ดร.บุญสนอง
บุณโยทยาน
จากตำราเรียน
'มนุษย์กับสังคม' มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2518 พิมพ์ครั้งที่ 5
ในประวัติศาสตร์ปัญญาการ
(intellectual
history) ของยุโรปเราเห็นได้ว่าเป็นการศึกษาเรื่องมนุษย์กับสังคมแต่ไหนแต่ไรมา
เป็นเรื่องที่นักปราชญ์ชาวยุโรปกระทำกันในแบบที่มนุษย์คือส่วนประกอบหรือสมบัติของรัฐ
(state) การพูดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
ก็คือการพูดถึงรัฐหรือเรื่องของรัฐ ซึ่งมีสัญลักษณ์สำคัญคือ อำนาจอธิปไตย (sovereign
power) หรืออำนาจสูงสุดของรัฐนั่นเอง ในสมัยกรีกราว ๆ ศตวรรษที่ ๕
ก่อนคริสตศักราช Plato เขียนหนังสือชื่อ The Republic
กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมือง
ซึ่งสัตว์สังคมอย่างที่เข้าใจกันในวิชาสังคมศาสตร์ โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้นั้นเอง
ความหมายของคำว่า political animal หรือ social animal
คือการที่มนุษย์ไม่สามารถจะอยู่โดดเดี่ยวโดยลำพังตนเองได้
ทุกหนทุกแห่งมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม
ในยุโรปสมัยศตวรรษที่
๑๘ นักคิดทางการเมืองทั้งหลาย ซึ่งในวิชารัฐศาสตร์เรียกว่า “นักปรัชญารัฐศาสตร์”
เช่น John
Locke, Thomas Hobbes, Jean Jacques Rousseau พากันสร้างแนวความคิดต่าง
ๆ ขึ้นมาเกี่ยวกับการที่มนุษย์มารวมกันอยู่ภายในอาณาเขตหรือดินแดนอันใดอันหนึ่งที่แน่นอน
และมีการปกครองร่วมกัน บางคนก็อธิบายว่า
มนุษย์อยู่ร่วมกันเนื่องมาจากมนุษย์มีสัญญาที่เรียกว่า social contract หรือสัญญาสังคมซึ่งมนุษย์ทำไว้และเป็นสิ่งที่ผูกมัดมนุษย์อยู่ นอกจากนี้
ยังมีการถกเถียงกันมากในด้านที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการมีรัฐ และถึงแม้จะมีบางคนเห็นว่ารัฐเป็นสื่อหรือเครื่องมือ
(means) ที่จะทำให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์ (end) ในตัวของมันเอง
มนุษย์ต่างหากเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะทำให้สำเร็จวัตถุประสงค์คือความมั่นคงและการเจริญเติบโตของรัฐ
เช่น ทางด้านการขยายอาณาเขต เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า ความเข้าใจหรือการอธิบายฐานะของมนุษย์
โดยนักปราชญ์ชาวยุโรปโดยนัยดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความสำคัญที่มนุษย์ให้แก่รัฐ
โดยถือว่ารัฐเป็นองค์ที่มีความสำคัญหรือมีอำนาจสูงสุดต่อมนุษย์
เพราะฉะนั้นมนุษย์ต้องอยู่ (และจึงอยู่) ใต้อาณัติของผู้ปกครองรัฐเสมอ
ความเข้าใจอันนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ความคิดของสังคมตะวันตกเป็นที่แน่นอนว่า
ความคิดอ่านในแบบนี้หรือลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ครอบงำนักคิดเหล่านั้นอยู่
ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้คนในรัฐที่ตัวหรือคณะของตัวปกครองอยู่เห็นว่ามีความสำคัญเหนือทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา
มนุษย์จะต้องยอมให้แก่รัฐ (หรือผู้ปกครองรัฐ) ไม่ว่าจะในเรื่องใด ๆ
บรรยากาศทางสังคมของยุโรปคงเป็นอยู่เช่นที่ว่านี้จนถึงศตวรรษที่ ๑๙ นี้เอง
เมื่ออำนาจของผู้ปกครองรัฐเริ่มเสื่อมลง และขุนนางหรือกฏุมภี (bourgeois) ซึ่งเป็นคนชั้นกลางเจริญเติบโตขึ้นมาแข่งบารมี
และโครงสร้างของสังคมยุโรปตะวันตก ซึ่งมีอยู่แต่เดิมคือแบบ feudal เริ่มสลายตัว นักปราชญ์ยุโรปใต้การปกครองของรัฏฐาธิปัตย์ (sovereign)
กับคำว่า man หรือมนุษย์หรือคนซึ่งมิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงผู้อยู่ใต้อาณัติของผู้ปกครองรัฐอย่างเดียว
นอกนั้นปราชญ์ยุโรปทั้งหลายยังเริ่มมองเห็นความแตกต่างคำว่ารัฐ (state) กับคำว่าสังคม (society) ด้วย
นักปราชญ์ที่ให้ความสนใจต่อมนุษย์ในฐานะที่มนุษย์อยู่ในสังคม
และมิได้มองมนุษย์เฉพาะในด้านที่เขาเป็นคนของรัฐเท่านั้น มีอยู่หลายคนรวมทั้ง Saint-Simon, Auguste
Comte และ Karl Marx คนเหล่านี้เห็นว่า
คำว่ารัฐมันแคบเกินไป
มีความหมายเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการปกครองหรือสภาบันการปกครองหรือการเมืองของมนุษย์เท่านั้น
การที่จะศึกษาหาความเข้าใจเรื่องของมนุษย์จะมองแต่ด้าน
การปกครองและการถูกปกครองของมนุษย์เท่านั้นไม่เป็นการเพียงพอ
บุคคลเหล่านี้จึงมีบทบาทสำคัญในการก่อกำเนิดวิชาสังคมวิทยา Karl Marx กับ Saint-Simon โดยเฉพาะเป็นผู้ที่ให้กำเนิดแขนงของสังคมวิทยา
ที่เรียกว่า political sociology หรือสังคมวิทยาการเมือง (ดูคำอธิบายเกี่ยวกับสภาวการณ์ทางสังคมที่ส่งเสริมให้วิชาสังคมวิทยาถือกำเนิดขึ้นมาในบทที่
๓)
เมื่อโครงสร้างสังคมของยุโรปตะวันตกเปลี่ยนจากแบบ
feudal ไปเป็นแบบทุนนิยมสมัยใหม่ หรือสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (modern
capitalism หรือ modern industrial capitalism) สภาพแวดล้อมทางสังคมทุกด้านก็เปลี่ยนไป ระบบการปกครองโดยสิทธิ์ขาดการไม่เหลียวแลราษฎร
แต่หาความสุขความสำราญส่วนตัวอยู่แต่ในรั้วในวังของกษัตริย์ราชวงศ์ต่าง ๆ
ทำให้ประชาชนชาวยุโรปทั่วไปไม่พอใจ
จนถึงกับมีการปฏิวัติล้มล้างราชบัลลังก์ทำให้ความไม่สงบเกิดขึ้น
และการเปลี่ยนแปลงก็มีขึ้น เช่นในฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ เป็นต้น
ปรากฏการณ์เช่นนี้
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของสังคมหรือสถาบันสังคม
กับสถาบันการเมืองหรือการปกครอง เมื่อสังคมมีสถาบันใหม่
ปัญหาการปกครองก็เป็นปัญหาใหม่ เพราะฉะนั้น
การที่ผู้ปกครองโดยทั่วไปในยุโรปสมัยนั้นจะยังคงใช้วิธีการปกครองแบบเก่าโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
จึงเป็นเหตุนำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม
สถาบันใหม่ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก
หลังจากระบบ feudal
สลายตัวไปแล้วได้แก่สถาบันทางเศรษฐกิจ เช่น
องค์การของการทำงานสมัยใหม่ อันเป็นผลเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาการ (technology)
การขยายตัวทางอุตสาหกรรม (industrialization) ทำให้ชาวยุโรปตื่นตัวในด้านความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
ในทางศาสนา
สถาบันศาสนาก็เสื่อมคลายความศักดิ์สิทธิ์อำนาจที่เคยมีอยู่อย่างมหาศาลก็ลดถอยลงไป
มนุษย์ที่เคยเกรงกลัวพระเจ้าอย่างไม่สมารถจะช่วยตัวเองได้ก็คลายความกลัว หน้าที่ทางสังคมของศาสนาหลายประการ
เช่น การอธิบายเรื่องกำเนิดของโลก เพื่อให้มนุษย์หายว้าวุ่นใจ
ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ก็เข้ามารับหน้าที่แทน
บทบาททางสังคมของพระก็หมดความสำคัญลงไปมาก ครอบครัวซึ่งเคยมีขนาดใหญ่
เป็นศูนย์กลางของการปกครองและเศรษฐกิจ ในสมัย feudal ปัจจุบันก็กลายมาเป็นครอบครัวขนาดเล็กคือ
nuclear family ทำหน้าที่ทางสังคมและแบบกับที่เคยทำมา
ในสภาวการณ์ทางสังคมใหม่
สถาบันสังคมหรือโครงสร้างสังคมใหม่และคุณค่าสังคมใหม่
สถาบันการเมืองการปกครองของยุโรปก็ต้องเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน
การปกครองระบอบประชาธิปไตย (แบบที่ราษฎรเลือกผู้แทนเข้าสภา) และระบอบรัฐธรรมนูญ
ก็เจริญงอกงามขึ้นเป็นการวพัฒนาการทางสถาบันการเมืองและการปกครองของสังคมตะวันตก
