๆก็ถูกกระทบกระเทือน การแก้ความขัดแย้งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ในที่นี้บางทีก็เรียกกันว่า การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวหน้า

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สังคมไทยในปัจจุบันนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญทั้งในขั้นมูลฐาน หรือตามทฤษฎีมาร์กซ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานการผลิต (เช่น) มีการสร้างอุตสาหกรรมการหมุนเวียน และการผูกขาดอย่างมหาศาลในทางการเงินและการค้า และการบีบคั้นต่อระบบเกษตรกรรมด้วยกลไกของตลาด เป็นต้น ทั้งในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมก็มี เช่นอำนาจในทาง การเมือง ทางการศึกษา ปัญหาสังคม การอพยพเคลื่อนย้าย และประเด็นเกี่ยวกับชนส่วนน้อยและอื่นๆ ความขัดแย้งภายในประเทศเป็นสิ่งที่เนื่องมาจากอิทธิพล หรือพลังที่สังคมไทยมีอำนาจต่อรองน้อยมาก

พลังที่บีบคั้นและควบคุมลักษณะและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบันนี้ ได้แก่การที่ระบบกึ่งนายทุน กึ่งศักดินาถูกบังคับโดยให้ยอมรับเอาการพัฒนาแบบอาศัยตางชาติและการแทรกแซงของจักรพรรดินิยมหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม เราจำต้องวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เนื่องมาจากปัจจัยทั้งสองนี้ให้ถูกต้อง และชี้ให้เห็นทางแก้ความขัดแย้งนั้น การวิเคราะห์โดยวิภาษวิธีดังกล่าวนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงกระบวนการที่เป็นพลวัตรแห่งสังคมและช่วยให้เราเห็นความเกี่ยวพันส่วนต่างๆของปรากฏการณ์กับปรากฏการณ์เป็นส่วนรวม

ความช้าเร็วของการเปลี่ยนแปลงและลักษณะมูลฐานของการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยนั้นขึ้นอยู่กับว่าสถาบันและระบบเก่ารวมทั้งจักรพรรดินิยมจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นรุนแรงสักเท่าใด ความขัดแย้งในสังคมไทยแบ่งออกได้สองชนิดดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น คือ 1 ความขัดแย้งที่เกี่ยวกับสังคมและเศรษฐกิจภายใน 2 ความขัดแย้งที่เป็นผลของการที่สังคมไทยมีบทบาทและสถานภาพร่วมอยู่ในระบบเศรษฐกิจสังคม  เช่น  โครงสร้างและหน้าที่ของครอบครัวของศาสนา้ระหว่างประเทศ

1. ความขัดแย้งภายใน คือความขัดแย้ง ก. ระหว่างเกษตรกรรมแบบเลี้ยงตัวเองของชาวนา กับเกษตรกรรมแบบนายทุนที่ทำให้ชาวนาหมดความสามารถพึ่งตัวเอง ข. ระหว่างกรุงกับชนบท หรือกรุงเทพ กับส่วนที่เหลือของประเทศไทย ค. ระหว่างอิทธิพลตะวันตกกับสังคมไทยเดิม ง. ระหว่างสถาบันสังคมประเพณีกับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดหรือแบบทุนนิยม จ.ระหว่างระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินากับมวลชน ฉ. ระหว่างค่า นิยมนายทุนตะวันตกกับค่านิยมนายทุนไทยเดิม พลังขั้นปฐมที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งทั้งหลายนี้คือ การบุกรุกแทรกแซงเข้าไปสู่ระบบสังคมไทยเดิมของเศรษฐกิจระบบตลาด ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบของพฤติกรรมอย่างใหม่ ความอยากได้ของใหม่ การจับจ่ายบริโภคอย่างใหม่ บุคลิกภาพใหม่ และผลตอบแทนอย่างใหม่ ทั้งหมดนี้สร้างความตึงเครียดอย่างมหาศาลแก่โครงสร้างสังคมที่มีอยู่เดิมและแก่ระบบจัดสรรทรัพยากร และผลได้จากสังคมในหมู่คนไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาในประวัติศาสตร์

2. ความขัดแย้งจากพลังภายนอก ความขัดแย้งนี้คือความขัดแย้งระหว่างสังคมไทย และทิศทางในการเปลี่ยนแปลงที่อิทธิพลของตลาดโลกภายนอกเป็นสิ่งกำหนดขึ้น ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา สัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยกับเศรษฐกิจของโลกภายนอกเป็นสัมพันธภาพที่ทำให้ประเทศไทยตกเป็นรอง รูปแบบของการพัฒนาก็คือการพัฒนาแบบถูกบีบบังคับโดยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ แบบนายทุนซึ่งก่อให้เกิดคนงานฝีมือ การขยายของเอกนคร การเติบโตของชนชั้นนายทุนภายในประเทศอื่นๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น การแทรกแซงของต่างชาติเป็นไปตามวิถีทางต่างๆ เริ่มตั้งแต่การหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การให้ความหมายของมาตรฐานทางวัฒนธรรม การเพาะนิสัยฟุ่มเฟือย รวมถึงการชักจูงจิตใจและพฤติกรรมแบบวัตถุนิยม นโยบายร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในสงครามอินโดจีนยังผลให้ทหารต่างด้าวจำนวนมหาศาลหมุนเวียนเข้ามาตั้งอยู่ในประเทศไทย ทำให้ความตึงเครียดในสายใยของสังคมเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

ความสัมพันธ์อย่างเป็นรองที่เรามีอยู่กับจักรพรรดินิยม หรือการควบคุมหรือกำหนดแนวทางของการเปลี่ยนแปลงในด้านพลังการผลิตได้เป็นไปตามแบบที่สอดคล้องกับพลังข้างนอกนั่นเอง เป็นเหตุให้การแก้ข้อขัดแย้งของประชาชนและสังคมไทยเป็นไปได้ยากมาก เพราะตราบเท่าที่มวลประชาชนไทยยังถูกเหนี่ยวรั้งให้สัมพันธ์อยู่กับพลังอันนั้น และตราบเท่าที่นโยบายแทรกแซงทางทหารของสหรัฐอเมริกายังคงอยู่ การแก้ความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประชาชาติไทย จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการทลายสิ่งที่เป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง และความตึงเครียด ซึ่งได้แก่พลังขัดขวางและเป็นปฏิกิริยาต่อความก้าวหน้าและการพัฒนาสังคมดังกล่าวมาแล้ว
หารต่างด้าวจำนวนมหาศาลหมุนเวียนเข้ามาตั้งอยู่ในประเทสไทยลาดโลกภายนอกก่อให

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น