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงของสถาบันสังคมอื่น ๆ
ในขณะที่สถาบันอื่นของสังคมโดยส่วนรวม
มีอิทธิพลในด้านการกำหนดรูปแบบและหน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
สถาบันการเมืองการปกครองก็มีบทบาทสำคัญต่อสถาบันอื่นในสังคมเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
เรื่องเกี่ยวกับอำนาจ (power)
ซึ่งเป็นเนื้อหาสำคัญในการศึกษาทางรัฐศาสตร์และสังคมวิทยาการเมือง
เราสนใจเรื่องอำนาจในด้านที่
“อำนาจเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถบังคับบัญชาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมให้เชื่อฟังตัวหรือหมู่คณะของตัวและมนุษย์ผู้มีอำนาจสามารถตัดสินหรือกระทำการใด
ๆ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนถึงมนุษย์อื่นหรือกลุ่มอื่นในทางใดทางหนึ่ง” ในสังคมใด ๆ
เมื่อสถาบันอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ สถาบันอื่นเช่นสถาบันทรัพย์สิน
การแบ่งงาน การจัดลำดับสูงต่ำทางสังคม ฯลฯ ก็จะมีส่วนเปลี่ยนแปลงไปด้วย
อำนาจมีอยู่ในหลายรูปหลายนามและหลายลักษณะ
เมื่อศึกษาสถาบันครอบครัวเราเห็นแล้วว่าบิดามารดาหรือหัวหน้าครอบครัวมีอำนาจเหนือบุตร
ชนบางเผ่าประกอบขึ้นด้วยคนครอบครัวเดียว หัวหน้าครอบครัวจึงเป็นหัวหน้าเผ่าด้วย
ในสถาบันการณ์เช่นนี้อำนาจของหัวหน้าครอบครัวก็ยิ่งมีมากขึ้นไปอีกในทางเศรษฐกิจ
บุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินก็มีอำนาจเหนือบุคคลอื่นซึ่งไม่มีสิทธิหรือเป็นเจ้าของ
เป็นต้น
คำว่า
“อำนาจ”
ในความหมายทางสังคมวิทยาจึงมิจำเป็นต้องเป็นอำนาจของรัฐหรือรัฐาธิปัตย์เท่านั้น
ในการศึกษามนุษย์กับสังคม สถาบันการเมืองการปกครอง
จึงเป็นเพียงสถาบันที่เป็นที่มาของอำนาจในสังคมสถาบันหนึ่งในหลายสถาบันเท่านั้น
อำนาจอาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่กับการใช้กำลังทางกายภาพ (physical force) หรืออาจจะมีอยู่ในความเชื่อความคิด หรืออุดมการณ์ (ideologies) ใด ๆ ก็ได้ ความเชื่อ ความคิด
หรืออุดมการณ์แต่ละอย่างบางทีก็ทำให้อำนาจบางอย่างแข็งแกร่งขึ้น
แต่บางทีก็กลับทำให้อำนาจลดลงหรืออ่อนกำลังลงก็มี
คำว่า
“อำนาจ” ที่ให้คำจำกัดความไว้ข้างบนนั้นหมายถึงคำว่า power ในภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นอำนาจที่ทำให้คนที่ครอบครองมันอยู่บังคับให้คนอื่นหรือคนกลุ่มอื่นเชื่อฟังได้
นอกจากนั้นยังสามารถปฏิบัติหรือตัดสินอะไรที่ทำให้มีผลกระทบกระเทือน
ความเป็นอยู่ก็ตาม ต่างจาก power อำนาจประเภทที่เรียกว่า authority
หมายถึงอำนาจทางการปกครองหรืออำนาจของรัฐที่มีอยู่โดยชอบธรรม
กล่าวคือ เป็นอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย
และเป็นอำนาจที่รัฐหรือผู้ปกครองของรัฐผูกขาดอยู่ องค์มติสำคัญซึ่งไม่ว่าจะเกี่ยวด้วยเรื่องอะไรก็ตาม
ไม่จะเป็นเรื่องร้ายเรื่องดี ยุติธรรมหรือไม่ยุตธรรมในรัฐ หรือคณะผู้ปกครองรัฐ
อยู่ในตำแหน่งของเขาโดยที่สมาชิกในสังคมมิได้ท้วงติงหรือคัดค้าน (sanction)
การดำรงตำแหน่งของเขาก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรม (legitimate) และเขาก็มี authority ที่จะดำเนินการปกครองโดยตำแหน่งที่เขาครองอยู่
authority เป็นสิ่งที่มีที่มาจาก power (หรือสิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถบังคับบัญชาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน....) แต่ดังกล่าวแล้ว power อาจจะไม่มีอยู่ในลักษณะกำลังทางกายภาพ
(physical force) เสมอไปก็ได้ บางที power อาจจะมีอยู่ใน ความเชื่อ ความคิด หรืออุดมการณ์ใด ๆ ก็ได้
ในแต่ละสังคม
การที่บุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ ครอบครองอำนาจปกครองและใช้อำนาจปกครอง
เขาครอบครองอำนาจ และใช้อำนาจดังกล่าวตามสิทธิที่เขามีอยู่โดยชอบธรรม (Legitimate right) หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเขามีสิทธิโดยชอบธรรมก็คือการที่สมาชิกในสังคมยอมรับให้เขาครอบครองอำนาจ
และใช้อำนาจอยู่ โดยไม่คัดค้านท้วงติง (sanction) เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกในสังคมคัดค้านท้วงติง
ก็แสดงว่าความชอบธรรม (legitimacy) ของบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะทำการปกครองเริ่มคลอนแคลนแล้ว
ในที่สุดเมื่อสมาชิกในสังคมไม่ยอมให้เขาอยู่ในตำแหน่ง
และใช้อำนาจปกครองอีกต่อไปก็แสดงว่าความชอบธรรมที่เขาจะทำการปกครองก็หมดไปแล้วโดยสิ้นเชิง
ในแต่ละสังคม
แหล่งหรือที่มาของความชอบธรรม (source of legitimacy) ที่จะทำให้บุคคลหรือคณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งทางการปกครอง
และใช้อำนาจปกครองได้มีอยู่ต่างกัน ในสังคมประชาธิปไตยตะวันตก
ความชอบธรรมอันนี้มาจากคะแนนเสียงที่ประชาชนแสดงออกในการเลือกตั้ง
ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจึงได้รับสิทธิโดยชอบธรรมที่จะครอบครองสถาบันอำนาจในสังคม
แต่ในสังคมอย่างสังคมไทยเรา
ความชอบธรรมในการที่บุคคลหรือคณะบุคคลจะมีสิทธิครอบครองตำแหน่งการปกครอง
และใช้อำนาจปกครอง มิได้มาจากการออกเสียงเลือกตั้งโดยราษฎรส่วนใหญ่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่เข้าครอบครองตำแหน่งและใช้อำนาจปกครอง
จึงเป็นบุคคลที่มีสิทธิชอบธรรม (legitimate right) ที่จะปกครองตราบเท่าที่สังคมไทยหรือสมาชิกของสังคมไทยมิได้แทรกแซง
(sanction) การกระทำของเขา
ในสังคมบางสังคม
เช่น ญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตก ในสมัย feudal อำนาจปกครอง (authority)
เป็นอำนาจที่วางอยู่บนพื้นฐานของ power และเป็น
power ที่เนื่องมาจากกำลังกายภาพ (physical หรือ naked force) ได้แก่
กำลังทางทหารของบุคคลหรือคณะบุคคล กลุ่มต่าง ๆ โดยตรง ในสังคมดังกล่าวนี้
ใครก็ตามที่มีความสามารถในการควบคุมกำลังทางกายภาพ เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีสิทธิชอบธรรมในการปกครองและใช้อำนาจปกครอง
จะเห็นได้ว่า ในประวัติสาสตร์ของญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตก
ผู้มีสิทธิชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองเหนือคนส่วนใหญ่ มิได้เป็นจักรพรรดิ
หรือพรเจ้าแผ่นดินเสมอไป ถึงแม้จักรพรรดิ (อย่างในญี่ปุ่น)
และกษัตริย์ (อย่างในอังกฤษ) จะคงอยู่ในตำแหน่งหรือครองราชย์ และ ทำการปกครอง (rule) เสมอไป ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าในบางสมัย
จักรพรรดิหรือกษัตริย์ขาดความสามารถในการควบคุมกำลังทหารและการปกครอง
จักรพรรดิหรือกษัตริย์จึงยังคงอยู่ในตำแหน่งหรือราชบัลลังก์แต่เพียงในนามเท่านั้นเอง
(nominal ruler) ส่วนอำนาจปกครอง (authority) ทีแท้จริงตกไปเป็นของคนอื่นหรือคณะอื่น
ตำแหน่งของจักรพรรดิหรือกษัตริย์ในระบบสังคมเช่นนี้
จึงเป็นเพียงตำแหน่งของประมุขที่มีไว้เป็นสัญลักษณ์เท่านั้นเอง (titular
head) มิได้มีบทบาททางอำนาจ (exercise power) แต่อย่างใด
ในสมัยกลางของญี่ปุ่นแทบจะตลอดสมัย
จักรพรรดิญี่ปุ่นถูกแย่งอำนาจโดยขุนนางเจ้าของที่ดินที่ตั้งตัวเองเป็นผู้ปกครองแผ่นดินโดยแท้จริง
(defacto
ruler) ทำหน้าที่แทนจักรพรรดิและครองตำแหน่งโชกุน (Shogun) บางครั้งโชกุนถึงกับบังคับให้จักรพรรดิอุปสมบทในศาสนาพุทธเสียเลยก็มี
แล้วแต่งตั้งทายาทของจักรพรรดิที่มีอายุเพียงไม่กี่ขวบเป็นจักรพรรดิแทน
หลังจากนั้นโชกุนก็ตั้งตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ทำหน้าที่อย่างเดียวกับที่ตัวโชกุนเองคือจักรพรรดินั่นเอง
พฤติการณ์ทางการเมืองแบบนี้ เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงลักษณะของสถาบันอำนาจของญี่ปุ่น
ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่ กำลังทางกายภาพที่แท้จริง ใครดีใครได้
จะเห็นได้ว่าตำแหน่งโชกุนเป็นตำแหน่งที่ขุนนางยื้อแย่งกันอยู่ตลอดเวลา
เป็นตำแหน่งที่เปลี่ยนตัวผู้ครอบครองตามแต่ว่าอำนาจในทางทหารของขุนนางตระกูลไหนจะเหนือกว่าผู้อื่นและเหนือกว่าจักรพรรดิ
ในสังคมอีกประเทศหนึ่งอย่างเช่น
จีนและอินเดีย
สถาบันอำนาจและองค์มติเกี่ยวกับอำนาจมีลักษณะและหน้าที่ทางสังคมจากสถาบันเดียวกันในสังคมอย่างญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตกที่อธิบายไว้แล้วข้างต้น
ในประวัติศาสตร์อินเดีย เช่นเดียวกับจีน การปกครองเป็นไปตามหลักที่ว่า ต้องมีผู้นำในสังคมที่รับทราบการปกครอง
การตัดสินของผู้นำหรือคนชั้นผู้นำถือว่าเป็นธรรม ถูกต้อง
และคนอื่นในสังคมซึ่งเป็นผู้ตามหรือผู้ถูกปกครอง
จะต้องยอมรับและถือเป็นเรื่องยุติชนชั้นที่เป็นผู้นำเป็นผู้ที่มีสิทธิชอบธรรม (legitimacy) ที่จะปกครอง เพราะเขาเป็นผู้รู้ดีว่าเข้าใจดีกว่า
นอกจากนั้นเขายังอยู่ในตำแหน่งทางศีลธรรม (และสังคม) ที่เหนือกว่าคนทั่วไปในสังคม
ตำแหน่งคนชั้นผู้นำ
ในสังคมอย่างจีนและอินเดีย
ชนชั้นผู้ตามเป็นผู้ที่สังคมมิได้กำหนดหรือคาดหมายให้ดำเนินบทบาทในทางการปกครอง
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นผู้ที่สังคมกำหนดให้เป็นผู้ที่ต้องอยู่ใต้การปกครองได้
หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นผู้ปกครอง เป็นคนที่ไม่สามารถจะเป็นผู้นำหรือผู้ปกครองได้
เนื่องจากขาดคุณสมบัติทางศีลธรรม (และทางสังคม) ที่จะทำการปกครอง องค์มติและสถาบันลักษณะนี้
เป็นสิ่งที่คนทั่วไปในสังคมอย่างจีนและอินเดียยอมรับและถือว่าเป็นสิ่งที่จะต้องเป็นไป
ในสังคมคนชั้นผู้นำในจีนได้แก่จักรพรรดิและขุนนางข้าราชการบริพารของจักรพรรดิซึ่งเป็นปราชญ์
ในลัทธิขงจื้อและเป็นเจ้าของที่ดิน
และในสมัยหลังได้แก่สมาชิกพรรคจีนคณะชาติและพรรคคอมมิวนิสต์
ในอินเดียคนชั้นผู้นำคือ คนในวรรณะ พราหมณ์ และกษัตริย์ หรือพระ และนักรบ
คนชั้นผู้นำในสังคมเหล่านี้ต่างก็รู้และเข้าใจบทบาททางการปกครองของตัว
และรับความรับผิดชอบในการบริหารอำนาจปกครองและการเป็นผู้นำในสังคมและขณะเดียวกัน
ก็คาดหมายให้คนอื่นยอมรับการปกครองของตน คนชั้นผู้ตามหรือผู้อยู่ใต้การปกครอง
ทั้งในจีนและอินเดียได้แก่ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม
ในสังคมอย่างจีนและอินเดีย
เนื่องจากสถาบันการปกครองมีอยู่ ในแบบที่กำหนดให้คนพวกหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง
เป็นผู้ปกครองและใช้อำนาจปกครองและที่เหลือต้องเชื่อฟังและอยู่ใต้การปกครอง
โครงสร้างของสังคมประเภทนี้จึงมีความคงทนถาวร (stability) เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นการเปลี่ยนในทางตัวบุคคล
หรือทางรูป (from) และไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของสถาบันสังคมหรือหน้าที่สังคม
(function) หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (คือเปลี่ยนตัวนักการเมืองหรือลัทธิการเมือง) และไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
(social change) ก็ได้ ปัจจัยสำคัญในด้านการปกครอง
ที่รักษาโครงสร้างของสังคมอย่างอินเดียและจีนให้คงอยู่ในสภาพเดิม ควรและต้องอยู่ในการปกครอง
เพราะตัวเองและกลุ่มของตัวเองด้วยกว่ากลุ่มผู้นำทั้งทางศีลธรรมและทางสังคม
เพราะตัวเองและกลุ่มของตัวเองด้อยกว่ากลุ่มผู้นำทั้งทางศีลธรรมและทางสังคม
การมีคุณค่าทางสังคมด้านที่เกี่ยวกับอำนาจ ในลักษณะนี้ มีผลในทางสังคมอย่างสำคัญ
คือเป็นยอมรับในทางสังคมว่าคนชั้นที่ถือว่าเป็นชั้นผู้นำ มีสิทธิชอบธรรม (legitimacy)
ที่จะครอบครองอำนาจปกครอง (authority) และทำการปกครอง
(rule) แม้ว่าในบางครั้งการปกครองจะเป็นไปด้วยความอ่อนแอไร้สมรรถภาพ
และคนในสังคมโดยทั่วไปต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบุคคลหรือคณะบุคคลชุดใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินบทบาททางการใช้อำนาจต่อไปก็ต้องเป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มหรือชั้นในสังคมที่ถือกันว่าเป็น
ผู้นำ หรือ ผู้มีสิทธิชอบธรรม (legitimate right) ที่จะปกครองนั่นเอง
จึงเห็นได้ชัดเจนว่า
อำนาจปกครอง หรือ authority
ในสังคมอย่างจีนและอินเดียมีที่มาจาก power เช่นเดียวกับ
authority ในสังคมอย่างญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตกแต่ลักษณะของ power
ที่ให้กำเนิดแก่ authority ในจีน
และอินเดียแตกต่างจากลักษณะของ power ที่ให้กำเนิดแก่ authority
ในญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตกอย่างสำคัญ
ในญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตก
ผู้ที่จะมีสิทธิชอบธรรมในการครอบครอง authority ได้ต้องเป็นผู้ที่มีกำลังทางกายภาพ
ได้แก่ กำลังทหารและกำลังในการปกครองเหนือผู้อื่นหรือคณะอื่น
ใครก็ตามชั้นใดก็ตามในสังคม
ถ้ามีกำลังทหารแข็งแกร่งย่อมมีสิทธิชอบธรรมที่จะทำการปกครองแทนรัฐาธิปัตย์ได้ทั้งนั้น
(power จึงอยู่ที่ความแข็งแกร่งทางภายภาพโดยตรง)
ตรงกันข้ามกับในญี่ปุ่น
และยุโรปตะวันตก authority
ในสังคมอย่างอินเดียและจีน มิได้ขึ้นอยู่กับกำลังทางกายภาพ
หรือความสามารถในการควบคุมการปกครองเป็นสำคัญ ทั้งนี้เนื่องจาก
ในสังคมอย่างจีนและอินเดีย ผู้มีสิทธิชอบธรรมที่จะปกครองคนในสังคมได้
เป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น คนกลุ่มนี้ต้องมีลักษณะเป็น “ผู้นำในสังคม” ซึ่งตามข้อเท็จจริงก็เป็นแต่เพียงคนส่วนน้อยในสังคมเท่านั้น
สังคมมนุษย์ทุกสังคมมีจุดหมาย
(goals)
ที่จะต้องดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป
จุดหมายของสังคมมีอยู่หลายอย่าง ตัวอย่างเช่นการผลิตการอบรมสมาชิกใหม่
และการควบคุมสมาชิกของสังคมให้อยู่ในระเบียบตามกฎเกณฑ์ของสังคมเป็นต้น
การที่ระบบสังคมแต่ละระบบจะดำรงตัวอยู่ให้อยู่ได้และดำเนินต่อไป ระบบสังคมนั้น ๆ
จะต้องปฏิบัติการหรือดำเนินประพฤติการณ์เพื่อบรรลุจุดหมายของสังคมเช่นสถาบันครอบครัวและการสมรสเป็นส่วนประกอบที่ทำงานด้านการบรรลุสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม
สถาบันการปกครองเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือปทัสถาน เป็นต้น
การเศรษฐกิจ
ซึ่งหมายถึงการผลิต การแลกเปลี่ยน และการบริโภคทรัพยากรซึ่งมีอยู่จำกัดในสังคม
ก็เป็นจุดหมายของสังคมอีกอย่างหนึ่ง
ในแต่ละสังคมกิจการเหล่านี้จะต้องดำเนินไปในแบบที่ทำให้สังคมในฐานะที่เป็นหน่วยร่วม
(Collective
unit) คงสภาพอยู่ได้โดยสมาชิกมีการร่วมมือกันและไม่ขัดแย้งกัน
แต่ว่าในแต่ละสังคม
วิธีการของการผลิต การแลกเปลี่ยน
และการบริโภคทรัพยากรซึ่งทำให้ความเป็นหน่วยร่วมของสังคมคงอยู่นี้ไม่เหมือนกัน
ถึงแม้ว่าหน่วยร่วมของสังคมจะคงอยู่ได้ก็เพราะสมาชิกมีการร่วมมือกันในประมาณที่เพียงพอ
แต่ความร่วมมือก็ไม่จำเป็นต้องเป็นการร่วมมือในแบบของความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมเสมอไป
ในสังคมบางสังคมการร่วมมือเป็นไปในแบบที่สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมมิได้มีส่วนมีเสียงในการควบคุมการผลิต
การแลกเปลี่ยน และการบริโภคทรัพยากร เพราะการควบคุมดังกล่าวนี้ตกอยู่ในอำนาจของคนเพียงส่วนน้อย
คนส่วนน้อยจึงอยู่ในฐานะได้เปรียบคนส่วนใหญ่
แต่ในสังคมเช่นนี้การร่วมมือระหว่างคนส่วนน้อยกับคนส่วนใหญ่ซึ่งไม่เสมอภาคกันก็มีอยู่ในปริมาณเพียงพอหรือเท่า
ๆ กับการร่วมมือของคนในสังคมอื่นหรือแบบอื่นซึ่งมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันในสังคมน้อยกว่า
เพระถ้าปราศจากการร่วมมือกันในระดับที่เพียงพอ ระบบสังคมก็จะอยู่ไม่ได้ สถาบันต่าง
ๆ จะคลอนแคลนและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็จะมีขึ้น
กล่าวโดยสรุปก็คือ
ในแต่ละสังคมของมนุษย์ เศรษฐกิจเป็นการซึ่งมีลักษณะเป็นระบบการ หรือส่วนประกอบของสังคมที่ทำหน้าที่ทางสังคม
เพื่อให้สังคมบรรลุเป้าหมายอันหนึ่ง แต่วิธีการในการดำเนินพฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
เพื่อบรรลุเป้าหมายของสังคมแต่ละสังคมไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ในบางสังคมระบบเศรษฐกิจทำให้มีความเสมอภาคระหว่างคนส่วนใหญ่ในสังคม
แต่ในบางสังคมก็ทำให้มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างคนส่วนน้อย กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
กับคนส่วนใหญ่ทั้งหมด
Norman
Jacobs ศึกษาระบบเศรษฐกิจและการปกครองของสังคมเอเชีย
สังคมหนึ่งคืออิหร่าน และอธิบายปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจในสังคมนั้น
ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการศึกษาที่น่าสนใจอย่างยิ่งจึงขอแนะนำงานของ Norman
Jacobs ชิ้นหนึ่ง
โดยเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับสังคมไทย Jacobs อธิบายว่า
-
ระบบเศรษฐกิจของอิหร่านกับของตะวันตกต่างกัน
และเป็นการต่างกันในด้านชนิด (kind) ไม่ใช่แต่เพียงระดับ (degree)
ของการพัฒนาเท่านั้น
-
ระบบเศรษฐกิจของอิหร่านเป็นแบบที่ไม่พัฒนา
และการพัฒนาเศรษฐกิจจะมีขึ้นไม่ได้ตราบเท่าที่ระบบเศรษฐกิจของอิหร่านยังคงเป็นอยู่เช่นนี้
-
ระบบเศรษฐกิจของอิหร่านเป็นระบบที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจทางการเมืองของซาห์
(Shah)
-
ซาห์ (และคนในรัฐบาลของซาห์
รวมทั้งข้าราชการของซาห์) ได้รับการยอมรับประชาชนว่าเป็นผู้นำที่ชอบธรรม
(legitimate leaders)
-
ประชาชนเชื่อว่าซาห์และรัฐบาลของซาห์มีเจตนาจริงจังในการพยายามทำให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ
-
ซาห์และรัฐบาลของซาห์บอกประชาชนอยู่ตลอดเวลาว่า
ซาห์กำลังพัฒนาเศรษฐกิจ
-
แต่อิหร่านก็มิได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ
-
สาเหตุสำคัญคือ
ซาห์มิได้ทำอะไรก็ตามเพื่อผลในการพัฒนาเศรษฐกิจ
-
ซาห์และรัฐบาลของซาห์
อ้างว่าที่ไม่พัฒนาเนื่องจากต่างประเทศให้ความช่วยเหลือไม่พอ ช่วยไม่ถูกวิธี
ช่วยโดยไม่ให้โอกาสซาห์และรัฐบาลของซาห์ จัดการเงินช่วยเหลือเอง
หรือถ้ามิฉะนั้นก็ไม่ยอมช่วย
-
ประชาชนเห็นด้วยกับซาห์และรัฐบาลของซาห์
พากันโจมตีต่างประเทศ
-
แต่การจัดสรรงบประมาณ
การใช้จ่ายเงินกู้เงินช่วยเหลือต่างประเทศของซาห์หรือรัฐบาลของซาห์
เป็นไปตามแบบที่ต้องการเอาหน้า
เช่นสร้างเขื่อนที่มักจะไม่ได้ประโยชน์อะไรต่อเศรษฐกิจ สร้างหน่วยราชการ
สร้างโรงแรม สร้างอนุสาวรีย์ สั่งสินค้าฟุ่มเฟือยทุกประเทศเข้ามาในอิหร่านเพื่อจะได้อวดชาวต่างประเทศว่าอิหร่านมีการพัฒนา
-
แต่ว่าอิหร่านก็ไม่พัฒนาและจะไม่พัฒนา
ถ้าระบบเศรษฐกิจและสังคมและวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจยังเป็นไปในรูปที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้
ซึ่ง Norman
Jacobs เรียกว่าการพัฒนาอนุสาวรีย์ (monumental development)
เห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจของสังคมเอเชียอย่างอิหร่านเป็นระบบที่เกี่ยวพันอยู่โดยตรงกับการปกครอง
(โดยคนส่วนน้อยและเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย) ของอิหร่าน
เพราะฉะนั้นพฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นพฤติการณ์ที่เนื่องมาจากการตัดสินนโยบายและผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย
การพัฒนาเศรษฐกิจ (หรือไม่พัฒนาเศรษฐกิจ) ในสังคมเอเชียเช่นอิหร่านจึงเนื่องมาจากผลได้ผลเสียของคณะบุคคลที่ควบคุม authority
อยู่โดยตรง Jacobs อธิบายด้วยว่า authority
ในสังคมเอเชียอย่างอิหร่านมีที่มาจาก moral power (อำนาจทางศีลธรรม)มากกว่า physical power (อำนาจทางกายภาพ) เพราะชาวอิหร่านมีคุณค่าทางสังคมและศาสนาอยู่ว่า
ซาห์และราชการของซาห์เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิชอบธรรม (legitimacy) ที่จะควบคุม authority และทำการปกครองสังคมอิหร่าน
นอกนั้นจะต้องเป็นผู้อยู่ใต้อาณัติการปกครองและเชื่อฟัง
เกี่ยวกับสังคมไทยเรา
มีการศึกษาของนักรัฐศาสตร์สองคนที่อธิบายว่าตลอดประวัติศาสตร์ไทยโครงสร้างของสังคมไทยมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสถาบันการปกครอง
(polity)
และรากฐานทางประวัติศาสตร์อันนี้
เป็นที่มาของสถานการณ์ทางสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ทั้งสองนี้ คือ William
Siffin และ Fred Riggs ต่างมีความสนใจเป็นพิเศษต่อระบบราชการไทย
เขาอธิบายในแนวเดียวกันว่า
ระบบข้าราชการไทยเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเสมอมา
การเมืองในที่นี้หมายถึงพฤติการณ์ในด้านการควบคุมอำนาจปกครอง (political
action) ซึ่ง Stiffin และ Riggs อธิบายว่า หมายถึงอำนาจที่ควบคุมคนไทยมาตลอดเวลา
และการควบคุมกระทำโดยคนกลุ่มหนึ่งในสังคม คือข้าราชการ
งานของนักรัฐศาสตร์ทั้งสองคนนี้
เน้นหนักในด้านบทบาทของสถาบันการเมืองการปกครองที่มีต่อความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทย
และชี้ให้เห็นความใกล้ชิดอย่างมากระหว่างการเมืองการปกครองกับชีวิตในสังคมของคนไทย
กิจการหรือพฤติการณ์ทุกประเภท (รวมทั้งเศรษฐกิจ) จึงขึ้นอยู่กับการปกครอง (หรือผู้ปกครอง) ทั้งสิ้น
ถึงแม้การศึกษาของสังคมไทยของ
Fred
Riggs และ William Stiffin จะเป็นการศึกษาในด้านการเมืองการปกครองแต่เพียงด้านเดียวหรือสถาบันเดียว
งานทั้งสองชิ้นนี้ก็ให้ศึกษาในด้านการเมืองการปกครองแต่เพียงด้านเดียวหรือสถาบันเดียว
งานทั้งสองชิ้นนี้ก็ให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยโดยส่วนรวม
(macroscopic view) และชี้ให้เห็นถึงบทบาทของสถาบัน
อำนาจในโครงสร้างของสังคมโดยอย่างเด่นชัด
การจัดการระดับทางสังคม
องค์มติ
social
stratification เป็นองค์มติสำคัญในวิชาสังคมวิทยาอีกอันหนึ่งสังคมวิทยายืมคำว่า
stratification มาจากวิชาธรณีวิทยาซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาลักษณะปฐพี
(soil) และวัดระดับหรือชั้นปฐพี (layers) ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ในสังคมมนุษย์ปรากฏการณ์ของการแบ่งกันในทางสังคม
เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะสากล มนุษย์ในทุกสังคมมีการวัด (rate) และกำหนดขั้นหรือระดับ (rank) กันในทางสังคมว่าใครเป็นพวกเดียวกับตัว
ใครไม่ใช่ ใครดีกว่าตัวใครด้อยกว่าตัว ใครสูงกว่าตัวและใครต่ำกว่าตัว
การแบ่งทางสังคมในระหว่างมนุษย์ดังกล่าวนี้
ทำให้สังคมแต่ละสังคมมีระบบการจัดระดับทางสังคม (social
stratification system) ซึ่งอุปมัยได้กับขั้นหรือระดับของปฐพี
ในวิชาธรณีวิทยานักธรณีวิทยารู้ว่า
ในแต่ละแห่งหรือแต่ละบริเวณทางภูมิศาสตร์มีลักษณะของขั้นหรือระดับ (layers หรือ strata) รวมทั้งจำนวนขั้นและปริมาณของปฐพีในแต่ละขั้นไม่เหมือนกัน
ปรากฏการณ์เกี่ยวกับการจัดระดับหรือขั้นทางสังคมก็คล้ายคลึงกัน
ในสังคมแต่ละแห่งหรือแต่ละประเภทมนุษย์มีการแบ่งกันทางสังคมโดยวิธีการและกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน
กฎเกณฑ์ (criteria) ที่มนุษย์ในแต่ละสังคมใช้ในการแข่งกันเป็นสิ่งที่เนื่องมาจากลักษณะของสถาบันทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมนั้น
ๆ
ด้วยเหตุนี้ระบบการจัดระดับสังคมจึงเป็นปรากฏการณ์สังคมที่นักสังคมวิทยาบางคนเรียกว่า
institution derivative หรือ structural derivative กล่าวคือ เป็นปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากการที่สังคมแต่ละสังคมมีสถาบันหรือโครงสร้างลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือแบบใดแบบหนึ่ง
นักสังคมวิทยาสนใจและศึกษาการจัดระดับสังคม
เพราะความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดระดับสังคมแต่ละระบบ
ช่วยให้นักสังคมวิทยาหาความเข้าใจต่อลักษณะความสัมพันธ์ของมนุษย์ในแต่ละสังคมได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าความรู้ในด้านนี้เป็นเครื่องมือ (tool) ในการศึกษาทางสังคมวิทยาที่ดีอย่างหนึ่ง หน่วย (unit) ที่ใช้ในการศึกษาระบบ
การจัดระดับสังคมได้แก่ครอบครัว
เพราะครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมหน่วยแรกที่กำหนดคุณค่าขั้นมูลฐานให้แก่มนุษย์
และมักจะเป็นหน่วยที่กำหนดแบบแผนในการดำเนินชีวิต (style of life) และโอกาสในชีวิต
(life chances) ให้แก่มนุษย์แต่ละคนด้วย
แบบแผนในการดำเนินชีวิตและโอกาสในชีวิตดังกล่าวนี้ เป็นคุณลักษณะที่ Max
Weber กล่าวว่าเป็นเครื่องมือแสดงออกถึงชั้นในทางสังคม (social
class) ของมนุษย์
ในระบบการจัดระดับระบบบางระบบ
เช่น ระบบ caste
ในอินเดียครอบครัวเป็นสิ่งที่กำหนดสถานภาพของสังคม (social
status) ของมนุษย์ตั้งแต่กำเนิน
สถานภาพที่บุคคลได้รับมาแต่กำเนิดเพราะเป็นสมาชิกในครอบครัวหนึ่งนี้เรียกว่า ascribed
statusในระบบ caste ของอินเดีย (ซึ่งจะอธิบายในย่อหน้าถัดไปข้างล่าง) คนที่เกิดมาในครอบครัวที่เป็นสมาชิกของชาติวรรณะไหนก็จะได้ตำแหน่งและฐานะเป็นคนชาติวรรณะนั้น
เช่นเกิดมาเป็นลูกพราหมณ์ก็ได้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เกิดมาเป็นลูกกษัตริย์ ลูกแพศย์
ลูกศูทร ก็เป็นกษัตริย์หรือแพศย์ หรือศูทรตามแต่กรณี ตรงกันข้ามกับสถานภาพแบบ ascribed
status ในระบบการจัดระดับสังคม
บุคคลอาจจะได้รับฐานะทางสังคมด้วยความสามารถหรือโอกาสที่ตัวเองหามาได้
เช่นคนเกิดมาเป็นลูกไพร่อาจจะกลายเป็นผู้ดี (ไม่ว่าจะสี่เท้าสีไหน)
คนเกิดมาเป็นลูกกรรมกรอาจกลายเป็นรัฐมนตรี และคนเกิดมาเป็นลูกขุนนางแล้วกลายเป็นมหาโจร
เป็นต้น
สถานภาพที่แต่ละคนหามาได้เองโดยมิใช่เป็นเพราะเขาเป็นสมาชิกของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง
ดังนี้เรียกว่า achieved status สถานภาพทางสังคมประเภทนี้
ในบางระบบการจัดระดับสังคมบุคคลมีโอกาส (chance) ที่จะหาได้อย่างมาก
เช่นในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น คนอย่าง Abraham Lincoln ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนและไม่มีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียนก็สามารถสร้างฐานะทางสังคมของตัวเองโดยการได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของสหรัฐอเมริกาเป็นต้น
แต่ในบางระบบการจัดระดับสังคมโอกาสดังกล่าวนี้ของบุคคล (หรือครอบครัวของเขา)
มีอยู่น้อยกว่า ระบบ caste ในอินเดียเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด
ระบบ
caste ในอินเดียคือสิ่งที่เข้าใจกันตามทางประเพณีว่า “วรรณะ”
ซึ่งประกอบด้วยวรรณะใหญ่หรือวรรณะหลักสี่วรรณะ มี พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และ ศูทร
และมีวรรณะพิเศษอีกวรรณะหนึ่งคือจัณฑาล
อันหมายถึงบุคคลที่เกิดจากการสมรสระหว่างคนที่มีฐานะต่างกันวรรณะใดวรรณะหนึ่งทั้งสี่ข้างต้น
ระบบการจัดระดับสังคมดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในคัมภีร์ ภัควคีตา
ของศาสนาฮินดู แต่ถึงแม้คำอธิบายเรื่องวรรณะจะมีอยู่อย่างถี่ถ้วนและแน่นอน ทั้งยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายในอินเดียมาเป็นเวลานานนับพัน
ๆ ปี ตามข้อเท็จจริง การแบ่งกันทางสังคมที่มีอยู่จริง ๆ
ในอินเดียหาได้เป็นไปตามหลักการอันนี้ไม่
ทั้งนี้เป็นเพราะวรรณะเป็นสิ่งที่มีอยู่เพียงบางท้องถิ่นเท่านั้น และยิ่งกว่านั้น
คนในวรรณะทั้งสี่ยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อพิจารณาโดยส่วนราม
ในทางสังคมวิทยา
การศึกษาระบบ caste
ในอินเดียจึงมิได้ศึกษาเฉพาะระบบวรรณะแต่ศึกษาวิธีการแบ่งทางสังคมที่มีอยู่โดยแท้จริงซึ่งหมายถึง
jati หรือชาติในขณะนี้มีผู้ประมาณว่ามีอยู่ราว ๒๕๐๐๐
ชาติทั่วประเทศอินเดีย ที่รู้จักกันมากก็มี เช่น jati ที่มีชื่อว่าราชพัทธ์
(Rajput) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็น caste มีฐานะทางสังคมสูงเช่นเดียวกับวรรณะกษัตริย์
ในปัจจุบันนี้ราชพัทธ์เป็น caste ที่เป็นนายทุนเจ้าของที่ดินอย่างมหาศาล
นอกจากราชพัทธ์ caste ที่มีฐานะต่ำ และมีจำนวนมากคือ Harijan
ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกับศูทรได้แก่พวกที่ทำอาชีพทางกสิกรรม
และอาชีพที่อินเดียถือกันว่าสกปรกโสโครกต่าง ๆ เช่น ซักเสื้อผ้า ทำความสะอาดบ้าน
เป็นต้น ในจำนวน jati ที่มีอยู่สองพันห้าร้อย jati ทั่วประเทศนี้ แต่ละ jati ก็ประกอบด้วยครอบครัวแบบ extended
family หลายครอบครัวซึ่งเรียกว่า gotra (โครต)
gotra แต่ละ gotra ที่อยู่ใน jati เดียวกัน อาจจะมีฐานะเท่าเทียมกัน หรืออาจจะแบ่งทางสังคมในระหว่างกันเอง (internal
differentiation) ก็ได้ นอกนั้นในด้านที่เกี่ยวกับ gotra ที่อยู่คนละ jati ก็เช่นเดียวกัน
อาจมีฐานะเท่าเทียมกันหรือแตกต่างกันก็ได้แล้วแต่กรณีเฉพาะท้องถิ่น
ระบบจัดระบบสังคมที่เรียกว่า
caste
system ของอินเดียเป็นระบบที่มีลักษณะเอกเทศไม่เหมือนระบบอื่น ระบบ caste
มีรากฐานจากความเชื่อในศาสนาฮินดูว่า
คนแต่ละคนหรือแต่ละครอบครัวมีตำแหน่งและฐานะทางสังคมที่ติดมาแต่กำเนิด
และเป็นไปตามกรรมของแต่ละคนแต่ละครอบครัว ตำแหน่งและฐานะดังกล่าวนี้
ในคำสอนของศาสนาฮินดูถือว่าใครจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ในชีวิต (ชาติ)
หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงจะมีได้ก็แต่ในชีวิตหน้าหรือชาติหน้า
และจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตัวเองกระทำในชาตินี้
ประกอบกับการตัดสินของพระเจ้า ความเชื่อทางศาสนาเช่นนี้มีในอิทธิพลต่อความคิดอ่านและพฤติกรรมในสังคมของอินเดียอย่างมาก
จะเห็นได้ว่าถึงแม้ในปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญของสาธารณะรัฐอินเดียจะกำหนดว่าคนอินเดียทุกคนมีความเสมอภาคกันในทางการเมืองและทางสังคม
แต่คนอินเดียก็ยังคงมีการแบ่งกันในทางสังคมอยู่ต่อไป
การแบ่งกันในทางสังคม
(caste
differentiation) ของคนอินเดียเป็นการแบ่งอย่างจริงจัง
คนอินเดียที่อยู่ใน jati ต่างกันไม่ทำงานหรือประกอบอาชีเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ระบบ caste จึงเป็นสิ่งที่แสดงออในการแบ่งงาน (division
of labor) อย่างชัดเจน อาชีพที่คนใน caste หนึ่งทำ
คนในอีก caste หนึ่งถือว่าตัวไม่มีสิทธิ์ที่จะทำ
ถ้าใครไปทำอาชีพที่ไม่ใช่อาชีพของ caste ที่ตัวเป็นสมาชิกอยู่ถือว่าเป็นเรื่องบาป
ผิดทั้งศาสนาและสังคมต้องถูกสังคมลงโทษ เช่น ต้องทำพิธีกรรมอาบน้ำล้างบาป
และถูกสังคมติเตียน เป็นต้น ในการประกอบอาหาร และรับประทานอาหารก็เช่นเดียวกัน
อาหารที่คนในบาง caste ปรุงคนใน caste อื่นจะรับประทานไม่ได้
ถ้าใครรับประทานเข้าถือเป็นบาป นอกจากนั้น การร่วมรับประทานอาหารก็เช่นเดียวกัน
คนแต่ละ caste ที่ไม่เท่าเทียมกันจะรับประทานอาหารที่เดียวกันหรือรับประทานด้วยกันไม่ได้
การรับประทานอาหารร่วมกัน (commensality) ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเสมอภาค
เพราะฉะนั้นการที่คนต่าง caste รับประทานอาหารร่วมกันไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่แสดงออกซึ่งการแบ่งกันทางสังคมโดยตรง
การแบ่งกันในเรื่องอาหารนี้มีอยู่ถึงขั้นที่คนใน caste อื่นหรือทำให้เงาของตัวไปพาดทับอาหารของ
caste อื่นก็ทำไม่ได้ เพราะเจ้าของอาหารจะเทอาหารทิ้งทันที
เนื่องจากอาหารของเขากลายเป็นสิ่งโสโครกในทางศาสนาไปแล้ว ถ้ารับประทานก็จะบาป
จึงเห็นได้ว่าระบบ caste เป็นระบบการจัดระดับสังคมที่มีบทบัญญัติของศาสนาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งทางสังคม
นอกจากระบบ
caste มีระบบการจัดระดับสังคมที่มนุษย์รู้จัก หรือเคยรู้จักอีกสามระบบ คือ
ระบบฐานันดร (estate system) ระบบทาส (slavery
system) และระบบชนชั้น (class system) ระบบฐานันดร
เป็นระบบการจัดจัดระดับสังคมที่มีอยู่ในยุโรปและญี่ปุ่นสมัยกลาง
ระบบนี้มีกฎหมายเป็นเกณฑ์ในการแบ่งทางสังคม กล่าวคือ
ในยุโรปและญี่ปุ่นสมัยที่มีโครงสร้างแบบ feudal สังคมเหล่านี้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการแน่นอนว่าคนในสังคมแต่ละคนมีฐานันดรอย่างไร
และแต่ละฐานันดรมีสิทธิและหน้าที่ทางสังคมเฉพาะอย่างและตายตัว
ทั้งในยุโรปและญี่ปุ่นสมัยลางมีการแบ่งขั้นมูลฐานระหว่างฆราวาส
(secular)
กับคณะสงฆ์ (clergy) ทั้งทางฝ่ายฆราวาสและสงฆ์ต่างก็มีสิทธิและอำนาจทางสังคมในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินคือที่ดิน
และในการควบคุมราษฎรอำนาจทั้งสองนี้จึงมีลักษณะเผชิญหน้ากันอยู่
ในบางครั้งกษัตริย์ก็ปกครองรัฐโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาทางศาสนาของสงฆ์
โครงสร้างของระบบการจัดระดับสังคมของยุโรปและญี่ปุ่นสมัยกลางซึ่งเป็นแบบ feudalism
มีรูปร่างดังนี้
Clergy
|
|
King
|
N0bility and
Soldier – retainers
|
||
Serf
|
คณะสงฆ์
(Clergy)
เป็นฐานันดรหนึ่งที่มีการปกครองเป็นการภายในมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นเอกเทศ
และมีผู้อยู่ใต้ปกครองซึ่งเป็นชาวนา ทำนาเพื่อประโยชน์ของสงฆ์
โดยที่ชาวนาเหล่านี้มิได้มีฐานะ (status) เป็นเสรีชนโดยสมบูรณ์
แต่มีลักษณะเป็น serfs ผู้ตกเป็นทาสในสมัย feudalism คืออยู่ใต้อาณัติ (mandate) ของสงฆ์อย่างเดียวกับชาวนาทีอยู่ใต้การปกครองบังคับบัญชาของขุนนางฝ่ายฆราวาส
ทางฝ่ายฆราวาสมีกษัตริย์เป็นผู้ทีอยู่ในตำแหน่งสูงสุดในระบบการจัดระดับสังคม
แต่กษัตริย์ในระบบ feudal
มิได้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือขุนนางซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและมีกองทหารของตนอยู่ใต้การบังคับบัญชา
กษัตริย์จึงมีฐานะเป็นรัฐาธิปัตย์หรือผู้ปกครองแต่ในนาม (nominal ruler) ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยเงินภาษีอากรจาก caste (ที่ดิน)
ต่าง ๆ ซึ่งขุนนางเป็นเจ้าของและหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่
ขุนนางเจ้าของที่ดินมีอัศวินหรือทหารอยู่ใต้บังคับบัญชา
ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของขุนนาง เช่นในญี่ปุ่นสมัยโตกูกาวา (Tokugawa) อัศวินที่เรียกว่าซามูไร
เป็นทหารมีความจงรักภักดีต่อขุนนางแต่ละคนตามกฎหมายของสังคม
ถัดจากขุนนางและอัศวินในระบบการจัดระดับสังคมแบบฐานันดร
คือชาวนา (serfs)
ซึ่งเป็นกลุ่มในสังคมที่อยู่ในระดับที่ต่ำสุด
ชาวนาเหล่านี้ทำประโยชน์เศรษฐกิจให้แก่ขุนนางและทหาร และได้รับการคุ้มครองป้องกันภัยจากภายนอกเป็นการตอบแทนการทำงานกสิกรรมของตัว
ระบบจัดระดับสังคมแบบฐานันดรคงสภาพในยุโรปและญี่ปุ่นเป็นเวลานานกฎหมายที่จะต้องสืบต่อมรดกทางสังคมคือฐานะทางสังคมของตนไปให้แก่ทายาทรุ่นต่อ
ๆ ไปโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
การแบ่งทางสังคมของคนในระบบฐานันดร
ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าการแบ่งในระบบ caste กล่าวคือ
คนในแต่ละฐานันดร มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในด้านสิทธิทางสังคม
และด้านวิธีดำเนินชีวิต (style of life) ตัวอย่างเช่นในญี่ปุ่นสมัยโตกูกาวา
ทหารซามูไรมีสิทธิที่จะไม่ทำงานทางเศรษฐกิจ
แต่ได้รับผลประโยชน์จากการทำงานของชาวนาเป็นรายปีตามอัตราที่ขุนนาเจ้าของที่ดินกำหนดไว้เป็นการแน่นอน
นอกจากนั้นซามูไรยังเป็นกลุ่มชนเดียวในสังคมที่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะใช้ม้าเป็นพาหนะและมีสิทธิประดับอาวุธในที่สาธารณะเป็นต้น
ในด้านที่เกี่ยวกับชาวนาซึ่งมีฐานะเป็น serfe ถึงแม้ชาวนาจะไม่ใช่ทาสโดยแท้จริง
เพราะในฐานะที่เป็นทั้งในญี่ปุ่นและยุโรปตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ถูกบังคับให้ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนั้น serfe ยังไม่สามารถที่จะหนีไปให้พ้นจากการบังคับบัญชาของขุนนางได้เนื่องจากมีอำนาจกฎหมายบังคับอยู่
ระบบทาส
(slavery
system) เป็นระบบถาวรจัดระดับสังคมที่มีจุดสำคัญอยู่ที่การแบ่งคนออกเป็นสองประเภทในสังคมคือ
เสรีชนพวกหนึ่งกับทาสอีกพวกหนึ่ง ในทางสังคมทาสมีฐานะเปรียบเสมือนทรัพย์สิน
ซึ่งผู้เป็นนายทาสมีสิทธิที่จะจัดการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้เช่นเดียวกับสัตว์พาหนะทั้งหลายโดยทาสไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านหรือไม่ยินยอมด้วยวิธีใด
ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ sarfe ทาสจึงเป็นบุคคลที่มีฐานะต่ำต้อยกว่า
ทั้งนี้เพราะ serfe ไม่ใช่ทรัพย์สินของใครที่จะถูกนำขายหรือแลกเปลี่ยนทรัพย์สินอย่างอื่นตามอำเภอใจได้
ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
ระบบการจัดระดับสังคมแบบทาสปรากฏมีพัฒนาขึ้นในสังคมยุโรปสมัยต้นสองสังคมคือ
ที่กรีก กับที่โรม ทั้งในกรีกและโรม ทาสมีลักษณะเป็นทาสโดยสมบูรณ์ (pure
slaves) คือเป็นบุคคลที่ไม่มีโอกาสที่จะเปลี่ยนฐานะทางสังคมของตนได้ไม่ว่าด้วยวิธีใด
ๆ
อย่างไรก็ตาม
ในสังคมอื่นอีกหลายสังคมรวมทั้งสังคมไทยด้วย ปรากฏมีระบบทาสในบางสมัยเช่นเดียวกัน
แต่โดยทั่วไปทาสในสังคมอื่นนอกจากกรีกและโรมเป็นทาสที่มีโอกาสเปลี่ยนฐานะทางสังคมของตัวโดยวิธีหนึ่ง
ระบบทาสประเภทหลังนี้เรียกว่า (bond slavery) กล่าวคือ
เป็นระบบทาสที่ทาสอาจจะปรับปรุงฐานะของตัวได้ เช่น โดยการชำระหนี้
ให้แก่นายทาสในกรณีที่ทาสเป็นทาสสินไถ่ ซึ่งตกอยู่ในสภาพทาสเพราะการเป็นหนี้ (debt
slaves) เป็นต้น
ระบบชนชั้น
(class
system) เป็นระบบการจัดระดับสังคมที่สังเกตได้ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้เป็นเพราะกฎเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้น (criteria of social evaluation) มีความโน้มเอียงที่จะเป็นกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจมากกว่ากฎเกณฑ์อย่างอื่น
ในบางสังคมความมั่นคนทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งเดียวหรือปัจจัยเดียวที่คนในสังคมใช้เป็นมาตรฐานเพื่อวัด
(rate) และกำหนดชั้น (rank)ในระหว่างกันและกันว่าใครอยู่ในชั้นใดของสังคมเรียกว่าการแบ่งทางสังคมเป็นการแบ่งโดย
uni-dimensional criteria หรือแบ่งโดยกฎเกณฑ์ที่มีมิติเดียว
ตรงกันข้ามกับการแบ่งประเภทนี้ ถ้าคนสังคมใดใช้ปัจจัยหลายอย่างประกอบการแบ่งเช่น
ใช้สีผิวกาย เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ฯลฯ ประกอบการพิจารณาในสังคมดังกล่าวนี้
การแบ่งก็เป็นไปโดยกฎเกณฑ์ที่มีหลายมิติ หรือ multidimensional criteria
คำว่า
“ชนชั้น” หรือ class
เป็นคำที่ Max Weber จำกัดความว่าหมายถึงกลุ่มชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งมีอำนาจการควบคุมปัจจัยในการบริโภค (consumer goods) แหล่งผลิต
ทรัพย์สิน เครื่องใช้ในการครองชีพ คุณสมบัติในการทำงาน และสิ่งอื่น ๆ
ที่มีลักษณะสิ่งเหล่านี้อยู่แต่เพียงอย่างเดียว
มิใช่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้เกิดพฤติการณ์ของชนชั้น (class action) การที่พฤติการณ์ด้านชนชั้นจะมีขึ้นได้ Weber อธิบายว่า
กลุ่มชนดังกล่าวนี้จะต้องมีคู่แข่งหรือปรปักษ์ซึ่งเผชิญหน้ากันอยู่โดยตรง
นอกจากนั้นกลุ่มชนที่มีสถานการณ์ด้านชนชั้นร่วมกันจะต้องมีปริมาณมากพอ
และทั้งสถานการณ์ทางเทคนิค
และทางภูมิศาสตร์จะต้องมีลักษณะง่ายดายอำนวยให้มีการรวมกลุ่มกัน (organization)
ภายใต้ระบบผู้นำซึ่งมุ่งที่จะดำเนินพฤติการณ์ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของชนชั้นและระบบผู้นำ
(leadership) ก็เป็นสิ่งที่ถูกต่อต้านหรืออ่านเจตนา (ตีความ) อยู่ตลอดเวลาโดยบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกของชนชั้น
ซึ่งได้แก่ปัญญาชน (intelligentsia) ทั้งหลาย คำว่า “ชนชั้น”
เป็นชื่อที่ Weber กำหนดให้กลุ่มชนใด ๆ
ที่รวมตัวกันขึ้นเนื่องจากการมีผลประโยชน์จึงก่อให้เกิดการร่วมกัน (share) ในทางความคิดความเห็น (idea) ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือระดับของผลประโยชน์ด้านวัตถุ
แต่อย่างไรก็ตาม
ชนชั้นจะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในระดับผู้นำของคณะบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เป็นสมาชิกของชนชั้นก็ก่อรูปขึ้นเช่นกันในด้านวัตถุประสงค์ของเขาเอง
(ซึ่งตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ของชนชั้น)
ความหมายของ
“ชนชั้น” ที่ Max
Weber อธิบายไว้มีลักษณะคล้ายกับคำอธิบายของ Karl Marx อย่างมาก เพราะ Marx เช่นเดียวกับ Weber อธิบายว่า ความแตกต่างในด้านอำนาจในการควบคุมปัจจัยในการผลิตทางเศรษฐกิจเป็นที่มาของความแตกต่างของสังคม
Marx มองเห็นความแตกต่างทางชนชั้นในสังคมอันเนื่องมาจากความความแตกต่าง
ทางเศรษฐกิจ
ทำให้มนุษย์แบ่งเป็นสองกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็ครอบครองตำแหน่งของตัว
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่เท่าเทียมกันในด้านสิทธิและผลประโยชน์ นอกจากนั้น Marx ยังอธิบายว่า
ความแตกต่างด้านสิทธิและผลประโยชน์นี้ ทำให้คนในสังคมเกิดขัดแย้งกัน
โดยที่กลุ่มหรือชนชั้นที่ขาดผลประโยชน์พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะปรับปรุงสภาพของตัว
และทำลายอำนาจของกลุ่มที่ครอบครองสิทธิผลประโยชน์ลง การอธิบายของ Marx ในแนวดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่มีผู้คัดค้านกันมากเพราะตามข้อเท็จจริงในสังคมต่าง
ๆ หลายสังคม
ความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจและสังคมหาได้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นไม่
ยิ่งกว่านั้น ในบางสังคม หรือบางสถานการณ์ทางสังคม
เช่นในระหว่างนายทุนกับกรรมกรในสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ บางทีกรรมกรก็มีความร่วมมือกับนายทุนในลักษณะของการเป็นพวกเดียวกันมากว่าที่จะขัดแย้งกัน
คำพยากรณ์ของ
Marx ว่าในลัทธิคอมมิวนิสต์ สังคมเป็นผู้ดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจและทรัพย์สิน
และเอกชนทุกคนทำงานเพื่อส่วนรวมตามความสามารถ (to contribute according to one’s
ability) แต่บริโภคเท่าที่แต่ละคนมีความจำเป็น (to consume
according to one’s needs) จะเป็นสิ่งที่ทำให้ความอยุติธรรม
หรือความไม่เสมอภาคทางสังคมและเศรษฐกิจหมดไปนั้น แท้จริงในปัจจุบันนี้
เป็นที่พิสูจน์ให้เห็นกันแล้วว่า เป็นคำพยากรณ์ที่ปราศจากผล
เพราะถึงแม้ในโลกปัจจุบันจำนวนสังคมคอมมิวนิสต์จะมีมากมายแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีสังคมคอมมิวนิสต์สังคมไหนที่สามารถกำจัดความไม่เสมอภาคทางสังคมและเศรษฐกิจ
(inequality) ไปได้ แม้แต่สังคมเดียว
การแบ่งกันของมนุษย์ในสังคม
ถึงแม้จะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญมาก
แต่ความแตกต่างทางเศรษฐกิจก็มิใช่สิ่งเดียวที่มนุษย์ถือเป็นกฎเกณฑ์ในกานแบ่ง
เราเห็นแล้วว่าในระบบการจัดระดับสังคมอย่างระบบ caste และระบบ estate
มนุษย์ใช้ปัจจัยทางศาสนา และทางกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์สำคัญ
และถึงแม้ในระบบทั้งสองนี้เศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (economic
intrest) จะมีบทบาทสำคัญ แต่เศรษฐกิจก็มิใช่ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น
Max
Weber อธิบายความหมายของฐานันดรศักดิ์ (estate) ว่า เป็นองค์มติที่ตรงกันข้ามกับ “ชนชั้น”
เพราะฐานันดรศักดิ์เป็นฐานะทางสังคมที่ประเมินกันด้วย “เกียรติภูมิ” หรือ
“ศักดิ์ศรีทางสังคม” (social prestige) ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือตำแหน่งทางเศรษฐกิจ
อย่างที่ใช้ประเมิน “ชนชั้น” เกียรติภูมิขึ้นอยู่กับฐานะของครอบครัว การศึกษา
และวิธีดำเนินชีวิต เกียรติภูมิเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีขึ้น
และคงอยู่ได้โดยการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลแยกตัวเองออกไปต่างหากจากคนอื่นโดยวิธีการที่วางอยู่บนบรรทัดฐานขอกฎหรือข้อกำหนดที่ควบคุมสถาบันการสมรสของตัว
(endogamy) การสร้างสรรค์ทางสังคมในกลุ่มของตัวและแยกจากกลุ่มอื่น
(commenslity) และการผูกขาดอาชีพบางอย่าง
และปฏิเสธที่จะประกอบอาชีพบางอย่างในสังคม
Weber
กล่าวว่า ฐานันดรศักดิ์ (estate) กับชนชั้น (class)
อาจจะเป็นสิ่งที่ปรากฏร่วมกันในวิถีทางที่มีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด
แต่ทว่าอำนาจของชนชั้นในการควบคุมวัตถุทางเศรษฐกิจโดยลำพังตัวของมันเองเท่านั้น
หาได้เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งเกียรติภูมิและสมาชิกภาพของบุคคลในระบบฐานันดรแต่อย่างใด
ทำนองเดียวกันการขาดอำนาจควบคุมวัตถุทางเศรษฐกิจก็มิใช่สิ่งที่ทำให้บุคคล
ขาดคุณสมบัติที่จะมีเกียรติภูมิและเป็นสมาชิกของฐานันดร เสมอไปด้วยเช่นกัน
โดยแท้จริงการแยกองค์มติ “ชนชั้น”
กับองค์มติ “ฐานันดร” ออกจากกันเป็นสิ่งที่ Max Weber กระทำเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์มากกว่าอื่นใด
การเคลื่อนไหวทางสังคม
(Social
mobility)
การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นปรากฏการณ์ที่นักสังคมวิทยาศึกษาควบคู่กับระบบการจัดระดับสังคม
องค์มติ “social
mobility” เป็นสิ่งที่แสดงถึงความหมายของการไม่อยู่คงที่หรือการเปลี่ยนแปลงในสังคม (social dynamics) หรือ social
change) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่มีนักสังคมวิทยาไหนปฏิเสธว่า
สังคมแต่ละสังคมมิได้คงสภาพนิ่งอยู่ตลอดเวลา แต่ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
นักสังคมวิทยาให้ความสนใจปรากฏการณ์อันนี้อย่างละเอียดลึกซึ้ง
ถ้าเพียงแต่ตรวจดูงานเขียนในด้านนี้อย่างผิวเผิน ก็จะเห็นได้ว่า
นักสังคมวิทยาศึกษากันหลายแง่หลายมุม เช่น
ศึกษาแบบของการเปลี่ยนแปลงอัตราการเปลี่ยนแปลง
ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งแหล่งที่มาของการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง
Social
mobility มีลักษณะใหญ่อยู่สองลักษณะ คือ
1.Vertical
mobility ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตามแนวตั้งของโครงสร้างสังคม
เช่น
การเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นของคนอาชีพชาวนาซึ่งมีฐานะต่ำไปเป็นซามูไรซึ่งมีฐานะสูงกว่า
เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกว่า upward mobility หรือเปลี่ยนในแบบที่ทำให้ฐานะทางสังคมของผู้ที่เกี่ยวข้องสูงขึ้น
ตรงกันข้ามกับ upward mobility ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงทำให้ฐานะของคนในระบบการจัดระดับสังคมต่ำลง
เช่น
การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ฐานะของสงฆ์ในสังคมตะวันตกลดลงเมื่อสังคมเปลี่ยนจากแบบฐานันดร
ไปเป็นแบบทุนนิยมสมัยใหม่เป็นต้น
2.Horizontal
mobility ได้แก่การเปลี่ยนแปลงตามแนวนอนของโครงสร้างสังคม
การเปลี่ยนแปลงประเภทนี้ ไม่ทำให้สถานภาพสองคนที่เกี่ยวข้องสูงขึ้นหรือต่ำลง
ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้เกิดขึ้นในที่ราบ (space) เช่นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะการอพยพเคลื่อนย้าย (migration)
ของคนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น จากชนบทเข้าไปในกรุง
หรือจากในกรุงไปสู่ชนบทเป็นต้น
นอกนั้นอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพแต่เป็นกรณีที่อาชีพใหม่ของบุคคลมิได้ทำให้เขาได้รับฐานะทางสังคมและตำแหน่งในสังคมสูงขึ้นหรือต่ำลง
เช่นการเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวนาไปเป็นกรรมกรในจีน ซึ่งแต่ละอาชีพก็อยู่ในระดับต่ำที่สุดของระบบการจัดระดับสังคมเป็นต้น
Group
mobility เปรียบเทียบกับ Individual mobility
Group
mobility หมายถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมของกลุ่มสังคม (social
groups) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีผลทางสังคมทำให้โครงสร้างสังคมซึ่งมีอยู่แต่เดิม
เปลี่ยนรูปแบบและหน้าที่ไปทั้งหมด มีตัวอย่างเช่น
การเปลี่ยนในญี่ปุ่นซึ่งทำให้ฐานะของชาวนาทั้งกลุ่ม(อาชีพ)
กลายไปเป็นซามูไร และการเปลี่ยนฐานะของคนในอาชีพพ่อค้าจากฐานะ (ของอาชีพ) ที่อยู่ในระดับต่ำขึ้นไปเป็นฐานะอาชีพที่มีบทบาททางสังคมสูงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ในตอนปลายสมัยโตกูกาวาต่อสมัยใหม่ คือสมัยที่ญี่ปุ่นเปลี่ยนโครงสร้างสังคมแบบ feudal
ไปเป็นทุนนิยมสมัยใหม่ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงทั้งสองกรณีนี้ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มสังคมใหม่ขึ้น และพร้อม
ๆ กันก็ทำให้โครงสร้างและสถาบันสังคมโดยส่วนรวมเปลี่ยนไปด้วย
Individual
mobility หมายถึงกรเปลี่ยนฐานะทางสังคมของบุคคลแต่ละคน
แต่เป็นการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นภายในกรอบของโครงสร้างสังคมที่มีอยู่แล้วโดยไม่ทำให้โครงสร้างของสังคมได้รับความกระทบกระเทือนและเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างการเคลื่อนไหวของสังคมแบบ individual mobility มีอยู่ในสังคมเอเชียหลายสังคม
(นอกจากญี่ปุ่น) เช่นการเปลี่ยนแปลงของชาวจีนในสมัยที่การปกครองจีนแบบเดิมที่มีจักรพรรดิและขุนนางปกครองสลายตัวไป
แล้วพรรคจีนคณะชาติ และต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์เข้าควบคุมอำนาจปกครอง
แต่เดิมชาวนาเป็นกลุ่มชนในสังคมที่อยู่ระดับต่ำสุด แตกต่างจากลุ่มอภิชน (elite)
คือจักรพรรดิและขุนนาง แต่ในปัจจุบันชานาจีนและ
หรือกรรมกรจีนก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมคือ
ตำแหน่งที่มีฐานะต่ำที่สุดในสังคมอยู่อย่างเก่า
การเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่ทำการปกครองและเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมแต่อย่างใดเลย
เช่นเดียวกับจีน
ในสังคมไทยการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕
ก็ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยซึ่งมีอยู่เดิมสลายตัวไปแต่อย่างใด
กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕
มิได้ทำให้สถานภาพทางสังคมของกลุ่มคนที่มีอยู่เดิม ได้รับความกระทบกระเทือนในด้านที่ทำให้มีสถานภาพใหม่และโครงสร้างใหม่เกิดขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายในสังคมไทยของ individual mobility หรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ทำให้โครงสร้างสังคมเปลี่ยนแปลง
ได้แก่การที่คนในระดับต่ำทางสังคม เช่น
ชาวนาในชนบทได้รับฐานะทางสังคมสูงขึ้นโดยโอกาสอย่างอื่น
แล้วก็ผนวกตัวเลขเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่อยู่ระดับสูงในระบบการจัดระดับสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้
ทำให้บุคคลบางคนเท่านั้นได้รับการปรับปรุงฐานะทางสังคมและตำแหน่งสังคมแต่ในโครงสร้างของสังคมไทยหาได้มีกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มฐานันดรใหม่เกิดขึ้น
และทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทย (หรือกลุ่มชนในสังคมไทย)
เปลี่ยนแปลงแต่ประการใดไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น